><กระทู้ใหม่(4) วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย หลากหลายสายราคาเบา (สรุปรายการ น.1) ><

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์ปิยธโร, 5 มกราคม 2017.

  1. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3461.The last สมบัติพ่อให้ ยอดแห่งความสำเร็จ
    ลูกแก้วพระกรรมฐานพระวิสุทธิเทพ วัดเขาวง มหาพิธีร่วมสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    image-5ba2_57ffa534-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    image-ed2b_57ffa534-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    ลูกแก้วพระกรรมฐาน พิมพ์พระวิสุทธิเทพ วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ลูกแก้วนี้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ซม. เป็นแก้วคริสตัลหล่อแท้ไม่ใช่เรซิ่น กระบวนการสร้างองค์พระภายในใช้เทคนิคการยิงเลเซอร์แบบ 3D ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2556 จำนวนการสร้าง 544 องค์ บูชาร่วมบุญตอนนั้น 1,670บาท

    วาระพิธีพุทธาภิเษก

    เปิดดูไฟล์ 4693758
    => ณ. วัดเขาวง ภายในถ้ำนารายณ์ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2556 โดยในพิธีนี้มีลูกแก้วจักรพรรดิและแก้วราหู สมบัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน มาเป็นประธานในพิธี อธิษฐานจิตโดยครูบาอาจารย์สายพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ) อาทิ
    - หลวงพ่ออนันต์ เจ้าอาวาสวัดท่าซุง ประธานในพิธี
    - หลวงตาวัชรชัย เจ้าอาวาสวัดเขาวง
    - หลวงปู่มนัส สำนักฟื้นฟูจิต เขาแหลม
    - หลวงตาชลอ เจ้าอาวาสวัดศาลพันท้ายนรสิงห์
    - หลวงพ่อหนุน เจ้าอาวาสวัดพุทธโมกข์
    - หลวงพ่อมหาสิงห์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่
    - หลวงพ่อเล็ก เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน
    - หลวงพี่เอก เจ้าอาวาสวัดเขาแร่
    - หลวงพ่อโอ วัดท่าซุง
    - หลวงพ่อหนุน วัดพุทธโมกข์
    - หลวงพ่อวิรัช วัดธรรมยาน
    - หลวงพ่อองอาจ วัดวีระโชติ
    - หลวงพี่สมบัติ วัดสร้อยทอง และครูบาอาจารย์อีกหลายรูป

    เมื่อคณะสงฆ์ทำพิธีพุทธาภิเษกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านพระครูวิลาสกาญจนธรรม หรือหลวงพ่อเล็ก เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ได้กล่าวเจริญศรัทธาแก่ญาติธรรมทั้งหลายที่มาร่วมพิธีว่า "หลวงพ่อฯ ท่านให้มาแจ้งกับญาติโยมว่า วัตถุมงคลที่เข้าพิธีนี้ เป็นวัตถุมงคลที่สงเคราะห์เรื่องความสำเร็จ คือสามารถอธิษฐานขอความสำเร็จในด้านต่างๆได้ เช่นการงาน การเงิน หรือเรื่องอื่นๆได้" พระท่านสงเคราะห์ให้ในด้านความสำเร็จโดยเฉพาะ

    ลูกแก้วกรรมฐานพระวิสุทธิเทพ วัดเขาวง "ลูกแก้วแห่งความสำเร็จ " เป็นพระดีมีไว้บูชาแล้วมีผลน่าอัศจรรย์ยิ่ง มองแล้วจำภาพ เป็นกสิณ 2 อย่างด้วยกันคืออาโลกกสิณ กสิณลูกแก้ว และกสิณภาพพระ เป็นพุทธานุสติด้วย 2 อย่างรวมกัน ตั้งใจนึกถึงท่าน เอาให้ย่อได้ ขยายได้ แล้วคราวนี้จะอธิษฐานอย่างไรก็ตามใจ ปรารถนา เช่นเดียวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าครับ ภาวนาคาถาเงินล้านควบคู่กันด้วยยิ่งดี ด้วยเพราะ ในพระคาถาเงินล้านมีคาถาต่าง ๆ มีผลสืบเนื่องกันด้วย

    สภาพสวยใหม่กริ๊บพร้อมอุปกรณ์ครบชุดเดิมๆ เนื้อแก้วคริสตัลชั้นดีมีน้ำหนักมาก( ค่าจัดส่งก็เป็นร้อยแล้วครับ ) พิธีอธิษฐานจิตใหญ่ พุทธคุณครอบครบ ยอดแห่งความสำเร็จ เก่าเก็บไม่ได้ใช้ครับ พิมพ์คมชัดลึก แบ่งให้บูชา 1,999 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)





    ( คุณminute จองแล้วครับ )






    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2023
  2. minute

    minute เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2011
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +368
    บูชารายการ 3461.The last สมบัติพ่อให้ ยอดแห่งความสำเร็จ ลูกแก้วพระกรรมฐานพระวิสุทธิเทพ วัดเขาวง
     
  3. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3462.พิเศษเนื้อแก่วัดระฆังบรรจุกรุ พระพิมพ์สมเด็จพระแก้วมณีโชติ
    มวลสาร108จักรพรรดิ์ พุทธาภิเษกแบบไตรภาคี สุดยอดพระดีพิธีจักรพรรดิ์ปี15

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    d0ZCmia.jpg


    [​IMG]
    พระพิมพ์สมเด็จพระแก้วมณีโชติ หลังยันต์ นะประทับหลังพระวิษณุ พิเศษเนื้อขาว แก่ผงพระสมเด็จวัดระฆัง และวัดบางขุนพรหม สร้างน้อยมากเนื้อนี้ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย วัตถุมงคลแห่งพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก วันที่ 19 – 20 มกราคม 2515 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก


    *** โดยส่วนตัวแล้ว พระรุ่นนี้ถือว่าสุดๆของผมแล้วในพิธีจักรพรรดิ์ 2515 (ความคิดเห็นส่วนตัว) เนื่องจากผมไปพิษณุโลกหลายปี ตามสืบประวัติและเก็บสะสม ขนาดพื้นที่ยังไม่ค่อยเห็นเลย เพราะสร้างน้อย และบางส่วนน่าจะยังอยู่ในกรุ ต่างจากพระพิมพ์อื่นๆที่มีให้บูชาทั่วไปจะแพร่หลายกว่า แต่ถ้าใครสายจี๊ดจริงๆ ต้องรุ่นนี้เลยสุดจัดครับ ***


    ยันต์นะประทับหลังพระวิษณุ
    คือการรวมกันระหว่าง ยันต์เฑาว์พุทธะ และ ยันต์นะมหาอุด หรือ นะซ่อนหาง ซึ่งปรากฏอยู่ด้านหลังพระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ และพระพิมพ์รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน ทุกองค์นั้น เป็นการนำเอาอานุภาพของยันต์ทั้งสองผสานด้วยกัน กล่าวคือ นะ ประทับหลังพระวิษณุ เป็นยันต์หนึ่งใน 108 ยันต์ที่ลงในผ้าประเจียด เป็นมงคลแคล้วคลาด และเป็นเมตตามหานิยม สารพัดจะใช้ได้ทุกประการ และเป็นหัวใจของยันต์พระเจ้าห้ามทุกข์ ป้องกันการถูกกระทำไสยศาสตร์ใส่มนต์ดำ และเป็นยอดยันต์ประทับหลัง ยันต์พิชัยสงคราม ต้องปลุกด้วย อิติปิโสรัตนมาลา จึงจะขลัง โบราณท่านว่ามีค่าควรเมือง สุดท้ายเป็นยอดยันต์ธงมหาอุด ปลุกเสกด้วยพระคาถาภควัม 108 จบ จึงจะทรงกฤษดาอภินิหารยิ่ง

    เหตุผลใดท่านพระครูศีลสารสัมบันจึงเลือกยันต์นี้ อาจจะเพราะพุทธคุณเหลือคณานับของยันต์ทั้งหมดหากรวมกันและกะทัดรัดพอที่จะลง หลังพระเครื่องสักองค์ ก็น่าจะเป็นยันต์ชนิดนี้ที่ดีที่สุด นี้คงเป็นเหตุผลของการเลือกยันต์ นะประทับหลังพระวิษณุ ไว้หลังองค์พระพิมพ์
    ประวัติการสร้างพระแก้วมณีโชติ

    ดำเนินการรวบรวผงพุทธคุณและจัดพิมพ์พระตั้งแต่ปี พ.ศ.2500-2514 โดยท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นพระเถราจารย์ที่เก็บสะสมมวลสารไว้มาก จึงได้กราบอาราธนานิมนต์ให้ ท่านพระครูศีลสารสัมบันเป็นแม่งานรับผิดชอบในการจัดสร้างพระเครื่องชนิดผง และดินผสมผงเก่า เพื่อใช้ในการพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก วันที่ 19 – 20 มกราคม 2515 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก ตามความเห็นของเจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร

    มวลสารที่ใช้ในการจัดสร้าง
    มวลสารรวมทั้งหมด 108 ชนิด มวลสาร ทุกองค์เป็นมวลสารสูตร “มหาจักรพรรดิ ๑๕” พระครูศีลสารสัมบัน จึงได้ชื่อว่า มหาจักรพรรดิ เพราะเต็มไปด้วยมวลสารสำคัญทั่วทั้งประเทศมารวมไว้ที่พระเครื่องพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ปี 2515 ทั้งสิ้นและสูตรในการผสมยังเป็นความลับ ทั้งไม่มีพิธีใดๆจะลอกเลียนแบบได้เหมือนสูตรมหาจักรพรรดินี้ได้เลย โดยมวลสารและผงทั้งหมดนี้ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน ได้ธุดงค์ จาริกแสวงบุญ รวบรวมมาเรื่อยตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง บางครั้งก็มีพระผู้ใหญ่หรือฆราวาสที่ท่านพระครูศีลสารสัมบัน รู้จักมักคุ้นก็จะนำมาฝากหรือถวายจนมีมากมายหลากหลายชนิดมวลสารสาธยายทั้งสิ้นก็ไม่อาจจะกล่าวได้หมด ดั่งคำกล่าวที่ว่า “สาธยาย 3 วันก็ไม่จบ มันเยอะจริงๆ” อาจารย์บุญสม ทั่งมั่งมี อดีตเลขาธิการท่านพระครูศีลสารสัมบัน (ส่วนรายชื่อมวลสารศึกษาเพิ่มเติมจากลิ้งค์ที่แนบมาได้เลยครับ เยอะมาก)


    มหาพิธีพุทธาภิเษกแบบไตรภาคี(ปลุกเสก 3 วาระ 3 สถานที่)


    วาระที่1:
    - วันพุธ ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2515
    พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ณ ศาลาพุทธาภิเษกหลังพระอุโบสถ วัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก ในพิธีนี้ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน เป็นเจ้าพิธีเองได้กำหนดและควบคุมการดำเนินการประกอบ "พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับโบราณพิธีทุกประการตามวิธีการสายพระวิปัสสนาจารย์ โดยมีอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ถวายคำแนะนำ โดยมีการนั่งปรกพุทธาภิเษกสลับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน

    - ประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูศีลสารสัมบัน เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและจุด เทียนชัย
    - ประธานบริกรรมปลุกเสก 9 รูปตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนี้
    1.พระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก
    2.พระอาจารย์นวล วัดนิมิตรธรรมาราม พิษณุโลก
    3.พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนี) วัดอรัญญิก พิษณุโลก
    4.พระครูอภัยจริยาภรณ์ วัดใหม่อภัยยาราม พิษณุโลก
    5.พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว พิษณุโลก
    6.พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา พิษณุโลก
    7.พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ พิษณุโลก
    8.พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไซ่) วัดจูงนาง (วัดศรีรัตนาราม) พิษณุโลก
    9.หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ พิษณุโลก
    พระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสกทั้งคืน ดังนี้
    1.พระครูศีลสารสัมบัน เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก
    2.พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ พิษณุโลก
    3.หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ พิษณุโลก
    4.พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ พิษณุโลก
    5.พระอาจารย์โต วัดสมอแข พิษณุโลก
    6.พระครูประพันธ์ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน พิษณุโลก
    7.พระครูวิจารย์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทองวราราม พิษณุโลก
    8.พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา พิษณุโลก
    หมายเหตุ : เจริญพระคาถามหาจักรพรรตราธิราช 108 จบ และคาถาพระอรหันต์ 8 ทิศ 108 จบ


    วาระที่ 2:
    - วันพฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2515
    พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการ

    คณะกรรมการพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก
    - ประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย
    - ประธานฝ่ายฆราวาส ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย
    - ประธานบริกรรมปลุกเสก พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    พระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก 109 รูป ดังนี้
    1. หลวงพ่อทอง (พระครูวิริยะโสภิต) วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี
    2. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมมาภรณ์) วัดดอนยาหอม จ.นครปฐม
    3. หลวงพ่อนาค (พระครูจันทรโสภณ) วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ
    4. หลวงพ่อแดง (พระครูญาณวิลาศ) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
    5. หลวงพ่อหอม (พระครูภาวนาณุโยค) วัดซากหมากป่าเรไร จ.ระยอง
    6. หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์
    7. หลวงพ่อสด (พระครูวิจิตนชัยการ) วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท
    8. หลวงพ่อชื่น (พระครูนนทกิจวิมล) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
    9. หลวงพ่อบุญ (พระครูประดิษฐ์นวการ) วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
    10. หลวงปู่ทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร
    11. หลวงพ่อกรับ (พระครูธรรมสาคร) วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
    12. หลวงพ่อเจริญ (พระครูปัญญาโชติ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
    13. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
    14. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี
    15. พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี
    16. พระครูปิยะธรรมโสภิณ (หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี
    17. พระครูกิตพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราฎร์เจริญ จ.สระบุรี
    18. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
    19. พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
    20. พระวินัยรักขิตาวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    21. พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
    22. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
    23. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
    24. หลวงพ่อเผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี
    25. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯกรุงเทพฯ
    27. พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    28. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    29. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
    30. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
    31. พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    32. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี
    33. พระครูโกวิทยาสมุทคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    34. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    35. พระอาจารย์ผ่อง (จินดา) วัดจักรวรรคิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ
    36. พระครูศรีปริยานุรักษี วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
    37. พระครูวิรุฬห์ธรรมโกวิทย์ วัดเจดีย์สถาน จ.เชียงใหม่
    38. พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อตองคำ จ.เชียงใหม่
    39. หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย จ.เชียงใหม่
    40. หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    41. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    42. หลวงพ่อชุบ วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง
    43. หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
    44. หลวงพ่อเงิน วัดเขาสาก จ.ลำปาง
    45. หลวงพ่อบุญสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
    46. พระวิบูลวชิรธรรม วัดท่าพุทรา จ.กำแพงเพชร
    47. หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
    48. หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
    49. หลวงพ่อโอด (พระครูนิสัยจริยคุณ) วัดจันเสน จ.นครสวรรค์
    50. หลวงพ่อคัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท
    51. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท
    52. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
    53. หลวงพ่อดวง วัดทอง จ.สิงห์บุรี
    54. พระครูอาทรสิกขการ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง
    55. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดท่าช้าง จ.อยุธยา
    56. พระครูประภาสธรรมคุณ (หลวงพ่อแจ่ม) วัดวังแดง จ.อยุธยา
    57. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
    58. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
    59. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
    60. พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง) วัดกก กรุงเทพฯ
    61. พระครูอนุกูลวิทยา (หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
    62. พระครูพิริยกิจติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    63. พระครูภาวณาภิรมย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    64. พระครูโสภณกัลป์ยานุวัฒน์ (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณ์ กรุงเทพฯ
    65. พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี
    66. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง
    67. พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    68. พระครูวชิรคุณาญาณ วัดในกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    69. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    70. พระครูอุดมศีลจารย์ (พ่อท่านเย็น) วัดโคกสะท้อน จ.พัทลุง
    71. พระครูพิศาลพัฒนกิจ (พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม จ.พัทลุง
    72. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
    73. หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
    74. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
    75. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    76. หลวงปู่จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี
    77. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
    78. หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    79. หลวงพ่อครูบาตัน วัดเชียงทอง จ.ตาก
    80. หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย
    81. หลวงพ่อปี้ วัดบ้านด้านลานหอย จ.สุโขทัย
    82. พระครูคีรีมาสธรรมคุณ วัดวาลุการาม จ.สุโขทัย
    83. พระครูพิลาศธรรมคุณ วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
    84. พระครูไกรลาศสมานคุณ วัดกงไกรลาศ จ.สุโขทัย
    85. พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
    86. พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
    87. พระครูพินิจธรรมภาณ วัดวังแดง จ.พิจิตร
    88. พระครูธรรมมานิสิทธิ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร
    89. พระอาจารย์ชัย วัดกลาง จ.อุตรดิตถ์
    90. หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส จ.อุตรดิตถ์
    91. หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์
    92. พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    93. พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนีวัดอรัญญิก) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    94. พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก
    95. พระครูอภัยจริยาภรณ์ วัดใหม่อภัยยาราม จ.พิษณุโลก
    96. พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว จ.พิษณุโลก
    97. พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
    98. พระครูประภาสธรรมมาภรณ์ (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก
    99. พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไช่) วัดศรีรัตนาราม จ.พิษณุโลก
    100. หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
    101. พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
    102. หลวงพ่อเฉลิม วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
    103. หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
    104. พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก
    105. พระอาจารย์โต วัดสมอแข จ.พิษณุโลก
    106. พระครูประพันธ์ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก
    107. พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทอง จ.พิษณุโลก
    108. พระอาจารย์นวล วัดนิมิตธรรมาราม จ.พิษณุโลก
    109. พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา จ.พิษณุโลก
    สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเพื่อเข้าพิธี ใช้น้ำจากวัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูป ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสงและเครื่องศัตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย เป็นต้น น้ำทั้งหมดต้องตักด้วยขันสาคร


    วาระที่ 3 :
    - พิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ณ พระอุโบสถวัดสระแก้วปทุมทอง เมื่อวันที่ 19 – 20 มกราคม 2515 นั้นมีพระเถระที่เดินทางมาไกลได้พักค้างคืนที่วัดสระแก้วปทุมทอง ท่านพระครูฯจึงถือโอกาสนิมนต์นั่งเจริญจิตภาวนาพุทธาภิเษกเดี่ยว อาทิเช่น
    1.พระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิตร
    2.สมเด็จมหาวีรวงศ์ วัดพระมหาธาตุ
    3.สมเด็จพระวันรัต(สมเด็จป๋า) วัดพระเชตุพน
    4.พระอุบาลีคุณูปามาจารย์ วัดจรรดิราชาวาส
    5.พระวิสุทธิวงศาจารย์(เสงี่ยม) วัดสุทัศเทพวราราม
    6.พระเทพเมธี วัดทองนพคุณ
    7.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    8.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
    9.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    10.หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
    11.พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    12.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว
    13.หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก
    14.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
    15.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    16.หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์
    17.พระอาจารย์วิริยังค์ วัดธรรมมงคล
    18.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    19.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
    20.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    21.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ เป็นต้น


    วาระพุทธาภิเษกอื่นๆเพิ่มเติม อาทิ
    - พิธีมหาพุทธาภิเษกวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2515 ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
    - พิธีเสาร์ 5 มหาพุทธาภิเษก จังหวัดสุโขทัย
    - หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ (ปลุกเสกเดี่ยว)
    - หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง (ปลุกเสกเดี่ยว)
    - พระครูบริหารคุณวัตร (ชม สิรินฺธโร) วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กรุงเทพฯ (ปลุกเสกเดี่ยว)
    - หลวงพ่อทบ (พระครูวิชิตพัชราจารย์) วัดพระพุทธบาทชนแดน จ.เพชรบูรณ์ (ปลุกเสกเดี่ยว)
    - หลวงพ่อพันธ์ (พระครูประพันธ์ศีลคุณ) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก (ปลุกเสกเดี่ยว)
    - พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ม้วน) วัดวังทองวราราม จ.พิษณุโลก (ปลุกเสกเดี่ยว) เป็นต้น
    หรือถ้าหากมีพระเถระสายวิปัสสนาธุระหรือพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้นเดินทางมาที่จังหวัดพิษณุโลกไม่ว่าจะมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด ท่านพระครูศีลสารสัมบันก็จะนิมนต์เจริญจิตภาวนาพุทธาภิเษกอย่างนี้เรื่อยมา

    ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ ของวัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก
    วัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก -


    สภาพสวยเดิม องค์นี้บรรจุกรุคราบกรุผิวฝ้าเดิมๆ แป้งลองพิมพ์เดิมๆ เก่าเก็บไม่ได้ใช้ไม่ผ่านการบูชา องค์นี้พิเศษ เนื้อแก่พระสมเด็จวัดระฆังและวัดบางขุนพรหม หายากมาก พุทธาภิเษกแบบไตรภาคีและพิธีจักรพรรดิ์ ด้านพุทธคุณหาที่เปรียบมิได้สูงส่งเกินกว่าพิธีใดๆ ไม่แท้ไม่ทันไม่ใช่คืนเต็มครับ แบ่งให้บูชา 888 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณPeterbn จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2024
  4. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3463.สวยผิวไฟเดิมๆ เหรียญบาตรน้ำมนต์เล็ก พิธีสิทธัตโถรุ่นไตรมาสปี09-17
    ลป.ฝั้น,ลป.ขาว,ลป.แหวน,ลป.สิม อธิษฐานจิต

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    d0ZyHGJ.jpg
    เหรียญบาตรน้ำมนต์สิทธัตโถ พิธีพระกริ่งสิทธัตโถ พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงผิวไฟ วัดบรมนิวาส กทม. ดำเนินการจัดสร้างเมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 - 2517
    โดยมี พระครูสังฆบริรักษ์(ธรรมยุตินิกาย) วัดบรมนิวาสและพระกิตติสารโสภณ(ชลอ) ร่วมกันจัดสร้าง จำนวนการจัดสร้างเหรียญพิมพ์นี้น้อยมาก

    พุทธคุณ
    - ดีทุกทางบริสุทธิ์ทุกสุดส่วน คลาดแคล้วจากภยันตรายทั้งปวง และประสบการณ์ความสำเร็จในทุกสิ่งสมปรารถนาทุกประการ ดั่งพระนามกรื่งที่ได้ขนานนามไว้


    ประวัติการจัดสร้าง
    ●●● ท่านพระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณะหอเขียว และท่านเจ้าคุณพระกิตติสารโสภณ(ชลอ กิตติสาโร) ปัจจุบันปี๒๕๖๒คือ พระธรรมวราลังการ (ชลอ กิตติสาโร) เจ้าอาวาสวัดเพชรวราราม จ.เพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการจัดสร้างเหรียญบาตรน้ำมนต์สิทธัตโถ

    โดยมีท่านพระครูสังฆรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) เป็นผู้ดำเนินการออกแบบร่างตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๐๙ ด้วยพุทธลักษณะของเหรียญบาตรน้ำมนต์คือ

    #ด้านหน้า : องค์พระกริ่งสิทธัตโถ
    #ด้านหลัง : สมเด็จอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จ.พระนคร (ผู้ประทานนามพระกริ่งสิทธัตโถ)

    โดยนำออกแจกจ่ายตามรุ่น ตามวาระดังนี้ :

    - ปี๒๕๑๔ : มีเนื้อเงิน, ทองแดงรมดำ
    - ปี๒๕๑๕ : มีเนื้อเงิน, ทองแดงรมดำ #ขนาดเล็ก
    - ปี๒๕๑๗ : มีเนื้อฝาบาตรกะหลั่ยทอง หลังแบบ หลังเข็มกลัด (กรรมการ) มีเฉพาะแบบทรงกลม #น้อยมาก
    - เนื้อนวะโลหะ "เฉพาะทรงกลม"
    - เนื้อทองแดงผิวไฟ "มีทั้ง ๒ แบบ" <<====
    - เนื้อทองสัมฤทธิ์ "มีทั้ง ๒ แบบ"

    #พุทธลักษณะของเหรียญแบ่งเป็น ๒ พิมพ์

    ๑. แบบทรงกลม
    ๒. แบบทรงรูปพัดพุดตาน หรือเหรียญกงจักร

    #เข้าพิธีพุทธาภิเษกดังนี้

    - ปี๒๕๑๐ ภายในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส
    - ปี๒๕๑๒ ภายในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส
    - ปี๒๕๑๔-๑๕ ณ คณะหอเขียว วัดบรมนิวาส
    - ปี๒๕๑๗ : ๔ วาระโดยมี พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณหอเขียว วัดบรมนิวาส เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด

    - โดยออกให้บูชาอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.๒๕๑๗ รุ่นไตรมาส รุ่นนี้ท่านเก็บไว้นานพอสมควร ด้วยเพราะมีขนาดที่เป็นทรงกลมขนาดใหญ่พอสมควร ท่านจึงนำออกมาแจกจ่ายจนหมดโดยใช้เวลาพอสมควร นักนิยมสะสมพระเครื่องจึงเล่นหาเป็นทั้งของปี๒๕๑๔ หรือจะเป็นปี๒๕๑๗ ก็ถือว่าไม่ผิดครับ

    ● รายละเอียด : วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง ชุดพระสิทธัตโถ รุ่นไตรมาส ในครั้งนี้

    ๑.เพื่อนำไปสร้างศาลาการเปรียญที่ค้างอยู่ที่วัดสิทธัตโถภาวนาราม (วัดถ้ำปากเปียง) อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ๒.หล่อรูปพระประธานกริ่งสิทธัตโถจำลอง ประดิษฐานไว้ที่วัดถ้ำปากเปียง

    ๓.หล่อรูปเหมือนเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(สิริจนฺโท จันทร์) แห่งวัดบรมนิวาส

    ๔.หล่อรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    ๕.หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อลี ธมฺมธโร

    ๖.หล่อรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมรงฺสี) เพื่อนำไปตั้งบูชาที่ศาลาการเปรียญที่กำลังสร้างขึ้นใหม่ ณ.บริเวณวัดสิทธัตโถภาวนาราม (วัดถ้ำปากเปียง) ต.บ้านถ้ำ เชียงดาว ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่สิม ได้อุปถัมภ์


    --------------------------------------------------------------------------

    **** พิธีพุทธาภิเษก หลายวาระ ดังนี้ ***

    ==> ปี พ.ศ.2510 พิธีพระกริ่งสิทธัตโถ ภายในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ( บันทึกประวัติการจัดสร้างจากผู้สร้าง บันทึกไว้ว่า รายนามพระคณาจารย์ชุดเดียวกับ พระกริ่งสิทธัตโถ ปี 2508)


    รายนามพระเถระคณาจารย์ นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิต
    -หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
    -หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    -หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส
    -หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ
    -หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน
    -หลวงพ่อบี้ วัดลานหอย
    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    -หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
    -หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
    -หลวงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
    -หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น
    -หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร
    -หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
    -หลวงพ่อบัว วัดป่าพรสถิตย์
    -หลวงพ่อถวัล วัดหนองบัวทอง
    -หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส
    -หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ
    -หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร
    -หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์
    -หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
    -หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
    -หลวงพ่อผล วัดหนัง ธนบุรี

    ●● สายพระกรรมฐานอาทิ ●●
    -หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง
    -หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
    -หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสาลวัน
    -หลวงพ่อจันทร์ วัดศรีภูเวียง
    -หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม
    -หลวงพ่อบัว วัดหนองแซง
    -หลวงพ่อคำพอง วัดราษฎร์โยธี
    -หลวงพ่อคำไหม วัดอรุณรังสี
    -หลวงพ่อคำผิว วัดป่าหนองแซง
    -หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล
    -หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม
    -พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม
    -พระอาจารย์จวน วัดภูทอก
    -พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ เป็นต้น



    ==> ปี พ.ศ.2512 พิธีพระกริ่งสิทธัตโถ ภายในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ


    คณาจารย์ที่รับอาราธนาเข้าร่วมพิธีมหาพุทธภิเษกพระกริ่งสิทธัตโถ และเหรียญที่ระลึกทั้งหมดนั้น อาจบันทึกได้ไม่ครบถ้วนทุกรูป แต่สามารถบอกได้ดังนี้
    1. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ (ท่านเป็นเจ้าพิธี)
    2. หลวงปู่ตื้อ อจลธมโม วัดป่าอรัญญวิเวก นครพนม (ขณะนั้นท่านอยู่เมืองเชียงใหม่)3. หลวงปู่นาค วัดระฆัง
    4. เจ้าคุณวรพรตปัญญาจารย์ (แก้ว) วัดป่าอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    5. หลวงปู่แว่น วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง (ขณะนั้นท่านอยู่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร)
    6. หลวงพ่อเมตตาหลวง (ขณะนั้นคือเจ้าคุณสุนทรธรรมภาณ วัดป่าชัยวัน ขอนแก่น)
    7. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ อยุธยา
    8. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลยไลย์ สุพรรณบุรี
    9. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    10. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    11. หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี
    12. หลวงพ่อเจริญ วัดอโศการาม (ปัจจุบันอยู่ถ้ำปากเพียง)
    13. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
    14. พระราชปัญญาโสภณ (สุข) วัดราชนัดดา
    15. หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา
    16. หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
    17. หลวงพ่อเฉลา วัดคีรีภาวนาราม ระยอง
    18. หลวงพ่อแฟ้ม วัดป่าอรัญญิกาวาส ชลบุรี (ขณะนั้นอยู่วัดตรีรัตนาราม ระยอง)
    19. หลวงพ่ออำนวย ถาวโร วัดเสาธงกลาง สมุทรปราการ
    20. หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
    21. หลวงพ่อคำสิงห์ วัดล่ามช้าง เชียงใหม่
    22. หลวงพ่อเจียง วัดป่าสันติธรรม เชียงใหม่
    23. หลวงปู่เคน วัดเขาอีโต้ ปราจีนบุรี
    24. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่ หนองพะอง
    25. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    26. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    27 หลวงพ่อบุญมี วัดอ่างแก้ว กทม.
    28. หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต
    29. พระธรรมดิลก วัดบรมนิวาส
    30. หลวงพ่อหอม วัดท่าอิฐ อ่างทอง
    31. หลวงพ่อผ่อง วัดจักรวรรดิ กทม.
    32. หลวงพ่อเขียน วัดพิชัยสงคราม สมุทรปราการ

    ปัจจุบันพระกริ่งสิทธัตโถค่อนข้างหายาก ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก และเหรียญที่ระลึกทุกพิมพ์พอจะเห็นได้บ้างประปรายในที่ต่าง ๆ ผู้สนใจอยากจะได้ไว้ต้องลงมือหาเอาเอง (งานเขียนของอำพล เจน หนังสือศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่ 252 วันที่ 1 กรกฎาคม 2536 )



    ==> ปี พ.ศ.2514-2515
    ณ คณะหอเขียว วัดบรมนิวาส


    ==> ปี พ.ศ.2517
    - พิธีพระกริ่งสิทธัตโถ ประกอบพิธี 4 วาระโดยมี พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณหอเขียว วัดบรมนิวาส เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด

    ☆☆ วัตถุมงคลชุดนี้หลวงปู่สิม พุทธจาโร ท่านเมตตาอธิฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษยาวนาน หนึ่งพรรษาเต็ม ๆ


    วาระการแผ่เมตตาอธิษฐานจิต
    ครั้งที่1. วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2517
    - พระราชาคณะเปรียญ 9ประโยคทั้งสิ้น 9รูปสวดชัยมงคลคาถา ต่อจากนั้นพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณธรรม 29รูป นั่งปรกแผ่เมตตาอธิษฐานจิต 3วัน 3คืน โดยพ่อแม่ครูอาจารย์สายหลวงปู่มั่น อาทิ หลวงปู่อ่อน,หลวงปู่ฝั้น,หลวงปู่ขาว เป็นต้น

    ครั้งที่2.
    - หลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชีบงใหม่ เมตตาอธิษฐาน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2517 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชาของปีนั้น (พิธีพุทธาภิเษกพร้อมกันกับเหรียญหลวงปู่แหวน รุ่น84 ของท่าน)


    ครั้งที่3.
    - หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่ เมตตาอธิษฐานจิตเข้าพรรษา ไตรมาสตลอด 3เดือนของปี พ.ศ2517 พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ขณะนั้นจำนวน 39รูป


    ครั้งที่4.
    - จัดพิธี ณ วัดสิทธัตโถภวนาราม(วัดถ้ำปากเปียง) เป็นการทำพิธีสุดท้ายตั้งโต๊ะทำพิธีกรรมบวงสรวงและด้วยพิธีกรรมโดยพรหมณ์

    ☆ วัดถ้ำปากเปียง เมื่อก่อนนั้นยังเป็นเพียง #ถ้ำปากเปียงที่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เคยธุดงค์มาจำพรรษา พร้อมทั้งหลวงปู่สิม พุทธจาโร ก็มาจำพรรษา และได้สร้างความเจริญจนเปลี่ยนเป็น วัดสิทธัตโถภาวนาราม (วัดถ้ำปากเปียง)มีพื้นที่กว้างเหมาะกับทำพิธีกรรมต่าง ๆหลวงปู่ยังปรารถนาความสงบวิเวกของป่าเขาและโพรงถ้ำต่าง ๆอยู่สุดท้ายได้มาอยู่ที่ถ้ำผาปล่องเป็นบ้านสุดท้ายในการบำเพ็ญศีลภาวนาในชีวิต ของท่าน

    ปล. เหรียญบาตรน้ำมนต์ พระกริ่งสิทธัตโถ รุ่นนี้ถือว่าได้รับการปลุกเสกหลายวาระ และเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควรกว่าวัตถุมงคลรุ่นอื่น ท่านใดมีไว้บูชาถือว่า #เป็นมงคลอย่างยิ่งครับ #ส่วนเรื่องการตอกโค๊ต อาทิ เลขรัน มีทั้งแบบตอก และไม่ได้ตอกนะครับ #เบื้องต้นยังไม่พบของเลียนแบบนะครับ #หากพบว่ามีจะแจ้งให้ทราบนะครับ

    #ข้อมูลโดย :
    ๑. พระธรรมวราลังการ (ชลอ กิตติสาโร) เจ้าอาวาสวัดเพชรวราราม จ.เพชรบูรณ์ องค์ปฐมผู้สร้าง เมื่อครั้งที่ท่านจำพรรษาที่วัดบรมนิวาส ท่านได้เก็บแผ่นโบชัวร์ไว้ในตู้เอกสาร
    ๒. ท่านพระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) ผจล.วัดบรมนิวาส ผู้มอบให้ผู้เขียนนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง
    ๓. คุณลุงพลอย ท้วมเอี่ยม ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ท่านเคยบวชอยู่ วัดบรมนิวาส มีตำแหน่งเป็น พระครูธรรมธร (พลอย อุรุโณ) ฐานานุกรมของพระธรรมดิลก (ทองดำ จนฺทูปโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสรูปที่๗ และท่านเป็นอดีตพระคอยอุปัฏฐากรับใช้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส รูปที่๖

    #ขอขอบพระคุณเจ้าของรูปวัตถุมงคลและขอยกเครดิตให้กับเจ้าของภาพด้วยนะครับ
    ●●●● ข้อมูลนี่หากเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีความศรัทธา และสนใจในด้านวัตถุมงคลของสายวัดบรมนิวาส นี้แล้วนั้น กระผมนายตุ๊ และคณะแอดมิน ขอยกเครดิตถวายแด่วัดบรมนิวาส และองค์ผู้สร้างครับ ด้วยความเคารพ จากใจครับ ●●●

    ● เขียนโดย : นายธนบูลย์ โควาวีระสิทธิ์ (ตุ๊ ศิษย์มีครู) กุลบุตรอารามบรมสุข นวกะรุ่นปี๔๓

    ● #แชร์ ได้นะครับแต่รบกวนให้เครดิตวัดบรมนิวาส และองค์ผู้สร้าง และเพจฯด้วยนะครับ เพื่อการศึกษา และสะสมเท่านั้น ดูน้อยลง
    16 พฤษภาคม 2019 ·




    ข้อมูลและตัวอย่างเหรียญลองชมดูนะครับ
    - https://www.web-pra.com/shop/jeerasit/show/1303948
    - http://g-pra.com/guaranteepra/index.php?action=showpra&show_club=15&pra_id=164651
    - http://www.pralanna.com/boardpage.php?topicid=42326
    - http://www.pralanna.com/boardpage.php?topicid=15444


    สภาพสวยผิวน้ำยาเดิมๆ เก่าเก็บไม่ได้ใช้ เหรีญสวยอลังการพุทธศิลป์ล้ำเลิศ พิธีการจัดสร้างที่ครบถ้วนสมบูรณ์เหรียญพิมพ์นี้ยังเก็บได้อยู่ครับออกเบาๆ แบ่งให้บูชา 345 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณพุทโธ ภควา จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2024
  5. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,608
    ค่าพลัง:
    +30,887
    สวัสดีหลัง-png.png2.png
     
  6. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    ขออนุญาตแจ้งกำหนดการจัดส่งครับ


    *** วันที่ 01/12/2566 มีรอบจัดส่งของ

    ตัดรอบ 30/11/2566 เวลา 22.00 น. ครับผม ***


    หากเลยกำหนดนี้จะมีรอบอีกสัปดาห์หน้าเลยครับผม



    เนื่องจากพอดีผมไม่สบาย ประสาทกล้ามเนื้อหลังอักเสบครับ ยังไม่หายดีเลยครับ จึงรวบยอดส่งสัปดาห์ละ 1 ครั้งครับ

    กราบขออภัยในความล่าช้าด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ


    -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif
     
  7. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    รายการจัดส่ง แฟลช 01/12/2566



    d0iOMzW.jpg



    ***สรุปรายการที่ หน้า1 ครับผม***
    Tel: 086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    Line id : engiman_nu


    -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif
     
  8. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3464.มหากาพย์พิธีเหนือโลก นิมิตร อ.ไพศาล แสงไชย(๒) พระรอดปลอดภัย
    เจตนาสร้างบริสุทธิ์ ครูบาอินโท และพระสงฆ์จากเทวโลก อธิษฐานจิตมหาพิธี 9ราตรี

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    xuyffp-jpg.jpg

    kyclpk-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg kycc4q-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg kycuqs-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    พระรอดปลอดภัย(หลัง อ.) พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน วัดสันป่ายางหลวง จังหวัดลำพูน ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2532 เนื้อดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูนแต่โบราณกาลมาผสม ผงยา,ผงว่าน,มวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่างๆ ,ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดทำมวลสาร

    ประวัติพระรอด
    คนส่วนใหญ่มากเมื่อพูดถึงเมืองลำพูน มักจะเล่าสู่กันฟังถึงความวิจิตรสายงามของพระธาตุภุญชัย อันตั้งเด่นตระหง่านเป็นพันปี เท่าอายุของนครหริภุญชัยหรือลำพูน ในปัจจุบัน เช่น พระเจดีย์วัดจามเทวีและกู่บรรจุอัฎฐิพระแม่จามเทวี ปฐมกษัตริย์ของหริภุญชัย ตลอดจนพระวัดวาอารามต่างๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งล้วนแต่มีประวัติอันยาวนานคู่บ้านคุ่เมือง

    วัดที่รู้จักกันดีในบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เพราะเป็นที่บรรจุพระเครื่องสำคัญเป็นอันที่รู้จัก และเป็นที่นิยมกันทั่วไปนับได้ว่าเป็นลัญญสักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำพูน คือ วัดพระคงฤาษี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองลำพูน เป็นที่ประดิษฐานบรรจุพระคง หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าพระลำพูนดำ หรือ ลำพูนแดง แล้วแต่สีของพระ อีกวัดหนึ่งคือวัดมหาวัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองลำพูน เป็นวัดที่ประดิษฐานบรรจุพระเครื่องสำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้าง ทั้งคนในเมืองลำพูน และคนทุกภาคทุกจังหวัดของประเทศไทย ต่างก็พยายามเสาะแสวงหามาไว้บูชาพกพาติดตัวเพื่อพึ่งพลังอิทธิฤทธิ์ ให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งหลายทั้งปวงอันอาจจะประสบเข้ากับตนเอง และด้วยอำนาจพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณอันบรรจุไว้ในองค์พระรอดนี้ ได้ช่วยให้ผู้ที่บูชากราบไหว้อยู่เสมอ ให้แคล้วคลาดหลุดพ้นจากเหตุการณ์อันตรายได้โดยปลอดภัยราวกับปาฎิหาริย์ มานับครั้งไม่ถ้วน มีหลักฐานบุคคลที่ประสบเหตุการณ์พอที่จะสอบถามได้อยู่มาก

    เหตุที่พระรอดเป็นพระเครื่องที่ทรงไว้ ซึ่งอิทธิปาฎิหาริย์อันยิ่งใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพราะ
    1. ผู้สร้างพระรอด (รวมทั้งพระคง และพระลือ) สร้างขึ้นมาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง หวังให้บุคคลผู้มีไว้ครอบครอง และบูชาอยู่เป็นนิจ ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงที่จะมาเบียดเบียนชีวิต ทั้งนี้ โดยไม่หวังผลเป็นอามิสไดๆ ทั้งสิ้น
    2. นอกจะมีไว้เพื่อปกป้องประชาชนแล้ว ท่านผู้สร้าง ยังมุ่งหวังเพื่อจะให้คุ้มครองบ้านเมืองให้แคล้วคลาดปราศจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้นการสร้างก็อธิฐานไปในทางข่มศัตราวุธและอำนายให้เกิดความแคล้วคลาด (รายละเอียดการสร้างพระรอด โปรดหาอ่านได้จากหนังสือ)

    เหตุการณ์มหัศจรรย์
    ในระยะที่ทางคณะผู้จัดสร้างพระรอด กำลังดำเนินงานกันอยู่นี้ คุณไพศาล แสนไชย ผู้สามารถติดต่อกับเทวโลกได้ และนรกได้ ทำหน้าที่ทูตจากเทวโลกและนรกโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ได้นำข่าวจากเทวโลกมาแจ้งให้แก่พระอาจารย์อินทรว่า การสร้างพระรอดครั้งนี้ทางพระสงฆ์ที่อยู่บนเทวโลก ท่านก็ได้ทราบแล้วและทุกท่านที่ทราบ เช่น ท่านครูบาคัณธา คัณธาโล ครูบาสรีวิชัย หลวงพ่อโอภาสี ก็ขอร่วมอนุโมทนา ในเจตนารมณ์อันเป็นบุญเป็นกุศลนี้ และแจ้งด้วยว่าในวันพุทธาภิเกพระนั้น ทุกท่านก็จะลงมาร่วมด้วยพร้อมกับพระสงฆ์อีกหลายรูปที่อยู่บนเทวโลก ในโอกาสนี้ท่านครูบาคัณธา คัณธาโลก สั่งมาว่าขอหัยสาธุเจ้าอินทร ไปบอกกล่าวแก่เทวดาผู้รักษา ดอยไซและขอดินที่ดอยไซมาร่วมผสมทำพระรอดด้วย เพราะเทวดาท่านนี้ในอดีตสมัยพระนางจามเทวีท่านชื่อ ขุนเจ้าคำบุญ เคยร่วมสร้างพระรอดโดยเป็นเจ้าพิธีในการทำทุกขั้นตอน ส่วนท่านพญาพิงคราช ก็กำชับมาว่าอย่าลืมเอาว่านเพชรหลีกมาผสมด้วย จะทำให้พระรอดนี้มีอิทธิทางแคล้วคลาดหลีก พ้นจากอันตราย หลวงพ่อโอภาสี ได้ขอให้ครูบาคัณธา นำท่านไปพบกับหลวงปู่บุญ หรือพระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเมื่อยังทรงสังขารอยู่ในมนุษย์โลก แต่ขณะนี้ได้มาสถิตอยู่บนพรหมโลก ท่านมีความรู้เรื่องการสร้างพระเครื่องดีมากเมื่อพบกันแล้วโดยไม่ต้องแจ้งความจำนง หลวงปู่กล่าวออกมาทันทีที่คณะของครูบาคัณธา ไปถึงว่า

    เริ่มดำเนินงาน
    การดำเนินการสร้างพระรอดในครั้งนี้ พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน และบรรดาผู้ร่วมงานได้ตกลงจะจะปฏิบัติตามแบบฉบับเดิมของพระแม่เจ้าจามเทวีได้ปฏิบัติมา ซึ่งองค์พระแม่เจ้าได้เล่าเรื่องการสร้างพระรอด พระคง พระลือ อย่างละเอียดผ่านคุณไพศาล แสนไชย และได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเรื่อง
    การอธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้แก่แบบพิมพ์พระ
    แบบพิมพ์พระรอดนี้ ได้จ้างผู้ที่มีความรู้เรื่องพระรอดและเคยแกะต้นแบบพระรอดมาแล้วจนชำนาญ เป็นผู้แกะต้นแบบจัดทำพิมพ์พระให้แต่ก่อนที่จะนำแบบพิมพ์ทั้งหมดมาทำการพิมพ์พระ ท่านอาจารย์อินทร ได้นำเอาแบบพิมพ์เหล่านั้น ไปขอความเมตตาจากครูบาสังฆะที่มากด้วยพรรษา และเปี่ยมด้วยบารมีธรรมช่วยแผ่พลังจิตอธิษฐาน เพื่อให้พระรอดทุกองค์ที่กดออกจากแบบพิมพ์นั้น ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ ครูบาสังฆะที่พระอาจารย์อินทร ได้ไปขอความเมตตาจากพระคุณท่าน คือ
    1. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    2. ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาลุการาม (ป่าแงะ) อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
    3. ครูบาคำตั๋น อารามดอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    4. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอินทร) วัดฟ้าหลั่ง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้ฝากแบบพิมพ์ทั้งหมด ไว้กับท่านครูบาอิน อินโทเป็นเวลา5 วัน กับ 5 คืน เพื่อขอรับบารมีจากครูบา

    การกดพิมพ์พระ
    พระรอดวัดสันป่ายางหลวง ได้ฤกษ์ลงมือกดพิมพ์พระตามแบบโหราจารย์ภาคเหนือ ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 เหนือ ยามเช้า พระเณรในวัดสันป่ายางหลวงและคณะศรัธธาผู้ร่วมสร้างพระรอด ได้ช่วยกันนำวัตถุมงคลทุดอย่าง ที่ต้องใช้ในการกดพิมพ์พระรอด เช่น ดินผสม ผงยา และผงว่าน ที่จะนำมาคลุกดินอีกครั้งหนึ่งก่อนการกดพิมพ์พระรอด น้ำทิพย์ที่นำมาผสมดินให้อ่อนนิ่ม ทั้งหมดได้นำมารวมไว้กลางพระอุโบสถ แล้ววางรูปพระเกจิอาจารย์สำคัญๆ อันเป็นที่รู้จักและเคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไว้รอบๆ กองวัตถุมงคลนั้น เพื่ออธิษฐานของความเมตตาจากพระคุณท่าน ช่วยแผ่พลังบารมีมาปกป้องคุ้มครองพร้อมกับร่วมประจุพลังลงในวัตถุมงคลนั้นด้วย พระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวง อันมีพระอาจารย์อินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาสเป็นประธาน ได้ร่วมกันสวดชยันโต ประพรมน้ำทิพย์ซึ่งนำมาทำน้ำพระพุทธมนต์ลงไปตามวัตถุมงคลเสร็จแล้วจึงลงมือกดพิมพ์พระ โดยพระอาจารย์อินทร เริ่มประเดิมเป็นองค์แรกพิมพ์ละองค์ทุกๆ พิมพ์ การสร้างพระครั้งนี้ ท่านพระอาจารย์อินทร ได้ตั้งใจไว้ว่าจะทำให้ได้ แปดหมื่นสี่พันองค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ และเท่ากับจำนวนที่พระนางจามเทวีได้เคยสร้างไว้ครั้งแรก

    การอาบว่านยา
    การอาบว่านยาเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2532 ไปจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2533 รวมเวลา 9 วัน เริ่มด้วยพิธีการด้วยการเทศน์หนึ่งกันฑ์พระสงฑ์สวดชัยมงคลคาถา อุบาสกพิธีกรรมร่วมกับพระเณร ช่วยกันนำรพะลงอาบแช่น้ำว่านยา เป็นเวลาพอสมควร ให้เนื้อพระดูดซับเอาน้ำว่ายาไว้ แล้วนำขึ้นผึ่งบนแท่นที่ปูลาดด้วยผ้าเหลืองภายในปริมณฑล พระสงฑ์สวดชยันโตแล้วคลุมทับด้วยดอกไม้นานาชนิด ประพรมด้วยน้ำมนต์ น้ำอบน้ำหอม ทำพิธีเช่นนี้ติดต่อกันทุกเช้าเวลา 09.09 น. เป็นต้นไป จนถึงวันครบกำหนดคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 และในตอนกลางคืนทุกคืน ได้รวมพระรอดกองไว้แล้วพระสงฑ์ภายในวัด สวดชัยมงคลคาถาเป็นประจำจนเสร็จพิธีอาบว่านยา หลังจากนั้นวันสุดท้ายคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 ได้นำพระรอดทั้งหมดมาประพรมและคลุกด้วยน้ำมันมนต์ อันประกอบด้วยน้ำมันงา , น้ำมันจันทน์ , น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันมะกอก , น้ำมันละหุ่ง , น้ำมันหมื้อ , ชมด , ผงจันทร์เทศ , และกฤษณา น้ำมันนี้ได้เก็บไว้ในโบสถ์ และทำพิธีสวดด้วยธรรมจักร ทุกวันพระตลอดพรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งเนื้อพระดูดซับเอาน้ำมันมนต์ฉ่ำทั่วองค์พระแล้ว จึงนำออกผึ่งให้แห้ง พอพระรอดทั้งหมดแห้งพอดี ก็ลำเลียงเข้าสู่บริเวณพิธีที่จะทำพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไป

    การอธิฐานจิตแผ่เมตตา
    เมื่อขั้นตอนทั้งหลายผ่านพ้นไป และได้สำเร็จเป็นองค์พระตามที่ต้องการแล้ว พิธีสำคัญยิ่งคือพิธีพุทธาภิเษก หรือการอธิฐานจิตแผ่เมตตาประจุไว้ในองค์พระ สถานที่ประกอบพิธีกรรมภายในโบสถ์ วัดสันป่ายางหลวง ด้วยเห็นว่า โบสถ์นั้น เป็นสถานที่ของสงฑ์โดยเฉพาะการทำพิธีกรรมของสงฑ์ เช่น การอุปสมบท การปลงอาบัติ ฟังพระปาฏิโมกข์ ก็ทำได้เอาเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น ดังนั้น โบสถ์จึงเป็นสถานที่หมดจดสะอาดปราศจากสิ่งเลวร้ายและมลทิน

    การจัดสถานที่ได้จัดเอาบรรดาศาสตราวุธทุกชนิดเท่าที่จะจัดหาได้บางอย่างก็ต้องใช้ของสมมุติแทนสิ่งมีพิษทั้งหลาย เช่น บรรดายาพิษทั้งหลายที่ชาวบ้านใช้กัน สัตว์มีพิษ และดุร้าย เช่น งูพิษ ตะเข็บ ตะขาบ ฯลฯ เสือ สิงโต กระทิง ควายป่า ช้าง ฯลฯ สัตว์ร้ายเหล่านี้ต้องใช้ของประดิษฐ์แทนของจริง ของทั้งหมดจัดนำมาเพื่อข่มพิษร้ายโดยจัดวางไว้ใต้แท่นที่วางพระแล้วปูทับด้วยผ้าขาวโรยทับด้วยดอกไม้อันมีดอกพุธ ดอกมะลิ และดอกไม้หอมอื่นๆ อีกมาก หมายถึงการลดความเลวร้ายลงและเปลี่ยนจากร้ายให้กลายเป็นดีในที่สุด ชั้นบนเป็นชั้นที่จัดวางพระรอดที่จะนำมาเข้าพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ปูลาดด้วยผ้าขาวแล้วจึงวางเกลี่ยพระลงบนชั้นนั้น ประพรมด้วยน้ำอบ น้ำหอมจนทั่วกองพระ แล้วปูทับด้วยผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง ชั้นบนสุดก็โรยด้วยดอกไม้อันเป็นมงคล และมีกลิ่นหอม การโรยดอกไม้ชั้นนี้ ได้โรยทับขึ้นไปทุกคืน ตลอดระยะเวลา 9 คืน
    พิธีสำคัญนี้ได้ฤกษ์เริ่มพิธีในวันที่ 6 มกราคม 2533 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 เหนือ ไปจนถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. ไปจนถึงเที่ยงคืน หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ก็ยังคงเปิดโบสถ์จุดเทียนชัยไว้ แล้วกล่าว อัญเชิญเทพเทวาทั้งหลาย และพระสงฑ์จากพรหมโลก เทวโลก ขอให้มาร่วมแผ่เมตตาและอนุโมทนาในกองกุศลนี้ด้วย พิธีกรรมนี้ทำติดต่อกันไปรวมเวลาได้ 9 คืน ในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ ทางวัดได้นำพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 205 องค์ พระพุทธรูปใหญ่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูป ยืนปางห้ามมารสูง 4 ศอก 1 องค์ พระพุทธรูปปางประธานพรแบบอินเดีย ขนาดหน้าตักกว้าง 39 นิ้ว 2 องค์ เข้าร่วมพิธีด้วย พระเกจิอาจารย์หรือครูบาสังฆะ ที่นิมนต์มาร่วมในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ทั้งหมด 32 รูป ส่วนมากจะมีอายุ 70 พรรษาขึ้นไป และได้บำเพ็ญจิตภาวนาสั่งสมบารมีมาตลอด แม้บางองค์จะมีอายุพรรษาน้อยกว่านั้น แต่ก็เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และสั่งสมบุญบารมีด้วยการบำเพ็ญจิตเรื่อยๆมาไม่ขาดสาย นับได้ว่าเป็นบุญอย่างยิ่งของคณะผู้ดำเนินการสร้างพระ ที่ได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระคุณเจ้าทุกรูป บางองค์ แม้จะสูงอายุสังขารร่างกายก็ทรุดโทรมตามปกติไม่รับนิมนต์ที่ไหนไกลๆ แต่ก็ยินดีมาร่วมพิธีกรรมครั้งนี้โดยเฉพาะ

    รายนามพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา
    วันที่ 6 มกราคม 2533
    1. พระมหาเจติยารักษ์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แสดงธรรม “ไชยะสังคะหะ “ เริ่มพิธีกรรม
    2. ครูบาดวงจันทร์ จันวโร วัดป่าเส้า อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาปั๋นคำ วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน
    4. พระมหาบุญช่วย วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน

    วันที่ 7 มกราคม 2533
    1. ครูบาสิงห์แก้ว สิริวิชโย วัดป่าขาม อ.เมือง ลำพูน
    2. พระครูสุทธิธรรมสุนทร วัดบ้านหลุก อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาต่วน อริยวังโส วัดหนองปลาขอ อ.เมือง ลำพูน

    วันที่ 8 มกราคม 2533
    1. พระครูสังวรญาณ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดห้วยแทง อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
    3. พระครูศิรินันทคุณ วัดช้างค้ำ อ.ป่าซาง ลำพูน
    4. ครูบาซอน ธันมชโย วัดดอนหลวง อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 9 มกราคม 2533
    1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดปทุมสราราม อ.ป่าชาง ลำพูน
    3. ครุบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาสุจินดา สุมังคโส วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดประทุมสราราม อ.ป่าซาง ลำพูน
    3. ครูบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาสุจินดา สุมังคโล วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1. ครูสิงหวิชัย สิริวิชโย วัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง เชียงใหม่
    2. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาแสง วัดล้อมก่องข้าว อ.สันกำแพง เชียงใหม่
    4. พระครูพิทักษ์ปัจจันตเขต วัดพระชินธาตุดอยตุง อ.แม่สาย เชียงราย

    วันที่ 11 มกราคม 2533
    1. พระครูคันธวงศ์วิวัฒน์ วัดหนองผำ อ.ป่าซาง ลำพูน
    2. ครูบาสม โสภโน วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง ลำพูน
    3. ครูตุ่น ปัญญาวิลาโส วัดบ้านล้อง อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 12 มกราคม 2533
    1. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    2. พระครูศรียูรมงคล วัดทุ่งแป้ง อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    3. พระครูบวรสุขบท วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 13 มรกราคม 2533
    1. พระครูวรวุฒิคุณ วัดฟ้าหลั่ง อ.จอมทอง เชียงใหม่
    2. พระครูธรรมภาณี วัดดอยชัย อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    3. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่

    วันที่ 14 มกราคม 2533
    1. พระครูสุขบทบริหาร วัดห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร ลำปาง
    2. พระครูโถมมณียคุณ วัดบ้านเป้า อ.ห้างฉัตร ลำปาง
    3.พระครูรัตนาคม วัดพระธาตุเสด็จอ.เมือง ลำปาง
    4.พระครูรักขิตคุณ วัดม่อนพญาแช่ อ.เมือง ลำปาง
    นอกจากพระเถระที่นิมนต์มาแล้ว ทุกคืนพระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวงอันประกอบด้วย
    1.พระปลัดอินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาส
    2.พระมหาเจริญ ชุตินธโร
    3.พระอุทัย อภิญญาโณ
    4.พระชัยพร สิริปัญโญ
    5.พระคัชเชน โชติธัมโม
    ได้ร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา กับพระเถระเป็นประจำทุกคืน ตั้งแต่คืนเริ่มต้นจนถึงคืนสุดท้าย พระภิกษุรูปอื่นที่ไม่เข้าร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ก็เข้าไปสวดพระคาถาพุทธาภิเษก ร่วมกันกับสามเณร ตั้งแต่เริ่มพิธีจนจบพิธีกรรมทุกๆ คืน

    พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลกที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา ทุกคืน หลังจากพิธีกรรมทางมนุษย์โลกจบสิ้นแล้วเวลาตั้งแต่ 24.00 น.เป็นต้นไป ได้มีพระสงฆ์จากพรหมโลก เทวโลก มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไปอีก จนถึงเวลา 05.00
    พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลก ที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา พระรอดปลอดภัย

    วันที่ 6 มกราคม 2533
    1.ครูบาคัณธา คัณธาโล วัดเมืองสร้อย ตาก
    2.ครูบาศรีวิชัย วัดบ้างปาง ลี้ ลำพูน
    3.ครูบาบุญทา วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
    4.ครูบาอภัยสะระทะ วัดฝานหิน เชียงใหม่

    วันที่ 7 มกราคม 2533
    1.ครูบาอุปาละ วัดดอยเต (บ้านทา)ลำพูน
    2.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
    3.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
    4.หลวงปู่เขียว วัดหลงบน นครศรีธรรมราช

    วันที่ 8 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน อยุธยา
    2.หลวงพ่อปาน วัดคลองด่วน สมุทรปราการ
    3.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา
    4.หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบล

    วันที่ 9 มกราคม 2533
    1.สมเด็จลูน ประเทศลาว
    2.หลวงพ่อโอภาสี วัดบางมด
    3.หลวงปู่บุญ นครปฐม
    4.หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1.ครูบาสุริยะ วัดเท้าบุญเรือง เชียงใหม่
    2.ครูบาเถิ้ม วัดแสนฝาง เชียงใหม่
    3.ครูบาอินทรจักร วัดป่าลานห้วยยาบ ลำพูน
    4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน

    วันที่ 11 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    2.หลวงพ่อหมุน วัดเขาตะแคงตะวันตก พัทลุง
    3.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีน
    4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน

    วันที่ 12 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม
    2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    3.ครูบาอ้าย อินทรปัญโญ วัดสะปุ๋งน้อย (ป่าซาง) ลำพูน

    วันที่ 13 มกราคม 2533
    1.ครูบาดง ชวโน วัดดงเหนือ แพร่
    2.ครูบาแก้ว อินทรจักโก วัดเขื่อนคำลือ แพร่
    3.พระครูเนกขัมมะวิสุทธิ์ วัดดอนตัน น่าน
    4.ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน

    วันที่ 14 มกราคม 2533
    1.ครุบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่
    2.ครูบาคำแสน วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่
    3.หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง เชียงใหม่
    4.หลวงปู่ภู วัดอินทร์วิหาร กรุงเทพ

    พระมหาเถระที่มีชื่อประจำวันนี้ ท่านจะมาร่วมอธิฐานจิต ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 5โมงเช้า ตามรายการ นอกจากนี้ยังมีพระเถระอีกนับร้อยรูปจากพรหมโลก ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาร่วมอธิฐานจิต องค์ละประมาณ10-15 นาที แล้วกลับ ตลอดระยะเวลาพิธีอธิฐานจิต ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนวันสุดท้าย แต่ไม่อาจจะนำรายนามท่านมาลงได้ทั้งหมด เพราะมีจำนวนมากและบางองค์คุณไพศาล ก็ไม่รู้จัก
    ในคืนเริ่มต้นและคืนสุดท้ายของพิธีกรรม พระแม่เจ้าจามเทวี ได้เสด็จมาร่วมอนุโมทนา และแผ่เมตตาด้วยแต่อยู่ภายนอกโบสถ์ พระแม่เจ้าได้ตรัสกับไพศาลว่า พระรอดปลอดภัยนี้ดีเท่ากับพระรอดในสมัยที่แม่หม่อน(พระแม่จามเทวี)สร้างสามารถปราบแป๊ (ชนะ)ภูตผี เงือกหงอน ได้ด้วย ใครมีบูชาก็จะอยู่เย็นเป็นสุข จำเริญรุ่งเรือง แม่หม่อนขออนุโมทนากับผู้ใดก็ตามที่ได้ไว้บูชาทุกผู้ทุกคน ขอให้เคารพนบยำอย่าได้เหยียบย่ำข้ามกลายเป็นอันขาด(นี่คือคำยืนยันจากดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระนางจามเทวี)

    ในปีพุทธศักราช 2529 พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโน (พระครูปัญญาธรรมวัฒน์) ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุด ในปีนั้นท่านได้พิจารณาว่า ในงานฉลองอุโบสถหลังใหม่จะเอาอะไรเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมตลอดจน พุทธบริษัทที่ได้ร่วมกันสร้างพระอุโบสถ

    ในคืนวันหนึ่งท่านนั่งสมาธิและได้เห็นรูปพระรอดปรากฏขึ้นในนิมิตนั้น รุ่งเช้าหลังจากฉันภัตตาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านได้คำนึงถึงนิมิตนั้น ท่านได้พิจารณาว่า ถ้าสร้างพระรอดเลียนแบบของเก่าก็จะไม่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกทั้งจะกลายเป็นว่ารูปแบบซ้ำกันเหมือนเลียนแบบของเดิม ท่านจึงเอาสัญญาลักษณ์ อ. ซึ่งเป็นตัวอักขระสำคัญที่ทุกคนจะต้องใช้ตัว อ. นี้ รวมเข้าไปในชื่อของทุกคน คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ โอม ซึ่งเป็นอักขระนะโม มี 9 ตัว เท่ากับโลกุตระธรรมของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นชื่อของท่านด้วย พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโนจึงได้รวบรวมมวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่าง ๆ ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดรวมกันเพื่อทำผงพระรอด ผสมกับดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูนแต่โบราณกาลมา ได้สร้างพระรอดหลัง อ. ขึ้นจนสำเร็จและทำพิธีพุทธาภิเษก โดยได้นิมนต์พระสงฆ์คณาจารย์แห่งเมืองลำพูนมาทำพิธีพุทธาภิเษก เป็นเวลาหนึ่งเดือนกับเก้าวันเก้าคืน และได้แจกให้ญาติโยมในพิธีฉลองพระอุโบสถหลังใหม่

    หลังจากที่ญาติโยมได้รับแจกพระกันไปโดยทั่วถึงแล้ว เกิดปรากฏการณ์อภินิหารแก่ผู้ที่ได้รับแจกไป ดังนี้

    เรื่องที่หนึ่ง ตำรวจถูกยิง
    นายดาบตำรวจวิสูตร ประจำสถานีตำรวจภูธรแม่ทา จังหวัดลำพูน ถูกยิงด้านหลังขณะเข้าจับกุมยาบ้า หมดสติไป
    สองวัน ในวันที่สามจึงพื้นคืนสติเหมือนคนนอนหลับ ไม่ปรากฏแผลตามร่างกายแต่อย่างใด

    เรื่องที่สอง คนจะคลอดบุตร
    นางนภาภรณ์ บ้านกอม่วง อำเภอเมือง ลำพูน ตั้งครรภ์ เลยกำหนดคลอดมาเป็นเวลานานพอสมควร ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลแมคคอมิค ผลกาตรวจปรากฏว่าเด็กขวางลำตัว ขณะเตรียมตัวรอเจ้าห้องผ่าตัด แม่ของนางนภาภรณ์ได้ระลึกถึงพระรอดหลัง อ.ได้ เพราะได้ยินท่านอาจารย์พูดว่า ถ้าใครมีปัญหาอะไรที่สาหัส ให้เอาพระรอดตั้งสัจจะอธิษฐาน ทำน้ำพระพุทธมนต์ น้ำไปดื่ม กิน อาบ โดยเอาพระรอดแก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ มารดาของนางนภาภรณ์ก็ทำเช่นนั้น เพราะพระรอดได้ผ่านการอาบน้ำว่าน ๑๐๘ ชนิดและน้ำมันมนต์ผ่านการทำพิธีมาเรียบร้อยแล้ว แม่ของนางนภาภรณ์จึงนำน้ำมนต์นั้นมาให้นางนภาภรณ์ดื่ม กิน ลูบหัว ลูกหน้า ลูบท้องของนางนภาภรณ์ ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ว่า ลูกของนางนภาภรณ์คลอดออกมาอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด

    เรื่องที่สาม อุบัติเหตุรถชน
    นายสวัสดิ์ สันตติภัค คนบ้านพระคงฤาษี ในเมืองลำพูน อายุ ๖๐ ปีถูกรถกระบะชนกลางลำตัวขณะขับขี่จักรยานสองล้อตัดหน้ารถ เพราะไม่เห็นรถกระบะด้วยสายตาไม่ดี รถกระบะชนเต็มที่ ปรากฏว่า ขาหัก ๓ ท่อน โดยไม่มีบาดแผลอื่นใด หมดสติ ไปรู้สึกตัวที่โรงพยาบาล พอรู้สึกตัวก็คลำหาพระรอดหลังอ. ยกมือท่วมหัวพรางนึกในใจว่า รอดตายพระบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังโดนรถมอเตอร์ไซด์ชนอีก ๒ ครั้ง แต่ก็รอดมาได้โดยไม่เป็นอะไร

    เรื่องที่สี่ พระรอดช่วยคนฟันปลอมติดคอ
    นายบุญชื่น บ้านต้นเหียว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ รับประทานอาหารเสร็จในวันหนึ่งแล้วลุกมาบ้วนปาก ขณะกรั้วคอล้างปาก ฟันปลอมที่ใส่อยู่ประจำเกิดหลุดออกจากเหงือกที่ยึดอยู่ แล้วไหลลงไปติดอยู่ที่หลอดลม เจ็บปวดสุดแสนสาหัส ทำอย่างไรก็ไม่อาจสามารถเอาออกมาได้ ภรรยาจึงนำส่งโรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่ แพทย์ได้ทำการ x - ray ผลปรากฏว่าฟันปลอมไปติดค้างอยู่ที่หลอดลม หมอลงความเห็นว่าต้องผ่าตัดลำคอเพื่อเอาฟันปลอมออกมา ในขณะที่กำลังรอการผ่าตัด นายบุญชื่นได้รับความทรมานอย่างสุดแสนสาหัส จึงลงความเห็นให้ผ่าตัดด่วน ขณะที่รอหมอภรรยานายบุญชื่นซึ่งแขวนพระรอดหลังอ.ไว้ นึกขึ้นมาได้ จึงเดินไปเอาน้ำจากที่ดื่มน้ำบริการของโรงพยาบาลมหาราช แล้วนำพระรอดหลังอ. มาอธิษฐานว่า “ถ้าพระรอดแน่จริง ศักดิ์สิทธิ์จริง ของให้ฟันปลอมของนายบุญชื่นหลุดออกมาโดยปาฏิหารย์” ภรรยาจึงนำพระรอดหลังอ.แก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ แล้วให้นายบุญชื่นอธิษฐานดื่ม ประมาณครู่หนึ่งหลังจากที่นายบุญชื่อดื่มน้ำเข้าไปแล้ว มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียรอย่างรุนแรง นายบุญชื่นจึงเดินไปที่ถังขยะ ด้วยความทุรนทุรายแล้วอาเจียรออกมาอย่างหนัก ปรากฏว่า ฟันปลอมได้หลุดมากับการอาเจียรในครั้งนั้นโดยอัศจรรย์ นายบุญชื่นได้หยิบเอาฟันปลอมมาทั้งน้ำหูน้ำตา แล้วนำออกมาเพ่งดู ขณะนั้นพอดีกับพยาบาลเรียกให้ไปเข้าห้องผ่าตัด นายบุญชื่นจึงเดินไปหาพร้อมกับยื่นฟันปลอมให้พยาบาลที่จะนำเข้าห้องผ่าตัดดู แล้วบอกว่า “ผมไม่ผ่าแล้ว ฟันผมหลุดออกมาแล้ว” พยาบาลมองดูดด้วยความงุนงงว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? จึงถามนายบุญชื่นว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? ภรรยาจึงเล่าเรื่องเอาพระรอดหลังอ.ทำน้ำมนต์ให้พยาบาลฟัง เรื่องนี้เป็นที่ฮือฮาและเล่าขานกันมากในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

    เรื่องที่ห้า ตำรวจได้ลาภ
    รตต.รัตน์ บุญชู ประจำกองกำกับการตำรวจภูธร จว.ลำพูน เป็นผู้มีความศรัทธาในตัวพระอาจารย์อินทรเป็นอย่างยิ่ง ตอนพักกลางวันของทุกวัน หลังจากรับประทานอาหารแล้วก็จะมาไหว้พระสวดมนต์ แล้วนั่งสมาธิภาวนาเป็นประจำทุกวัน วันหนึ่ง ได้ยินกิตติศัพท์พระรอดหลังอ. จึงมาขอต่อท่านอาจารย์ ไป ๑ องค์ จึงนำไปใส่กรอบติดตัว ในขณะที่รับพระไปนั้น ตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ขอให้ได้เลื่อนยศภายในเร็ววัน ต่อมาอีก๒ อาทิตย์ รตต.รัตน์ ได้มาที่วัดเพื่อถวายสังฆทาน แล้วบอกท่านอาจารย์ว่า “ ใครว่าพระรอดหลังอ. รอดจากจากโชคจากลาภ ผมไม่เชื่อเด็ดขาด ท่านอาจารย์ครับ วันนี้ผมได้เลื่อนเป็นรตท.แล้วครับ”

    เรื่องที่หก พระธาตุเสด็จอยู่ในกรอบพระรอด
    นายถวิล ท้าวรอม (ร้านถวิลท้าวรอม) บ้านป่าซาง ได้มาช่วยกดพิมพ์พระรอดหลัง อ. ได้นำพระรอดหลังอ.ที่พระอาจารย์อินทรเป็นผู้กดเอง ใส่กรอบแขวนติดตัวไว้ อุปนิสัยของนายถวิลเป็นใจบุญสุนทานหมั่นปฏิบัติภาวนาเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นไม่นาน พระธาตุได้เสด็จมาอยู่ในกรอบกับองค์พระรอดหลังอ. เป็นที่น่าอัศจรรย์ (เมื่อมองดูจะเห็นแต่เศียรพระรอดหลังอ. ส่วนองค์พระมองไม่เห็น เห็นแต่พระธาตุ)

    เรื่องที่เจ็ด แสงเลเซอร์ยิงไม่เข้า
    คุณวิภา องค์มหัสมงคล ผู้พิพากษาศาลสมทบจังหวัดนนทบุรี ได้บูชาพระรอดหลังอ.ทองคำไป ๑ องค์ วันหนึ่งได้ไปที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจรักษาต้อกระจก หมอนัดวันให้มาทำการรักษา เมื่อถึงวันนัดก่อนออกจากบ้าน คุณวิภาได้ยกพระขึ้นจบพร้อมกับอธิฐานขอบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง อย่าได้มีอันตรายใดใดต่อดวงตาเลย ที่โรงพยาบาล หมอทำการรักษาโดยการยิงแสงเลเซ่อร์เพื่อรักษาต้อกระจก พอเริ่มทำการรักษา หมอยิงเลเซ่อร์ ๒ - ๓ ครั้ง ปรากฏว่าเครื่องยิงหยุดการทำงาน เป็นที่อัศจรรย์ หมอได้ตรวจสอบเครื่องยิ่งเลเซ่อร์ก็ไม่พบสิ่งผิดปรกติแต่อย่างใด
    หมอจึงถามคุณวิภาว่า “คุณแขวนพระอะไรไว้?”
    คุณวิภาตอบว่า “แขวนพระรอดหลังอ. และได้อธิษฐานก่อนออกจากบ้านมาพบหมอ” สร้างความงุนงงให้กับวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอย่างยิ่ง!!

    เรื่องที่แปด รถชนที่มาเลเซีย
    มิสเตอร์กูบูเซ็ง เจ้าของบริษัท ประเทศมาเลเซีย ได้ส่งจดหมายเป็นภาษาอังกฤษถึงท่านอาจารย์อินทรว่า มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งไปออกกำลังกายตอนเช้าที่ Park หลังจากเสร็จกิจกรรมแล้วได้ขี่จักรยานสองล้อเพื่อเดินทางกลับบ้าน ขณะเดินทางกลับบ้านถูกรถยนต์ชนอย่างแรง ด้วยแรงกระแทก มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งกระเด็นไปไกลหลายตลบเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งจึงให้มิสเตอร์เซ็งเขียนจดหมายเล่าเรื่องประสบการณ์เหลือเชื่อให้ทางวัดสันป่ายางหลวงได้ทราบ พร้อมทั้งขอบคุณบารมีพระรอดหลังอ. ที่ช่วยให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

    ปาฏิหารณ์ที่เกิดจากมีมากมายหลายเรื่องหลายประการจนไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด ผู้ที่นำไปบูชาแล้วเท่านั้นจึงได้พบความอัศจรรย์และปาฏิหารย์ต่าง ๆ ของพระรอดหลัง อ

    ข้อความทั้งหมดนี้คัดลอกมาจากหนังสือ แม่หม่อนเล่าและย้อนอดีตวัดสันป่ายางหลวง จากนิมิตของคุณ ไพศาล แสนไชย เรียบเรียงโดย คุณ ประสิทธิ์ เพชรรักษ์ ทั้งหมด
    ....เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูบให้ทุกท่านได้ทราบถึงพระรอดซึ่งทรงคุณค่าและได้รับการรับรองจากดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่จามเทวี(แม่หม่อนหรือคุณทวด)ว่ามีคุณเปรียบดังพระรอดที่ท่านได้สร้างไว้เมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้วครับ


    สภาพสวยผิวหิ้งเดิมเก่าเก็บ พุทธคุณหายห่วง นี้แหละครับของดีราคาเยาว์ เนื้อดีพิมพ์ดีของท่านที่ทุกคนสามารถมีไว้ในครอบครองได้ แบ่งให้บูชา 345 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)






    (คุณจินดา จองแล้วครับ)






    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2023
  9. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,993
    ค่าพลัง:
    +6,894
    ขอจองครับ
     
  10. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3465.เสริมบารมีกันภัยดีนักแล(๒) เหรียญพระพุทธบุพพาภิมงคล
    พิธีใหญ่มหามงคล พระสังฆราช,ลป.ฝั้น,ลป.โต๊ะ,ลพ.ฤาษีลิงดำ ร่วมอธิษฐานจิต

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    d0qMcuN.jpg

    b8nszn-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    b8nypv-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg


    b8nn9s-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    b8nbbn-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    6dfd-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    เหรียญพระพุทธบุพพาภิมงคล หลังสิงห์ธนูเจ้าพ่อดำ(พระยาราชสีห์) วัดบุพพาราม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 เนื่องด้วยทางวัดมีความต้องการจัดหาทุนในการจัดสร้างหอมณเฑียรธรรม และประจวบกับ
    วาระมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 49พรรษา ในปี 2519 ทางวัดบุพผารามจึงได้จัดสร้างพระพุทธบุพพาภิมงคล เพื่อเป็นที่่ระลึกแก่พระองค์ท่าน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงเสด็จเททองหล่อพระพุทธบุพพาภิมงคล ณ วัดบุพผาราม จ.เชียงใหม่ และทางวัดได้จัดให้มีพิธีมหาพุทธถิเษกอย่างยิ่งใหญ่ โดยพระราชาคณะและพระคณาจารย์ดังแห่งยุค

    **** มหาพิธีหนึ่งเดียวที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จ ทำพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษกด้วยพระองค์เอง มีพลังของพระมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ ****

    **** พระชุดนี้พึ่งแตกกรุจากการเก่าเก็บออกมาเมื่อปี พ.ศ.2560 จากข่าวด้านล่างจากไทยรัฐ ท่านใดมีความประสงค์จะร่วมทำบุญกับทางวัด ถ้าเข้าใจไม่ผิดน่าจะยังไม่หมดนะครับ ทางวัดให้บูชาที่ เหรียญละ 500บาทครับ ****

    พิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก
    - เมื่อวันที่ 13 พค 2519 (วันวิสาขบูชา) ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ในหลวงทรงจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม ณ วัดบุพผาราม จ.เชียงใหม่

    รายชื่อพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก 49 องค์
    1.สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธฯ
    2.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศฯ
    3.สมเด็จพระธีรญาณ วัดจักวรรดิ์ฯ
    4.พระวิสุทธิวงศ์ศาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ
    5.พระวิสุทธาธิบดี วัดไตรมิตรฯ
    6.พระธรรมวโรดม วัดปทุมคงคา
    7.พระพุทธวงศ์มุนี วัดเบญจมบพิตร
    8.พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย
    9.พระเทพวิสุทธิโสภณ เชียงราย
    10.พระเทพวิสุทธี วัดเจดีย์หลวง
    11.ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก
    12.ครูบาคำแสน คุณารังกาโร วัดป่าดอนมูล
    13.ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง
    14.ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    15.หลวงปู่ฉิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาบ่อง
    16.พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง
    17.ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น
    18.ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
    19.พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม
    20.ครูบาบุญมี วัดท่าสต๋อย
    21.ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง
    22.ครูบาปั๋น วัดกู่คำ
    23.ครูบาแก้ว วัดวิเวกวนาราม
    24.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    25.ครูบาจินะ วัดท่าข้าม
    26.ครูบาคำตัน วัดดอนจืน
    27.พระอาจารย์ทองบัว วัดโรงธรรม
    28.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
    29.พระประสาท วัดจามเทวี
    30.พระราชสุมนต์มุนี วัดราชบพิธฯ
    31.ครูบาชุ่ม วัดวังมุย
    32.พระญาณวีราคม วัดดอนเจดีย์
    33.ครูบาเมือง วัดท่าแหน
    34.ครูบาคำแสน วัดท่าแหน
    35.พระอินทวิชยาจารย์ วัดคะตึก
    36.ครูบาอินโต วัดบุญยืน
    67.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    38.ครูบาหล้า วัดดอยคู่ค้าง
    39.พระราชรัตนมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง
    40.พระชยานันทมุนี วัดพญาภู
    41.พระญาณมงคล วัดมหาวัน
    42.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    43.หลวงพ่อนอ วัดกลาง
    44.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
    45.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุรามณี
    46.หลวงพ่อถีร วัดป่าเรไลย์
    47.หลวงพ่อฤษีลิงดำ วัดท่าซุง
    48.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
    49.พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา

    ผ่านพิธีสวดอุปสานติ :
    - เป็นพิธีเพื่อสงบเคราะห์กรรม เพื่อสงบเหตุร้าย และสวดเพื่อสงบสิ่งที่กระทบกระเทือน เสริมบารมีแก่ผู้อาราธนาแขวน นับเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่แก่ผู้แขวน

    ข้อมูลข่าววัดบุพผาราม
    - https://www.thairath.co.th/content/937420



    สภาพสวยเดิมๆ เก็บเก็บไม่ผ่านการบูชา พิมพ์คมโค้ดชัดลึก พุทธคุณครอบครบ สงบเคราะห์กรรม เพื่อสงบเหตุร้าย และสวดเพื่อสงบสิ่งที่กระทบกระเทือน เสริมบารมีแก่ผู้อาราธนาแขวน นับเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่แก่ผู้แขวน แบ่งให้บูชา 450 บาท (พร้อมจัดส่งพัสดุอย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  11. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3466.ยอดมวลสารผงโสฬสมหาพรหม พระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ
    หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ พระเถรจารย์สายพระกัมมัฏฐาน

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    h4ktwa-jpg.jpg

    พระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เนื้อผงพุทธคุณขาวอมเหลือง พระเครื่องเนื้อผงของท่านมวลสารหลักที่ใช้ในการสร้างคือ มวลสารศักดิ์สิทธิ์ ผงพุทธคุณ, น้ำมันงาเสก, ผงบางขุนพรหม และผงโสฬสมหาพรหม ของหลวงปู่ศรีทัต(พระอาจารย์ของท่านครับ) จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2500

    มวลสารหลัก
    1.ผงพุทธคุณ ของหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
    2.น้ำมันงาเสก ของหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
    3.ผงของพระสมเด็จบางขุนพรหม และ
    4.ผงโสฬสมหาพรหม ของหลวงปู่ศรีทัต พระอาจารย์ของท่าน
    (ผงนี้เป็นมวลสารเดียวกับพระผงชุดโสฬสมหาพรหมของหลวงปู่ทิมแห่งวัดละหารไร่)
    ขั้นตอนการลบผงโสฬสมหาพรหม นี้ หลวงปู่ศรีทัต ได้ใช้เวลาในการสร้างถึง 1 ปี การลงผงโสฬสนั้นต้องลงด้วยอักขระตัวขอม เป็นกลยันต์โดยภาวนาจากจากตัต้นจนถึงตัวสุดท้าย ผูกสลับเป็นกลยันต์ 16 มุมในแต่ละมุมแบ่งเป็น 16 ชั้น แต่ละชั้นลงอักขระ 16 ช่อง อักษรในแต่ละตัวแต่ละช่อง ต้องลบถม เรียกสูตร 16 คาบ ผูกอธิษฐานเสกครบถือเป็น 1 ครั้งและต้องทำแบบเดียวกันครบ 16 ครั้ง แล้วรวบรวมผงที่เสกทั้ง 16 ครั้งมาอธิษฐานจิตตามตำราจนครบถ้วนตามฤกษ์แล้วจึงนำผงมาลูบในกระดานบังเกิด เป็นอักขระยันต์โสฬสมหาพรหมโดยไม่ได้เขียนจึงจะถือว่าสำเร็จสมบูรณ์ใช้ได้ผง ที่ได้นี้ครบตามสูตร เชื่อกันว่าเทพเทวะทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน 14 บาดาล21 ชั้นพรหมต่างๆ ทุกพระองค์ จะลงมาอนุโมทนาอำนวยพรให้ผงวิเศษนี้จึงมีอานุภาพแรง ทรงความขลังศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่บูชาพระพิมพ์ชุดนี้ติดตัวต่างประสบกับเหตุอัศจรรย์ต่างๆมากมายอันเป็นผลเนื่องมาจากพุทธคุณที่ มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม

    ประวัติหลวงปู่จันทร์พอสังเขป

    พระเทพสิทธาจารย์ หรือ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2424 ที่บ้านท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม บรรพชาเมื่ออายุ 10 ปี เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บิดาที่ถึงแก่กรรมที่วัดโพนแก้ว อุปสมบทครั้งแรกที่วัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ต่อมาเปลี่ยนญัตติเป็นพระธรรมยุติที่วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี พระสังฆรกฺขิโต (พูน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูหนู ธิตปญฺโญ (พระปัญญาพิศาลเถร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฝึกฝนอบรมธรรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ที่วัดเลียบเป็นเวลา 3 ปี จึงได้กลับไปตั้งวงค์ธรรมยุติที่บ้านเกิดจังหวัดนครพนม ได้สำเร็จทางด้านประยัติโดยจัดการเรียนการสอนนักธรรมขึ้น พร้อมทั้งการปฏิบัติกัมมัฏฐานลุล่วง ท่านได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองในการเผยแผ่กัมมัฏฐาน ทั้งนี้เพระได้รับการอบรมฝึกฝนมาอย่าดีจากท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ผู้เป็นพระปรมาจารย์ใหญ่สายพระกัมมัฏฐาน ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระศาสนา ต่อมาท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพสิทธาจารย์ เมื่อพ.ศ.2502 หลวงปู่จันทร์ ท่านมรณะภาพด้วยโรคชราในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 สิริรวมอายุได้ 92 ปี พรรษา71

    สภาพสวยเดิมผิวหิ้ง พิมพ์มาตรฐาน คมชัดลึกองค์พระเนื้อแก่ผงมากๆ หลวงปู่จันทร์ท่านเป็นพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เหรียญของท่านเป็นที่นิยมเล่นหากันหลักหมื่น ส่วนพระเครื่องเนื้อผงของท่านค่านิยมหลักพัน แต่พุทธคุณล้นเปี่ยม แบ่งให้บูชา 390 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณพุทโธ ภควา จองแล้วครับ)



    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2024
  12. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3467.พิธีล้านนามหาพุทธาภิเษก รวมสุดยอดครูบาศิษย์ครูบาศรีวิชัย(๑)
    เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่น 50ปีถนนศรีวิไชยรำลึก หลัง ภปร. วัดบุพพาราม


    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    ajgp5y-jpg.jpg

    xmmocg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    xmmdgy-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่น 50 ปี ถนนศรีวิไชยรำลึก หลัง ภปร. วัดบุพพาราม เชียงใหม่ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2527

    พุทธศิลป์
    ด้านหน้า : เป็นครูบาเจ้าศรีวิไชย และ ข้อความที่ระลึก 50 ปี
    ด้านหลัง : อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.
    ล้อมรอบด้วยพระคาถาชนะมารอ่านว่า “สัมพุทธานุภาเวนะ สัพพะสันตาปะวัตถิโต สัพพะสมัตถะสัมปันโน สิระภูโตสะทาภะวะ”

    พิมพ์ : เหรียญจัดสร้างเป็นสองขนาด พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
    จำนวนการจัดสร้าง :
    -เนื้อทองคำ
    -เนื้อเงิน
    -เนื้อนวโลหะ
    -เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
    -เนื้อทองแดง

    ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้มีมติให้จัดโครงการ “วันกตัญญูเชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภชครบรอบ 50 ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย” ในการดำเนินงานจัดหาทุนได้มีการสร้างวัตถุมงคลออกมาเป็นรูปเหมือนและเหรียญของครูบาศรีวิชัย..โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”ทรงพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานไว้บนวัตถุมงคล..

    พิธีล้านนามหาพุทธาภิเษก
    - วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 เวลา 15.19 น.เมื่อได้ฤกษ์จุดเทียนชยันโต เจ้าคณะภาคเจ็ด ได้ทำพิธีจุดเทียนชัย บรรดาพระคณาจารย์ศิษย์อาวุโสของครูบาศรีวิชัย จำนวน 18 รูป ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์

    สถานที่จัดงานล้านนามหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นที่ วัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    ซึ่งวัดนี้เป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นคลังเสบียงใหญ่ที่จัดสรรแบ่งปันเสบียงอาหาร ให้แก่ศรัทธาประชาชนที่มาช่วยงาน ซึ่งวัดศรีโสดาแห่งนี้ครูบาศรีวิชัยท่านอยู่พำนัก ระหว่างปฏิบัติงานสร้างทางขึ้นดอยสุเทพจนแล้วเสร็จ

    วัดศรีโสดา ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เหมาะสมที่ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีบริเวณกว้างขวาง มีวิหารหลวงและสำคัญคือ “วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย…”
    “บรรดาพระคณาจารย์ผู้ทรงศีล” ที่นิมนต์มานั่งปรกอธิฐานจิตครั้งนี้..
    ล้วนเป็นลูกศิษย์และผู้เคยร่วมงานพัฒนา กับครูบาศรีวิชัยทั้งสิ้น”..
    รายนามพระคณาจารย์สายครูบาศรีวิชัยที่มาร่วมงานมีดังนี้
    1.ครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง
    2.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    3.ครูบาบุญมี วัดท่าสะต๋อย
    4.ครูบาสิงหชัย วัดฟ้าฮ่าม
    5.ครูบามงคลคุณาทร วัดหม้อคำตวง
    6.ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
    7.ครูบาโสภา วัดผาบ่อง
    8.ครูบาอ้าย วัดศาลา
    9.ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาฬุการาม
    10.ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง
    11.ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง
    12.ครูบาญาณวิลาส วัดต้นหนุน
    13.ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย
    14.ครูบามูล วัดต้นผึ้ง
    15.ครูบาศรีนวล วัดช้างค้ำ
    16.ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม
    17.ครูบาอินตา วัดห้วยไซ
    18.ครูบาศรีนวล วัดเจริญเมือง



    จากบทความ ครูบาศรีวิชัย

    ตอน เหรียญดีเหรียญนึ่งของครูบาตี่ควรฮู้ไว้เจ่นลูกเจ่นหลาน
    วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้มีมติให้จัดโครงการ “วันกตัญญูเชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภชครบรอบ ๕๐ ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย” ในการดำเนินงานจัดหาทุนได้มีการสร้างวัตถุมงคลออกมาเป็นรูปเหมือนและเหรียญของครูบาศรีวิชัย..โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”ทรงพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานไว้บนวัตถุมงคล..

    วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เวลา ๑๕.๑๙ น.เมื่อได้ฤกษ์จุดเทียนชยันโต เจ้าคณะภาคเจ็ด ได้ทำพิธีจุดเทียนชัย พระมหาเถรานุเถระได้เจริญพระพุทธมนต์ปรากฏว่า....
    ”...ท้องฟ้าได้เริ่มมีเมฆหมอกและฝนตกพรำ ชุ่มฉ่ำทั่วบริเวณตั้งแต่เชิงดอยสุเทพจนถึงบริเวณพระธาตุดอยสุเทพ มีกระแสลมเย็นพัดลงมาจากยอดเขา ทำให้บรรยากาศในวิหารหลวงเยือกเย็น ศรัทธาประชาชนนับพันที่นุ่งขาวห่มขาวมาร่วมพิธี ต่างนั่งทำสมาธิด้วยความสงบเรียบร้อยและปราบปลื้มในมงคลฤกษ์ครั้งนี้...”
    บรรดาพระคณาจารย์ศิษย์อาวุโสของครูบาศรีวิชัย จำนวน ๑๘ รูป ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์...

    “..ไหว้พระตามแบบที่เคยปฏิบัติเมื่อครั้งได้อยู่กับครูบาศรีวิชัย..”
    ซึ่งเป็นพิธีกรรมพิเศษนอกเหนือจากกำหนดการที่พระคณาจารย์ทั้งปวงปฏิบัติเองตามที่เคยปฏิบัติมาในอดีต..”พิธีการเช่นนี้จัดว่าเป็นกรณีพิเศษจริงๆแบบล้านนาไทยดั้งเดิม..”
    หลังจากสวดมนต์ไหว้พระและทำการสักการะดวงวิญญาณของครูบาศรีวิชัยเสร็จแล้ว ต่อจากนั้นพระคณาจารย์ก็เข้าประจำที่นั่งปรกทำสมาธิอธิฐานจิต “แผ่พลังสู่มงคลวัตถุ” โดยมีพระพุทธมนต์พิธีสวดพุทธาภิเษก จนหมดรอบปรกแรก...
    พระคณาจารย์และประชาชนที่อยู่ไกลก็เดินทางกลับ ได้แวะนมัสการสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อกรวดน้ำอุทิศถวายกุศลแด่ครูบาศรีวิชัยและบรรพชนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกับครูบาศรีวิชัยในครั้งอดีต ขอให้กุศลผลบุญครั้งนี้ จงดลบันดาลให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุข ให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง....

    ครูบาอาจารย์ของผมบางท่านเคยสอนไว้ว่า..ทุกครั้งที่ได้สวดมนต์ไหว้พระหรือได้ทำบุญอย่าลืม”กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล” ท่านเปรียบเทียบไว้เห็นภาพว่า”ทุกครั้งที่น้ำตกกระแทกพื้นดิน ดินยังกระจาย..”
    เช่นเดียวกันการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลท่านว่า "ฟ้าดินยังต้องรับรู้..."หากเมื่อมาสวมเข้ากับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพิธีนี้...
    ”บ่ายอมก่อต้องยอม บ่าเจื้อก่อต้องเจื้อเต๊อะ..”
    ท่านครูบาอิ่นแก้ว อนิญฺชโนเจ้าอาวาสวัดวาลุการาม (ป่าแงะ) ต.ตลาดขวัญ อ.ดอยสะเก็ด จ.เขียงใหม่ หรือชาวบ้านเรียกว่า “ครูบาป่าแงะ” ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ทรงพรรษายุกาล ทางศาสนายกย่องว่า “ผู้ทรง รัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน” รับนิมนต์เป็นคณาจารย์องค์แรกที่ตั้งจิตกรวดน้ำ...
    "ทันทีที่น้ำลงสู่ปฐพีที่หน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย"
    ท้องฟ้าที่แล้งฝนมานานของเมืองเชียงใหม่ก็มี..
    ”ฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ใจจริงๆ” ..
    และทำให้บริเวณนั้นเยือกเย็นชุ่มฉ่ำคล้ายกับเป็นน้ำพระพุทธมนต์ประพรมทุกๆคน น้ำฝนที่เปรียบเสมือนน้ำพระพุทธมนต์จากครูบาศรีวิชัยครั้งนี้ ปรากฏว่าตกทั่วเมืองเชียงใหม่ ซึ่งชาวเชียงใหม่เชื่อกันว่าเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงว่าบรรพชนที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้รับถวายกุศลผลบุญครั้งนี้โดยครบถ้วน.....
    ปัจจุบันวัตถุมงคลชุดนี้ เป็นที่ยอมรับและมีประสบการณ์เกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปบูชามากมาย เป็นที่กล่าวขานกันในกลุ่มผู้นิยมคติแนวนี้ โดยเฉพาะ ”เหรียญครูบาศรีวิชัยหลัง ภปร.”
    บางท่านถึงกับกล่าวว่า..ถ้าไม่สามารถหาเหรียญสมัยเก่าของครูบาศรีวิชัยได้ละก็...เหรียญรุ่นนี้สามารถนำขึ้นมาแขวนได้อย่างภาคภูมิใจในยุคที่วิกฤติพลังงานกำลังเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการศึกษาของเด็ก..

    ว่ากันว่า “พุทธคุณบ่าขึ้นกับราคา” หรือ “ก๊านเซาะหาขึ้นกับความปอใจ๋” ยังคงความหมายเข้มแข็งและเหมาะสมกับเหรียญชุดนี้..
    ผมเคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านเคยกล่าวถึงครูบาศรีวิชัยไว้ว่า..
    “ท่านครูบาเจ้าเป็นพุทธบุตร ที่เกิดมาเพื่อช่วยพัฒนาพระพุทธศาสนาของล้านนา”
    ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ คงจะไม่ปฏิเสธคำกล่าวนี้นะครับ และส่วนตัวผมคิดว่าครูบาศรีวิชัย ท่านเป็นพระนักพัฒนาที่ยอดเยี่ยม มีความสามารถในการสร้างขวัญและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้มมามีส่วนร่วมในการบูรณะพัฒนาปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน ถาวรวัตถุที่ชำรุดทรุดโทรม ซึ่งหากเอามาเขียนคาดว่าจะใช้เวลาหลายวันแหละครับ...
    แม้ครูบาศรีวิชัยท่านจะมรณภาพไปนานร่วม ๗๐ ปีแล้วก็ตามแต่ผลงานและความนิยมนับถือในตัวครูบาก็ยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย

    โพสต์เมื่อ 14th May 2013 โดย Yo Option
    ป้ายกำกับ: ครูบาศรีวิชัย


    สภาพสวยเก่าเก็บไม่ผ่านการบูชา พิมพ์คมชัดลึกเก่าเก็บไม่ได้ผ่านการบูชา พุทธคุณครอบครบทุกด้าน แบ่งให้บูชา 280 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)





    (คุณPeterbn จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2023
  13. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    451
    ค่าพลัง:
    +299
    ขอจองครับ
     
  14. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3468.มหากาพย์พิธีเหนือโลก นิมิตร อ.ไพศาล แสงไชย(๓) พระรอดปลอดภัย
    เจตนาสร้างบริสุทธิ์ ครูบาอินโท และพระสงฆ์จากเทวโลก อธิษฐานจิตมหาพิธี 9ราตรี

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    d0bsJyD.jpg

    kyclpk-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg kycc4q-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg kycuqs-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    พระรอดปลอดภัย(หลัง อ.) พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน วัดสันป่ายางหลวง จังหวัดลำพูน ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2532 เนื้อดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูนแต่โบราณกาลมาผสม ผงยา,ผงว่าน,มวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่างๆ ,ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดทำมวลสาร

    ประวัติพระรอด
    คนส่วนใหญ่มากเมื่อพูดถึงเมืองลำพูน มักจะเล่าสู่กันฟังถึงความวิจิตรสายงามของพระธาตุภุญชัย อันตั้งเด่นตระหง่านเป็นพันปี เท่าอายุของนครหริภุญชัยหรือลำพูน ในปัจจุบัน เช่น พระเจดีย์วัดจามเทวีและกู่บรรจุอัฎฐิพระแม่จามเทวี ปฐมกษัตริย์ของหริภุญชัย ตลอดจนพระวัดวาอารามต่างๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งล้วนแต่มีประวัติอันยาวนานคู่บ้านคุ่เมือง

    วัดที่รู้จักกันดีในบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เพราะเป็นที่บรรจุพระเครื่องสำคัญเป็นอันที่รู้จัก และเป็นที่นิยมกันทั่วไปนับได้ว่าเป็นลัญญสักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำพูน คือ วัดพระคงฤาษี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองลำพูน เป็นที่ประดิษฐานบรรจุพระคง หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าพระลำพูนดำ หรือ ลำพูนแดง แล้วแต่สีของพระ อีกวัดหนึ่งคือวัดมหาวัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองลำพูน เป็นวัดที่ประดิษฐานบรรจุพระเครื่องสำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้าง ทั้งคนในเมืองลำพูน และคนทุกภาคทุกจังหวัดของประเทศไทย ต่างก็พยายามเสาะแสวงหามาไว้บูชาพกพาติดตัวเพื่อพึ่งพลังอิทธิฤทธิ์ ให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งหลายทั้งปวงอันอาจจะประสบเข้ากับตนเอง และด้วยอำนาจพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณอันบรรจุไว้ในองค์พระรอดนี้ ได้ช่วยให้ผู้ที่บูชากราบไหว้อยู่เสมอ ให้แคล้วคลาดหลุดพ้นจากเหตุการณ์อันตรายได้โดยปลอดภัยราวกับปาฎิหาริย์ มานับครั้งไม่ถ้วน มีหลักฐานบุคคลที่ประสบเหตุการณ์พอที่จะสอบถามได้อยู่มาก

    เหตุที่พระรอดเป็นพระเครื่องที่ทรงไว้ ซึ่งอิทธิปาฎิหาริย์อันยิ่งใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพราะ
    1. ผู้สร้างพระรอด (รวมทั้งพระคง และพระลือ) สร้างขึ้นมาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง หวังให้บุคคลผู้มีไว้ครอบครอง และบูชาอยู่เป็นนิจ ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงที่จะมาเบียดเบียนชีวิต ทั้งนี้ โดยไม่หวังผลเป็นอามิสไดๆ ทั้งสิ้น
    2. นอกจะมีไว้เพื่อปกป้องประชาชนแล้ว ท่านผู้สร้าง ยังมุ่งหวังเพื่อจะให้คุ้มครองบ้านเมืองให้แคล้วคลาดปราศจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้นการสร้างก็อธิฐานไปในทางข่มศัตราวุธและอำนายให้เกิดความแคล้วคลาด (รายละเอียดการสร้างพระรอด โปรดหาอ่านได้จากหนังสือ)

    เหตุการณ์มหัศจรรย์
    ในระยะที่ทางคณะผู้จัดสร้างพระรอด กำลังดำเนินงานกันอยู่นี้ คุณไพศาล แสนไชย ผู้สามารถติดต่อกับเทวโลกได้ และนรกได้ ทำหน้าที่ทูตจากเทวโลกและนรกโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ได้นำข่าวจากเทวโลกมาแจ้งให้แก่พระอาจารย์อินทรว่า การสร้างพระรอดครั้งนี้ทางพระสงฆ์ที่อยู่บนเทวโลก ท่านก็ได้ทราบแล้วและทุกท่านที่ทราบ เช่น ท่านครูบาคัณธา คัณธาโล ครูบาสรีวิชัย หลวงพ่อโอภาสี ก็ขอร่วมอนุโมทนา ในเจตนารมณ์อันเป็นบุญเป็นกุศลนี้ และแจ้งด้วยว่าในวันพุทธาภิเกพระนั้น ทุกท่านก็จะลงมาร่วมด้วยพร้อมกับพระสงฆ์อีกหลายรูปที่อยู่บนเทวโลก ในโอกาสนี้ท่านครูบาคัณธา คัณธาโลก สั่งมาว่าขอหัยสาธุเจ้าอินทร ไปบอกกล่าวแก่เทวดาผู้รักษา ดอยไซและขอดินที่ดอยไซมาร่วมผสมทำพระรอดด้วย เพราะเทวดาท่านนี้ในอดีตสมัยพระนางจามเทวีท่านชื่อ ขุนเจ้าคำบุญ เคยร่วมสร้างพระรอดโดยเป็นเจ้าพิธีในการทำทุกขั้นตอน ส่วนท่านพญาพิงคราช ก็กำชับมาว่าอย่าลืมเอาว่านเพชรหลีกมาผสมด้วย จะทำให้พระรอดนี้มีอิทธิทางแคล้วคลาดหลีก พ้นจากอันตราย หลวงพ่อโอภาสี ได้ขอให้ครูบาคัณธา นำท่านไปพบกับหลวงปู่บุญ หรือพระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเมื่อยังทรงสังขารอยู่ในมนุษย์โลก แต่ขณะนี้ได้มาสถิตอยู่บนพรหมโลก ท่านมีความรู้เรื่องการสร้างพระเครื่องดีมากเมื่อพบกันแล้วโดยไม่ต้องแจ้งความจำนง หลวงปู่กล่าวออกมาทันทีที่คณะของครูบาคัณธา ไปถึงว่า

    เริ่มดำเนินงาน
    การดำเนินการสร้างพระรอดในครั้งนี้ พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน และบรรดาผู้ร่วมงานได้ตกลงจะจะปฏิบัติตามแบบฉบับเดิมของพระแม่เจ้าจามเทวีได้ปฏิบัติมา ซึ่งองค์พระแม่เจ้าได้เล่าเรื่องการสร้างพระรอด พระคง พระลือ อย่างละเอียดผ่านคุณไพศาล แสนไชย และได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเรื่อง
    การอธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้แก่แบบพิมพ์พระ
    แบบพิมพ์พระรอดนี้ ได้จ้างผู้ที่มีความรู้เรื่องพระรอดและเคยแกะต้นแบบพระรอดมาแล้วจนชำนาญ เป็นผู้แกะต้นแบบจัดทำพิมพ์พระให้แต่ก่อนที่จะนำแบบพิมพ์ทั้งหมดมาทำการพิมพ์พระ ท่านอาจารย์อินทร ได้นำเอาแบบพิมพ์เหล่านั้น ไปขอความเมตตาจากครูบาสังฆะที่มากด้วยพรรษา และเปี่ยมด้วยบารมีธรรมช่วยแผ่พลังจิตอธิษฐาน เพื่อให้พระรอดทุกองค์ที่กดออกจากแบบพิมพ์นั้น ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ ครูบาสังฆะที่พระอาจารย์อินทร ได้ไปขอความเมตตาจากพระคุณท่าน คือ
    1. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    2. ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาลุการาม (ป่าแงะ) อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
    3. ครูบาคำตั๋น อารามดอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    4. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอินทร) วัดฟ้าหลั่ง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้ฝากแบบพิมพ์ทั้งหมด ไว้กับท่านครูบาอิน อินโทเป็นเวลา5 วัน กับ 5 คืน เพื่อขอรับบารมีจากครูบา

    การกดพิมพ์พระ
    พระรอดวัดสันป่ายางหลวง ได้ฤกษ์ลงมือกดพิมพ์พระตามแบบโหราจารย์ภาคเหนือ ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 เหนือ ยามเช้า พระเณรในวัดสันป่ายางหลวงและคณะศรัธธาผู้ร่วมสร้างพระรอด ได้ช่วยกันนำวัตถุมงคลทุดอย่าง ที่ต้องใช้ในการกดพิมพ์พระรอด เช่น ดินผสม ผงยา และผงว่าน ที่จะนำมาคลุกดินอีกครั้งหนึ่งก่อนการกดพิมพ์พระรอด น้ำทิพย์ที่นำมาผสมดินให้อ่อนนิ่ม ทั้งหมดได้นำมารวมไว้กลางพระอุโบสถ แล้ววางรูปพระเกจิอาจารย์สำคัญๆ อันเป็นที่รู้จักและเคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไว้รอบๆ กองวัตถุมงคลนั้น เพื่ออธิษฐานของความเมตตาจากพระคุณท่าน ช่วยแผ่พลังบารมีมาปกป้องคุ้มครองพร้อมกับร่วมประจุพลังลงในวัตถุมงคลนั้นด้วย พระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวง อันมีพระอาจารย์อินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาสเป็นประธาน ได้ร่วมกันสวดชยันโต ประพรมน้ำทิพย์ซึ่งนำมาทำน้ำพระพุทธมนต์ลงไปตามวัตถุมงคลเสร็จแล้วจึงลงมือกดพิมพ์พระ โดยพระอาจารย์อินทร เริ่มประเดิมเป็นองค์แรกพิมพ์ละองค์ทุกๆ พิมพ์ การสร้างพระครั้งนี้ ท่านพระอาจารย์อินทร ได้ตั้งใจไว้ว่าจะทำให้ได้ แปดหมื่นสี่พันองค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ และเท่ากับจำนวนที่พระนางจามเทวีได้เคยสร้างไว้ครั้งแรก

    การอาบว่านยา
    การอาบว่านยาเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2532 ไปจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2533 รวมเวลา 9 วัน เริ่มด้วยพิธีการด้วยการเทศน์หนึ่งกันฑ์พระสงฑ์สวดชัยมงคลคาถา อุบาสกพิธีกรรมร่วมกับพระเณร ช่วยกันนำรพะลงอาบแช่น้ำว่านยา เป็นเวลาพอสมควร ให้เนื้อพระดูดซับเอาน้ำว่ายาไว้ แล้วนำขึ้นผึ่งบนแท่นที่ปูลาดด้วยผ้าเหลืองภายในปริมณฑล พระสงฑ์สวดชยันโตแล้วคลุมทับด้วยดอกไม้นานาชนิด ประพรมด้วยน้ำมนต์ น้ำอบน้ำหอม ทำพิธีเช่นนี้ติดต่อกันทุกเช้าเวลา 09.09 น. เป็นต้นไป จนถึงวันครบกำหนดคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 และในตอนกลางคืนทุกคืน ได้รวมพระรอดกองไว้แล้วพระสงฑ์ภายในวัด สวดชัยมงคลคาถาเป็นประจำจนเสร็จพิธีอาบว่านยา หลังจากนั้นวันสุดท้ายคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 ได้นำพระรอดทั้งหมดมาประพรมและคลุกด้วยน้ำมันมนต์ อันประกอบด้วยน้ำมันงา , น้ำมันจันทน์ , น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันมะกอก , น้ำมันละหุ่ง , น้ำมันหมื้อ , ชมด , ผงจันทร์เทศ , และกฤษณา น้ำมันนี้ได้เก็บไว้ในโบสถ์ และทำพิธีสวดด้วยธรรมจักร ทุกวันพระตลอดพรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งเนื้อพระดูดซับเอาน้ำมันมนต์ฉ่ำทั่วองค์พระแล้ว จึงนำออกผึ่งให้แห้ง พอพระรอดทั้งหมดแห้งพอดี ก็ลำเลียงเข้าสู่บริเวณพิธีที่จะทำพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไป

    การอธิฐานจิตแผ่เมตตา
    เมื่อขั้นตอนทั้งหลายผ่านพ้นไป และได้สำเร็จเป็นองค์พระตามที่ต้องการแล้ว พิธีสำคัญยิ่งคือพิธีพุทธาภิเษก หรือการอธิฐานจิตแผ่เมตตาประจุไว้ในองค์พระ สถานที่ประกอบพิธีกรรมภายในโบสถ์ วัดสันป่ายางหลวง ด้วยเห็นว่า โบสถ์นั้น เป็นสถานที่ของสงฑ์โดยเฉพาะการทำพิธีกรรมของสงฑ์ เช่น การอุปสมบท การปลงอาบัติ ฟังพระปาฏิโมกข์ ก็ทำได้เอาเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น ดังนั้น โบสถ์จึงเป็นสถานที่หมดจดสะอาดปราศจากสิ่งเลวร้ายและมลทิน

    การจัดสถานที่ได้จัดเอาบรรดาศาสตราวุธทุกชนิดเท่าที่จะจัดหาได้บางอย่างก็ต้องใช้ของสมมุติแทนสิ่งมีพิษทั้งหลาย เช่น บรรดายาพิษทั้งหลายที่ชาวบ้านใช้กัน สัตว์มีพิษ และดุร้าย เช่น งูพิษ ตะเข็บ ตะขาบ ฯลฯ เสือ สิงโต กระทิง ควายป่า ช้าง ฯลฯ สัตว์ร้ายเหล่านี้ต้องใช้ของประดิษฐ์แทนของจริง ของทั้งหมดจัดนำมาเพื่อข่มพิษร้ายโดยจัดวางไว้ใต้แท่นที่วางพระแล้วปูทับด้วยผ้าขาวโรยทับด้วยดอกไม้อันมีดอกพุธ ดอกมะลิ และดอกไม้หอมอื่นๆ อีกมาก หมายถึงการลดความเลวร้ายลงและเปลี่ยนจากร้ายให้กลายเป็นดีในที่สุด ชั้นบนเป็นชั้นที่จัดวางพระรอดที่จะนำมาเข้าพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ปูลาดด้วยผ้าขาวแล้วจึงวางเกลี่ยพระลงบนชั้นนั้น ประพรมด้วยน้ำอบ น้ำหอมจนทั่วกองพระ แล้วปูทับด้วยผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง ชั้นบนสุดก็โรยด้วยดอกไม้อันเป็นมงคล และมีกลิ่นหอม การโรยดอกไม้ชั้นนี้ ได้โรยทับขึ้นไปทุกคืน ตลอดระยะเวลา 9 คืน
    พิธีสำคัญนี้ได้ฤกษ์เริ่มพิธีในวันที่ 6 มกราคม 2533 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 เหนือ ไปจนถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. ไปจนถึงเที่ยงคืน หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ก็ยังคงเปิดโบสถ์จุดเทียนชัยไว้ แล้วกล่าว อัญเชิญเทพเทวาทั้งหลาย และพระสงฑ์จากพรหมโลก เทวโลก ขอให้มาร่วมแผ่เมตตาและอนุโมทนาในกองกุศลนี้ด้วย พิธีกรรมนี้ทำติดต่อกันไปรวมเวลาได้ 9 คืน ในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ ทางวัดได้นำพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 205 องค์ พระพุทธรูปใหญ่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูป ยืนปางห้ามมารสูง 4 ศอก 1 องค์ พระพุทธรูปปางประธานพรแบบอินเดีย ขนาดหน้าตักกว้าง 39 นิ้ว 2 องค์ เข้าร่วมพิธีด้วย พระเกจิอาจารย์หรือครูบาสังฆะ ที่นิมนต์มาร่วมในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ทั้งหมด 32 รูป ส่วนมากจะมีอายุ 70 พรรษาขึ้นไป และได้บำเพ็ญจิตภาวนาสั่งสมบารมีมาตลอด แม้บางองค์จะมีอายุพรรษาน้อยกว่านั้น แต่ก็เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และสั่งสมบุญบารมีด้วยการบำเพ็ญจิตเรื่อยๆมาไม่ขาดสาย นับได้ว่าเป็นบุญอย่างยิ่งของคณะผู้ดำเนินการสร้างพระ ที่ได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระคุณเจ้าทุกรูป บางองค์ แม้จะสูงอายุสังขารร่างกายก็ทรุดโทรมตามปกติไม่รับนิมนต์ที่ไหนไกลๆ แต่ก็ยินดีมาร่วมพิธีกรรมครั้งนี้โดยเฉพาะ

    รายนามพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา
    วันที่ 6 มกราคม 2533
    1. พระมหาเจติยารักษ์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แสดงธรรม “ไชยะสังคะหะ “ เริ่มพิธีกรรม
    2. ครูบาดวงจันทร์ จันวโร วัดป่าเส้า อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาปั๋นคำ วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน
    4. พระมหาบุญช่วย วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน

    วันที่ 7 มกราคม 2533
    1. ครูบาสิงห์แก้ว สิริวิชโย วัดป่าขาม อ.เมือง ลำพูน
    2. พระครูสุทธิธรรมสุนทร วัดบ้านหลุก อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาต่วน อริยวังโส วัดหนองปลาขอ อ.เมือง ลำพูน

    วันที่ 8 มกราคม 2533
    1. พระครูสังวรญาณ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดห้วยแทง อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
    3. พระครูศิรินันทคุณ วัดช้างค้ำ อ.ป่าซาง ลำพูน
    4. ครูบาซอน ธันมชโย วัดดอนหลวง อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 9 มกราคม 2533
    1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดปทุมสราราม อ.ป่าชาง ลำพูน
    3. ครุบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาสุจินดา สุมังคโส วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดประทุมสราราม อ.ป่าซาง ลำพูน
    3. ครูบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาสุจินดา สุมังคโล วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1. ครูสิงหวิชัย สิริวิชโย วัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง เชียงใหม่
    2. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาแสง วัดล้อมก่องข้าว อ.สันกำแพง เชียงใหม่
    4. พระครูพิทักษ์ปัจจันตเขต วัดพระชินธาตุดอยตุง อ.แม่สาย เชียงราย

    วันที่ 11 มกราคม 2533
    1. พระครูคันธวงศ์วิวัฒน์ วัดหนองผำ อ.ป่าซาง ลำพูน
    2. ครูบาสม โสภโน วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง ลำพูน
    3. ครูตุ่น ปัญญาวิลาโส วัดบ้านล้อง อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 12 มกราคม 2533
    1. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    2. พระครูศรียูรมงคล วัดทุ่งแป้ง อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    3. พระครูบวรสุขบท วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 13 มรกราคม 2533
    1. พระครูวรวุฒิคุณ วัดฟ้าหลั่ง อ.จอมทอง เชียงใหม่
    2. พระครูธรรมภาณี วัดดอยชัย อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    3. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่

    วันที่ 14 มกราคม 2533
    1. พระครูสุขบทบริหาร วัดห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร ลำปาง
    2. พระครูโถมมณียคุณ วัดบ้านเป้า อ.ห้างฉัตร ลำปาง
    3.พระครูรัตนาคม วัดพระธาตุเสด็จอ.เมือง ลำปาง
    4.พระครูรักขิตคุณ วัดม่อนพญาแช่ อ.เมือง ลำปาง
    นอกจากพระเถระที่นิมนต์มาแล้ว ทุกคืนพระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวงอันประกอบด้วย
    1.พระปลัดอินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาส
    2.พระมหาเจริญ ชุตินธโร
    3.พระอุทัย อภิญญาโณ
    4.พระชัยพร สิริปัญโญ
    5.พระคัชเชน โชติธัมโม
    ได้ร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา กับพระเถระเป็นประจำทุกคืน ตั้งแต่คืนเริ่มต้นจนถึงคืนสุดท้าย พระภิกษุรูปอื่นที่ไม่เข้าร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ก็เข้าไปสวดพระคาถาพุทธาภิเษก ร่วมกันกับสามเณร ตั้งแต่เริ่มพิธีจนจบพิธีกรรมทุกๆ คืน

    พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลกที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา ทุกคืน หลังจากพิธีกรรมทางมนุษย์โลกจบสิ้นแล้วเวลาตั้งแต่ 24.00 น.เป็นต้นไป ได้มีพระสงฆ์จากพรหมโลก เทวโลก มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไปอีก จนถึงเวลา 05.00
    พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลก ที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา พระรอดปลอดภัย

    วันที่ 6 มกราคม 2533
    1.ครูบาคัณธา คัณธาโล วัดเมืองสร้อย ตาก
    2.ครูบาศรีวิชัย วัดบ้างปาง ลี้ ลำพูน
    3.ครูบาบุญทา วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
    4.ครูบาอภัยสะระทะ วัดฝานหิน เชียงใหม่

    วันที่ 7 มกราคม 2533
    1.ครูบาอุปาละ วัดดอยเต (บ้านทา)ลำพูน
    2.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
    3.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
    4.หลวงปู่เขียว วัดหลงบน นครศรีธรรมราช

    วันที่ 8 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน อยุธยา
    2.หลวงพ่อปาน วัดคลองด่วน สมุทรปราการ
    3.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา
    4.หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบล

    วันที่ 9 มกราคม 2533
    1.สมเด็จลูน ประเทศลาว
    2.หลวงพ่อโอภาสี วัดบางมด
    3.หลวงปู่บุญ นครปฐม
    4.หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1.ครูบาสุริยะ วัดเท้าบุญเรือง เชียงใหม่
    2.ครูบาเถิ้ม วัดแสนฝาง เชียงใหม่
    3.ครูบาอินทรจักร วัดป่าลานห้วยยาบ ลำพูน
    4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน

    วันที่ 11 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    2.หลวงพ่อหมุน วัดเขาตะแคงตะวันตก พัทลุง
    3.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีน
    4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน

    วันที่ 12 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม
    2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    3.ครูบาอ้าย อินทรปัญโญ วัดสะปุ๋งน้อย (ป่าซาง) ลำพูน

    วันที่ 13 มกราคม 2533
    1.ครูบาดง ชวโน วัดดงเหนือ แพร่
    2.ครูบาแก้ว อินทรจักโก วัดเขื่อนคำลือ แพร่
    3.พระครูเนกขัมมะวิสุทธิ์ วัดดอนตัน น่าน
    4.ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน

    วันที่ 14 มกราคม 2533
    1.ครุบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่
    2.ครูบาคำแสน วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่
    3.หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง เชียงใหม่
    4.หลวงปู่ภู วัดอินทร์วิหาร กรุงเทพ

    พระมหาเถระที่มีชื่อประจำวันนี้ ท่านจะมาร่วมอธิฐานจิต ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 5โมงเช้า ตามรายการ นอกจากนี้ยังมีพระเถระอีกนับร้อยรูปจากพรหมโลก ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาร่วมอธิฐานจิต องค์ละประมาณ10-15 นาที แล้วกลับ ตลอดระยะเวลาพิธีอธิฐานจิต ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนวันสุดท้าย แต่ไม่อาจจะนำรายนามท่านมาลงได้ทั้งหมด เพราะมีจำนวนมากและบางองค์คุณไพศาล ก็ไม่รู้จัก
    ในคืนเริ่มต้นและคืนสุดท้ายของพิธีกรรม พระแม่เจ้าจามเทวี ได้เสด็จมาร่วมอนุโมทนา และแผ่เมตตาด้วยแต่อยู่ภายนอกโบสถ์ พระแม่เจ้าได้ตรัสกับไพศาลว่า พระรอดปลอดภัยนี้ดีเท่ากับพระรอดในสมัยที่แม่หม่อน(พระแม่จามเทวี)สร้างสามารถปราบแป๊ (ชนะ)ภูตผี เงือกหงอน ได้ด้วย ใครมีบูชาก็จะอยู่เย็นเป็นสุข จำเริญรุ่งเรือง แม่หม่อนขออนุโมทนากับผู้ใดก็ตามที่ได้ไว้บูชาทุกผู้ทุกคน ขอให้เคารพนบยำอย่าได้เหยียบย่ำข้ามกลายเป็นอันขาด(นี่คือคำยืนยันจากดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระนางจามเทวี)

    ในปีพุทธศักราช 2529 พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโน (พระครูปัญญาธรรมวัฒน์) ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุด ในปีนั้นท่านได้พิจารณาว่า ในงานฉลองอุโบสถหลังใหม่จะเอาอะไรเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมตลอดจน พุทธบริษัทที่ได้ร่วมกันสร้างพระอุโบสถ

    ในคืนวันหนึ่งท่านนั่งสมาธิและได้เห็นรูปพระรอดปรากฏขึ้นในนิมิตนั้น รุ่งเช้าหลังจากฉันภัตตาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านได้คำนึงถึงนิมิตนั้น ท่านได้พิจารณาว่า ถ้าสร้างพระรอดเลียนแบบของเก่าก็จะไม่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกทั้งจะกลายเป็นว่ารูปแบบซ้ำกันเหมือนเลียนแบบของเดิม ท่านจึงเอาสัญญาลักษณ์ อ. ซึ่งเป็นตัวอักขระสำคัญที่ทุกคนจะต้องใช้ตัว อ. นี้ รวมเข้าไปในชื่อของทุกคน คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ โอม ซึ่งเป็นอักขระนะโม มี 9 ตัว เท่ากับโลกุตระธรรมของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นชื่อของท่านด้วย พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโนจึงได้รวบรวมมวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่าง ๆ ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดรวมกันเพื่อทำผงพระรอด ผสมกับดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูนแต่โบราณกาลมา ได้สร้างพระรอดหลัง อ. ขึ้นจนสำเร็จและทำพิธีพุทธาภิเษก โดยได้นิมนต์พระสงฆ์คณาจารย์แห่งเมืองลำพูนมาทำพิธีพุทธาภิเษก เป็นเวลาหนึ่งเดือนกับเก้าวันเก้าคืน และได้แจกให้ญาติโยมในพิธีฉลองพระอุโบสถหลังใหม่

    หลังจากที่ญาติโยมได้รับแจกพระกันไปโดยทั่วถึงแล้ว เกิดปรากฏการณ์อภินิหารแก่ผู้ที่ได้รับแจกไป ดังนี้

    เรื่องที่หนึ่ง ตำรวจถูกยิง
    นายดาบตำรวจวิสูตร ประจำสถานีตำรวจภูธรแม่ทา จังหวัดลำพูน ถูกยิงด้านหลังขณะเข้าจับกุมยาบ้า หมดสติไป
    สองวัน ในวันที่สามจึงพื้นคืนสติเหมือนคนนอนหลับ ไม่ปรากฏแผลตามร่างกายแต่อย่างใด

    เรื่องที่สอง คนจะคลอดบุตร
    นางนภาภรณ์ บ้านกอม่วง อำเภอเมือง ลำพูน ตั้งครรภ์ เลยกำหนดคลอดมาเป็นเวลานานพอสมควร ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลแมคคอมิค ผลกาตรวจปรากฏว่าเด็กขวางลำตัว ขณะเตรียมตัวรอเจ้าห้องผ่าตัด แม่ของนางนภาภรณ์ได้ระลึกถึงพระรอดหลัง อ.ได้ เพราะได้ยินท่านอาจารย์พูดว่า ถ้าใครมีปัญหาอะไรที่สาหัส ให้เอาพระรอดตั้งสัจจะอธิษฐาน ทำน้ำพระพุทธมนต์ น้ำไปดื่ม กิน อาบ โดยเอาพระรอดแก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ มารดาของนางนภาภรณ์ก็ทำเช่นนั้น เพราะพระรอดได้ผ่านการอาบน้ำว่าน ๑๐๘ ชนิดและน้ำมันมนต์ผ่านการทำพิธีมาเรียบร้อยแล้ว แม่ของนางนภาภรณ์จึงนำน้ำมนต์นั้นมาให้นางนภาภรณ์ดื่ม กิน ลูบหัว ลูกหน้า ลูบท้องของนางนภาภรณ์ ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ว่า ลูกของนางนภาภรณ์คลอดออกมาอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด

    เรื่องที่สาม อุบัติเหตุรถชน
    นายสวัสดิ์ สันตติภัค คนบ้านพระคงฤาษี ในเมืองลำพูน อายุ ๖๐ ปีถูกรถกระบะชนกลางลำตัวขณะขับขี่จักรยานสองล้อตัดหน้ารถ เพราะไม่เห็นรถกระบะด้วยสายตาไม่ดี รถกระบะชนเต็มที่ ปรากฏว่า ขาหัก ๓ ท่อน โดยไม่มีบาดแผลอื่นใด หมดสติ ไปรู้สึกตัวที่โรงพยาบาล พอรู้สึกตัวก็คลำหาพระรอดหลังอ. ยกมือท่วมหัวพรางนึกในใจว่า รอดตายพระบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังโดนรถมอเตอร์ไซด์ชนอีก ๒ ครั้ง แต่ก็รอดมาได้โดยไม่เป็นอะไร

    เรื่องที่สี่ พระรอดช่วยคนฟันปลอมติดคอ
    นายบุญชื่น บ้านต้นเหียว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ รับประทานอาหารเสร็จในวันหนึ่งแล้วลุกมาบ้วนปาก ขณะกรั้วคอล้างปาก ฟันปลอมที่ใส่อยู่ประจำเกิดหลุดออกจากเหงือกที่ยึดอยู่ แล้วไหลลงไปติดอยู่ที่หลอดลม เจ็บปวดสุดแสนสาหัส ทำอย่างไรก็ไม่อาจสามารถเอาออกมาได้ ภรรยาจึงนำส่งโรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่ แพทย์ได้ทำการ x - ray ผลปรากฏว่าฟันปลอมไปติดค้างอยู่ที่หลอดลม หมอลงความเห็นว่าต้องผ่าตัดลำคอเพื่อเอาฟันปลอมออกมา ในขณะที่กำลังรอการผ่าตัด นายบุญชื่นได้รับความทรมานอย่างสุดแสนสาหัส จึงลงความเห็นให้ผ่าตัดด่วน ขณะที่รอหมอภรรยานายบุญชื่นซึ่งแขวนพระรอดหลังอ.ไว้ นึกขึ้นมาได้ จึงเดินไปเอาน้ำจากที่ดื่มน้ำบริการของโรงพยาบาลมหาราช แล้วนำพระรอดหลังอ. มาอธิษฐานว่า “ถ้าพระรอดแน่จริง ศักดิ์สิทธิ์จริง ของให้ฟันปลอมของนายบุญชื่นหลุดออกมาโดยปาฏิหารย์” ภรรยาจึงนำพระรอดหลังอ.แก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ แล้วให้นายบุญชื่นอธิษฐานดื่ม ประมาณครู่หนึ่งหลังจากที่นายบุญชื่อดื่มน้ำเข้าไปแล้ว มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียรอย่างรุนแรง นายบุญชื่นจึงเดินไปที่ถังขยะ ด้วยความทุรนทุรายแล้วอาเจียรออกมาอย่างหนัก ปรากฏว่า ฟันปลอมได้หลุดมากับการอาเจียรในครั้งนั้นโดยอัศจรรย์ นายบุญชื่นได้หยิบเอาฟันปลอมมาทั้งน้ำหูน้ำตา แล้วนำออกมาเพ่งดู ขณะนั้นพอดีกับพยาบาลเรียกให้ไปเข้าห้องผ่าตัด นายบุญชื่นจึงเดินไปหาพร้อมกับยื่นฟันปลอมให้พยาบาลที่จะนำเข้าห้องผ่าตัดดู แล้วบอกว่า “ผมไม่ผ่าแล้ว ฟันผมหลุดออกมาแล้ว” พยาบาลมองดูดด้วยความงุนงงว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? จึงถามนายบุญชื่นว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? ภรรยาจึงเล่าเรื่องเอาพระรอดหลังอ.ทำน้ำมนต์ให้พยาบาลฟัง เรื่องนี้เป็นที่ฮือฮาและเล่าขานกันมากในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

    เรื่องที่ห้า ตำรวจได้ลาภ
    รตต.รัตน์ บุญชู ประจำกองกำกับการตำรวจภูธร จว.ลำพูน เป็นผู้มีความศรัทธาในตัวพระอาจารย์อินทรเป็นอย่างยิ่ง ตอนพักกลางวันของทุกวัน หลังจากรับประทานอาหารแล้วก็จะมาไหว้พระสวดมนต์ แล้วนั่งสมาธิภาวนาเป็นประจำทุกวัน วันหนึ่ง ได้ยินกิตติศัพท์พระรอดหลังอ. จึงมาขอต่อท่านอาจารย์ ไป ๑ องค์ จึงนำไปใส่กรอบติดตัว ในขณะที่รับพระไปนั้น ตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ขอให้ได้เลื่อนยศภายในเร็ววัน ต่อมาอีก๒ อาทิตย์ รตต.รัตน์ ได้มาที่วัดเพื่อถวายสังฆทาน แล้วบอกท่านอาจารย์ว่า “ ใครว่าพระรอดหลังอ. รอดจากจากโชคจากลาภ ผมไม่เชื่อเด็ดขาด ท่านอาจารย์ครับ วันนี้ผมได้เลื่อนเป็นรตท.แล้วครับ”

    เรื่องที่หก พระธาตุเสด็จอยู่ในกรอบพระรอด
    นายถวิล ท้าวรอม (ร้านถวิลท้าวรอม) บ้านป่าซาง ได้มาช่วยกดพิมพ์พระรอดหลัง อ. ได้นำพระรอดหลังอ.ที่พระอาจารย์อินทรเป็นผู้กดเอง ใส่กรอบแขวนติดตัวไว้ อุปนิสัยของนายถวิลเป็นใจบุญสุนทานหมั่นปฏิบัติภาวนาเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นไม่นาน พระธาตุได้เสด็จมาอยู่ในกรอบกับองค์พระรอดหลังอ. เป็นที่น่าอัศจรรย์ (เมื่อมองดูจะเห็นแต่เศียรพระรอดหลังอ. ส่วนองค์พระมองไม่เห็น เห็นแต่พระธาตุ)

    เรื่องที่เจ็ด แสงเลเซอร์ยิงไม่เข้า
    คุณวิภา องค์มหัสมงคล ผู้พิพากษาศาลสมทบจังหวัดนนทบุรี ได้บูชาพระรอดหลังอ.ทองคำไป ๑ องค์ วันหนึ่งได้ไปที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจรักษาต้อกระจก หมอนัดวันให้มาทำการรักษา เมื่อถึงวันนัดก่อนออกจากบ้าน คุณวิภาได้ยกพระขึ้นจบพร้อมกับอธิฐานขอบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง อย่าได้มีอันตรายใดใดต่อดวงตาเลย ที่โรงพยาบาล หมอทำการรักษาโดยการยิงแสงเลเซ่อร์เพื่อรักษาต้อกระจก พอเริ่มทำการรักษา หมอยิงเลเซ่อร์ ๒ - ๓ ครั้ง ปรากฏว่าเครื่องยิงหยุดการทำงาน เป็นที่อัศจรรย์ หมอได้ตรวจสอบเครื่องยิ่งเลเซ่อร์ก็ไม่พบสิ่งผิดปรกติแต่อย่างใด
    หมอจึงถามคุณวิภาว่า “คุณแขวนพระอะไรไว้?”
    คุณวิภาตอบว่า “แขวนพระรอดหลังอ. และได้อธิษฐานก่อนออกจากบ้านมาพบหมอ” สร้างความงุนงงให้กับวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอย่างยิ่ง!!

    เรื่องที่แปด รถชนที่มาเลเซีย
    มิสเตอร์กูบูเซ็ง เจ้าของบริษัท ประเทศมาเลเซีย ได้ส่งจดหมายเป็นภาษาอังกฤษถึงท่านอาจารย์อินทรว่า มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งไปออกกำลังกายตอนเช้าที่ Park หลังจากเสร็จกิจกรรมแล้วได้ขี่จักรยานสองล้อเพื่อเดินทางกลับบ้าน ขณะเดินทางกลับบ้านถูกรถยนต์ชนอย่างแรง ด้วยแรงกระแทก มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งกระเด็นไปไกลหลายตลบเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งจึงให้มิสเตอร์เซ็งเขียนจดหมายเล่าเรื่องประสบการณ์เหลือเชื่อให้ทางวัดสันป่ายางหลวงได้ทราบ พร้อมทั้งขอบคุณบารมีพระรอดหลังอ. ที่ช่วยให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

    ปาฏิหารณ์ที่เกิดจากมีมากมายหลายเรื่องหลายประการจนไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด ผู้ที่นำไปบูชาแล้วเท่านั้นจึงได้พบความอัศจรรย์และปาฏิหารย์ต่าง ๆ ของพระรอดหลัง อ

    ข้อความทั้งหมดนี้คัดลอกมาจากหนังสือ แม่หม่อนเล่าและย้อนอดีตวัดสันป่ายางหลวง จากนิมิตของคุณ ไพศาล แสนไชย เรียบเรียงโดย คุณ ประสิทธิ์ เพชรรักษ์ ทั้งหมด
    ....เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูบให้ทุกท่านได้ทราบถึงพระรอดซึ่งทรงคุณค่าและได้รับการรับรองจากดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่จามเทวี(แม่หม่อนหรือคุณทวด)ว่ามีคุณเปรียบดังพระรอดที่ท่านได้สร้างไว้เมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้วครับ


    สภาพสวยผิวหิ้งเดิมเก่าเก็บ พุทธคุณหายห่วง นี้แหละครับของดีราคาเยาว์ เนื้อดีพิมพ์ดีของท่านที่ทุกคนสามารถมีไว้ในครอบครองได้ แบ่งให้บูชา 345 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)






    (คุณจินดา จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2023
  15. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,993
    ค่าพลัง:
    +6,894
    ขอจองครับ
     
  16. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371



    -jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  17. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3469.มหาลาภกันภัย ร่ำรวยรุ่งเรือง ประจุพลังโดยพระคณาจารย์ 16โสฬส
    พระกริ่งเศรษฐีนวโกฏิ รุ่นรวยล้นฟ้า วัดหน้าพระเมรุฯ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    dwhv28v-jpg.jpg
    พระกริ่งเศรษฐีนวโกฏิ รุ่นรวยล้นฟ้า วัดหน้าพระเมรุฯ จังหวัดอยุธยา เนื้อผสม ตอกนัมเบอร์ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2551

    อานิสงส์การบูชา
    เชื่อว่าจะอำนวยลาภผลโภคทรัพย์ตามสมควร ปกปักรักษาให้บ้านเรือนร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง และป้องกันภยันตรายสิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ ปัจจุบันมีอยู่น้อยมากที่จะสร้างได้อย่างถูกต้องตามตำราดั้งเดิม.

    พระคาถาบูชาพระ ว่าดังนี้
    ตั้งนะโมฯ 3 จบ
    มาขะโย มาวะโย มัยหัง มาจะโกจิ อุปัททะโว ธัญญะ ธารานิ ปะวัสสันตุ
    ธนัญชัย ยัสสะ ยะถาคะเร สุวัณณานิ หิรัญญาจะ สัพพะโภคา จะ รัตตะนา
    ปะวัสสันตุ เม เอวังคะเร สุมะนะ ชะฎิสัสสะ จะ อะนาถะบิณฑิกะ เมทะ กัสสะ
    โชติกะ สุมังคะ สัสสะ จะ มัณฑาตุ เวสสันตะ รัสสะ ปะวัสสันติ ยะถาคะเร
    เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ สัพพะ สิทธิ ภะวัน ตุ เม


    พิธีพุธาภิเษก
    พิธียิ่งใหญ่ บวงสรวง ณ ลานวัดหน้าพระเมรุฯ โดย พระครูโกศลธรรมโสภิต ( พระอาจารย์ อ๊ออด) วัดหน้าพระเมรุฯ เป็นประธาน ในพิธี เวลา 10.09 น วันที่ 10 สิงหาคม 2551 พิธีมหา เทวาภิเษก ณ พระอุโบสถวันหน้าพระเมรุฯ

    รายนามพระคณาจารย์ 16 องค์ ดังนี้
    ( เลข 16 คือเลข โสฬส ความร่ำรวยการมีทรัพย์หาทรัพย์ได้โดยง่าย)

    1.พระครูโกศลธรรมโสภิต วัดหน้าพระเมรุ
    2.หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    3.หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
    4.หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้
    5.หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    6.หลวงพ่อผาด วัดไร่
    7.หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    8.หลวงพ่อรวย วัดตะโก
    9.หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน
    10.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
    11.หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก
    12.หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    13.หลวงพ่อเสาร์ วัดดอนหญ้านาง
    14.หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน
    15.หลวงพ่อผล วัดอินทราราม
    16.หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง


    พระเศรษฐีนวโกฏิ…กับความลี้ลับทางลาภสักการะ!!!
    ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ ครั้งพุทธกาลมีมหาเศรษฐีที่มีเงินมีทอง มีทรัพย์สมบัตินับร้อยๆโกฏิ อยู่หลายท่าน แต่มีอยู่ ๙ ท่าน ที่ปราวนาตัวเป็นโยมอุปฐากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาเศรษฐีทั้ง ๙ ท่าน... เสียสละทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาล ส่งเสริมพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะสละเงินทำบุญมากมายเท่าใด เงินทองก็ไหลมาเทมาตอบแทนอย่างทันตาเห็น เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานและท่านอัครมหาเศรษฐีสิ้นบุญ ปราชญ์โบราณนึกถึงพระคุณของท่านเหล่านี้จึงได้ประชุมเห็นพ้องกัน... จัดสร้างรูปที่ระลึกของพวกท่านไว้
    ครั้งใดที่เจริญพระพุทธมนต์ กราบไหว้บูชาพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ก็ขอให้นึกถึงอัครมหาเศรษฐีทั้ง ๙ ท่านนี้ด้วย เพื่อที่จะมิให้หลงลืม จึงพิจารณาสร้างพระพุทธรูปให้มี ๙ พระพักตรอยู่ในองค์เดียวกัน แต่ละพระพักตร ก็คือพระพักตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงแต่ เพื่อให้รำลึกถึง มหาอุบาสก,อุบาสิกา ทั้ง ๙ ท่าน จึงสร้างพระพักตรให้มี ๙ หน้าเรียก พระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ”
    สมัยท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคณูปรมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ท่านได้สร้างพระมหาเศรษฐีนวโกฏิจากไม้มงคลต่างๆ ๙ ชนิด พร้อมกับรจนาคำสวดบูชาไว้ด้วยเรียกว่าพระคาถามหาเศรษฐีนวโกฏิ
    ....วันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งเป็นวันกำเนิดของพระมหาเศรษฐีนวโกฏิ ที่ครูบาอาจารย์รุ่นเก่าสร้างไว้ ถ้าท่านจะทำพิธีบวงสรวงบูชาก็จะทำให้ชีวิตครอบครัวและบริวารอยู่เย็นเป็นสุขเจริญก้าวหน้า ค้าขายดีขึ้น เงินทองไหลมาเทมาดังหยาดฝน ลงมาให้บ้านเรือนของท่าน ควรจะเริ่มที่บวงสรวงโดยจัดของตามตำราดั่งเดิม อย่างน้อยดังนี้
    ๑. ดอกไม้ขาว ๙ กระทง (อาทิ ดอกมะลิ)
    ๒. ข้าวตอก ๙ กระทง
    ๓. อาหารคาว ๙ อย่าง
    ๔. อาหารหวาน ๙ อย่าง
    ๕. ธูป ๙ ดอกจุดบูชา
    ๖. เทียนขาว ๙ เล่มจุดบูชา
    ๗. นิมนต์พระมหาเศรษฐีนวโกฏิลงสรงน้ำ
    ๘. แล้วสวดบูชาด้วยพระคาถามหาเศรษฐี ๙ จบ
    ๙. อธิษฐานขอให้เป็นน้ำพุทธมนต์ อาบกิน ปะพรมบ้านเรือน, ร้านค้า, และบริวารทั้ง ๙ ครั้ง ... จะอยู่เย็นเป็นสุขทั้งปีแล


    สภาพสวยเก่าเก็บผิวหิ้ง พิมพ์คมชัดลึก พุทธศิลป์สวยงาม พุทธคุณ อำนวยลาภผลโภคทรัพย์ตามสมควร ปกปักรักษาให้บ้านเรือนร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง และป้องกันภยันตรายสิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ แลสิริมงคลสูงสุด แบ่งให้บูชา 456 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)






    (คุณmax239 จองแล้วครับ)






    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2023
  18. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3470.มหากาพย์พิธีเหนือโลก นิมิตร อ.ไพศาล แสงไชย(๔) พระรอดปลอดภัย
    เจตนาสร้างบริสุทธิ์ ครูบาอินโท และพระสงฆ์จากเทวโลก อธิษฐานจิตมหาพิธี 9ราตรี

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    d0jKODD.jpg

    kyclpk-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg kycc4q-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg kycuqs-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    พระรอดปลอดภัย(หลัง อ.) พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน วัดสันป่ายางหลวง จังหวัดลำพูน ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2532 เนื้อดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูนแต่โบราณกาลมาผสม ผงยา,ผงว่าน,มวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่างๆ ,ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดทำมวลสาร

    ประวัติพระรอด
    คนส่วนใหญ่มากเมื่อพูดถึงเมืองลำพูน มักจะเล่าสู่กันฟังถึงความวิจิตรสายงามของพระธาตุภุญชัย อันตั้งเด่นตระหง่านเป็นพันปี เท่าอายุของนครหริภุญชัยหรือลำพูน ในปัจจุบัน เช่น พระเจดีย์วัดจามเทวีและกู่บรรจุอัฎฐิพระแม่จามเทวี ปฐมกษัตริย์ของหริภุญชัย ตลอดจนพระวัดวาอารามต่างๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งล้วนแต่มีประวัติอันยาวนานคู่บ้านคุ่เมือง

    วัดที่รู้จักกันดีในบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เพราะเป็นที่บรรจุพระเครื่องสำคัญเป็นอันที่รู้จัก และเป็นที่นิยมกันทั่วไปนับได้ว่าเป็นลัญญสักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำพูน คือ วัดพระคงฤาษี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองลำพูน เป็นที่ประดิษฐานบรรจุพระคง หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าพระลำพูนดำ หรือ ลำพูนแดง แล้วแต่สีของพระ อีกวัดหนึ่งคือวัดมหาวัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองลำพูน เป็นวัดที่ประดิษฐานบรรจุพระเครื่องสำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้าง ทั้งคนในเมืองลำพูน และคนทุกภาคทุกจังหวัดของประเทศไทย ต่างก็พยายามเสาะแสวงหามาไว้บูชาพกพาติดตัวเพื่อพึ่งพลังอิทธิฤทธิ์ ให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งหลายทั้งปวงอันอาจจะประสบเข้ากับตนเอง และด้วยอำนาจพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณอันบรรจุไว้ในองค์พระรอดนี้ ได้ช่วยให้ผู้ที่บูชากราบไหว้อยู่เสมอ ให้แคล้วคลาดหลุดพ้นจากเหตุการณ์อันตรายได้โดยปลอดภัยราวกับปาฎิหาริย์ มานับครั้งไม่ถ้วน มีหลักฐานบุคคลที่ประสบเหตุการณ์พอที่จะสอบถามได้อยู่มาก

    เหตุที่พระรอดเป็นพระเครื่องที่ทรงไว้ ซึ่งอิทธิปาฎิหาริย์อันยิ่งใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพราะ
    1. ผู้สร้างพระรอด (รวมทั้งพระคง และพระลือ) สร้างขึ้นมาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง หวังให้บุคคลผู้มีไว้ครอบครอง และบูชาอยู่เป็นนิจ ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงที่จะมาเบียดเบียนชีวิต ทั้งนี้ โดยไม่หวังผลเป็นอามิสไดๆ ทั้งสิ้น
    2. นอกจะมีไว้เพื่อปกป้องประชาชนแล้ว ท่านผู้สร้าง ยังมุ่งหวังเพื่อจะให้คุ้มครองบ้านเมืองให้แคล้วคลาดปราศจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้นการสร้างก็อธิฐานไปในทางข่มศัตราวุธและอำนายให้เกิดความแคล้วคลาด (รายละเอียดการสร้างพระรอด โปรดหาอ่านได้จากหนังสือ)

    เหตุการณ์มหัศจรรย์
    ในระยะที่ทางคณะผู้จัดสร้างพระรอด กำลังดำเนินงานกันอยู่นี้ คุณไพศาล แสนไชย ผู้สามารถติดต่อกับเทวโลกได้ และนรกได้ ทำหน้าที่ทูตจากเทวโลกและนรกโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ได้นำข่าวจากเทวโลกมาแจ้งให้แก่พระอาจารย์อินทรว่า การสร้างพระรอดครั้งนี้ทางพระสงฆ์ที่อยู่บนเทวโลก ท่านก็ได้ทราบแล้วและทุกท่านที่ทราบ เช่น ท่านครูบาคัณธา คัณธาโล ครูบาสรีวิชัย หลวงพ่อโอภาสี ก็ขอร่วมอนุโมทนา ในเจตนารมณ์อันเป็นบุญเป็นกุศลนี้ และแจ้งด้วยว่าในวันพุทธาภิเกพระนั้น ทุกท่านก็จะลงมาร่วมด้วยพร้อมกับพระสงฆ์อีกหลายรูปที่อยู่บนเทวโลก ในโอกาสนี้ท่านครูบาคัณธา คัณธาโลก สั่งมาว่าขอหัยสาธุเจ้าอินทร ไปบอกกล่าวแก่เทวดาผู้รักษา ดอยไซและขอดินที่ดอยไซมาร่วมผสมทำพระรอดด้วย เพราะเทวดาท่านนี้ในอดีตสมัยพระนางจามเทวีท่านชื่อ ขุนเจ้าคำบุญ เคยร่วมสร้างพระรอดโดยเป็นเจ้าพิธีในการทำทุกขั้นตอน ส่วนท่านพญาพิงคราช ก็กำชับมาว่าอย่าลืมเอาว่านเพชรหลีกมาผสมด้วย จะทำให้พระรอดนี้มีอิทธิทางแคล้วคลาดหลีก พ้นจากอันตราย หลวงพ่อโอภาสี ได้ขอให้ครูบาคัณธา นำท่านไปพบกับหลวงปู่บุญ หรือพระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเมื่อยังทรงสังขารอยู่ในมนุษย์โลก แต่ขณะนี้ได้มาสถิตอยู่บนพรหมโลก ท่านมีความรู้เรื่องการสร้างพระเครื่องดีมากเมื่อพบกันแล้วโดยไม่ต้องแจ้งความจำนง หลวงปู่กล่าวออกมาทันทีที่คณะของครูบาคัณธา ไปถึงว่า

    เริ่มดำเนินงาน
    การดำเนินการสร้างพระรอดในครั้งนี้ พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน และบรรดาผู้ร่วมงานได้ตกลงจะจะปฏิบัติตามแบบฉบับเดิมของพระแม่เจ้าจามเทวีได้ปฏิบัติมา ซึ่งองค์พระแม่เจ้าได้เล่าเรื่องการสร้างพระรอด พระคง พระลือ อย่างละเอียดผ่านคุณไพศาล แสนไชย และได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเรื่อง
    การอธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้แก่แบบพิมพ์พระ
    แบบพิมพ์พระรอดนี้ ได้จ้างผู้ที่มีความรู้เรื่องพระรอดและเคยแกะต้นแบบพระรอดมาแล้วจนชำนาญ เป็นผู้แกะต้นแบบจัดทำพิมพ์พระให้แต่ก่อนที่จะนำแบบพิมพ์ทั้งหมดมาทำการพิมพ์พระ ท่านอาจารย์อินทร ได้นำเอาแบบพิมพ์เหล่านั้น ไปขอความเมตตาจากครูบาสังฆะที่มากด้วยพรรษา และเปี่ยมด้วยบารมีธรรมช่วยแผ่พลังจิตอธิษฐาน เพื่อให้พระรอดทุกองค์ที่กดออกจากแบบพิมพ์นั้น ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ ครูบาสังฆะที่พระอาจารย์อินทร ได้ไปขอความเมตตาจากพระคุณท่าน คือ
    1. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    2. ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาลุการาม (ป่าแงะ) อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
    3. ครูบาคำตั๋น อารามดอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    4. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอินทร) วัดฟ้าหลั่ง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้ฝากแบบพิมพ์ทั้งหมด ไว้กับท่านครูบาอิน อินโทเป็นเวลา5 วัน กับ 5 คืน เพื่อขอรับบารมีจากครูบา

    การกดพิมพ์พระ
    พระรอดวัดสันป่ายางหลวง ได้ฤกษ์ลงมือกดพิมพ์พระตามแบบโหราจารย์ภาคเหนือ ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 เหนือ ยามเช้า พระเณรในวัดสันป่ายางหลวงและคณะศรัธธาผู้ร่วมสร้างพระรอด ได้ช่วยกันนำวัตถุมงคลทุดอย่าง ที่ต้องใช้ในการกดพิมพ์พระรอด เช่น ดินผสม ผงยา และผงว่าน ที่จะนำมาคลุกดินอีกครั้งหนึ่งก่อนการกดพิมพ์พระรอด น้ำทิพย์ที่นำมาผสมดินให้อ่อนนิ่ม ทั้งหมดได้นำมารวมไว้กลางพระอุโบสถ แล้ววางรูปพระเกจิอาจารย์สำคัญๆ อันเป็นที่รู้จักและเคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไว้รอบๆ กองวัตถุมงคลนั้น เพื่ออธิษฐานของความเมตตาจากพระคุณท่าน ช่วยแผ่พลังบารมีมาปกป้องคุ้มครองพร้อมกับร่วมประจุพลังลงในวัตถุมงคลนั้นด้วย พระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวง อันมีพระอาจารย์อินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาสเป็นประธาน ได้ร่วมกันสวดชยันโต ประพรมน้ำทิพย์ซึ่งนำมาทำน้ำพระพุทธมนต์ลงไปตามวัตถุมงคลเสร็จแล้วจึงลงมือกดพิมพ์พระ โดยพระอาจารย์อินทร เริ่มประเดิมเป็นองค์แรกพิมพ์ละองค์ทุกๆ พิมพ์ การสร้างพระครั้งนี้ ท่านพระอาจารย์อินทร ได้ตั้งใจไว้ว่าจะทำให้ได้ แปดหมื่นสี่พันองค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ และเท่ากับจำนวนที่พระนางจามเทวีได้เคยสร้างไว้ครั้งแรก

    การอาบว่านยา
    การอาบว่านยาเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2532 ไปจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2533 รวมเวลา 9 วัน เริ่มด้วยพิธีการด้วยการเทศน์หนึ่งกันฑ์พระสงฑ์สวดชัยมงคลคาถา อุบาสกพิธีกรรมร่วมกับพระเณร ช่วยกันนำรพะลงอาบแช่น้ำว่านยา เป็นเวลาพอสมควร ให้เนื้อพระดูดซับเอาน้ำว่ายาไว้ แล้วนำขึ้นผึ่งบนแท่นที่ปูลาดด้วยผ้าเหลืองภายในปริมณฑล พระสงฑ์สวดชยันโตแล้วคลุมทับด้วยดอกไม้นานาชนิด ประพรมด้วยน้ำมนต์ น้ำอบน้ำหอม ทำพิธีเช่นนี้ติดต่อกันทุกเช้าเวลา 09.09 น. เป็นต้นไป จนถึงวันครบกำหนดคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 และในตอนกลางคืนทุกคืน ได้รวมพระรอดกองไว้แล้วพระสงฑ์ภายในวัด สวดชัยมงคลคาถาเป็นประจำจนเสร็จพิธีอาบว่านยา หลังจากนั้นวันสุดท้ายคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 ได้นำพระรอดทั้งหมดมาประพรมและคลุกด้วยน้ำมันมนต์ อันประกอบด้วยน้ำมันงา , น้ำมันจันทน์ , น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันมะกอก , น้ำมันละหุ่ง , น้ำมันหมื้อ , ชมด , ผงจันทร์เทศ , และกฤษณา น้ำมันนี้ได้เก็บไว้ในโบสถ์ และทำพิธีสวดด้วยธรรมจักร ทุกวันพระตลอดพรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งเนื้อพระดูดซับเอาน้ำมันมนต์ฉ่ำทั่วองค์พระแล้ว จึงนำออกผึ่งให้แห้ง พอพระรอดทั้งหมดแห้งพอดี ก็ลำเลียงเข้าสู่บริเวณพิธีที่จะทำพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไป

    การอธิฐานจิตแผ่เมตตา
    เมื่อขั้นตอนทั้งหลายผ่านพ้นไป และได้สำเร็จเป็นองค์พระตามที่ต้องการแล้ว พิธีสำคัญยิ่งคือพิธีพุทธาภิเษก หรือการอธิฐานจิตแผ่เมตตาประจุไว้ในองค์พระ สถานที่ประกอบพิธีกรรมภายในโบสถ์ วัดสันป่ายางหลวง ด้วยเห็นว่า โบสถ์นั้น เป็นสถานที่ของสงฑ์โดยเฉพาะการทำพิธีกรรมของสงฑ์ เช่น การอุปสมบท การปลงอาบัติ ฟังพระปาฏิโมกข์ ก็ทำได้เอาเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น ดังนั้น โบสถ์จึงเป็นสถานที่หมดจดสะอาดปราศจากสิ่งเลวร้ายและมลทิน

    การจัดสถานที่ได้จัดเอาบรรดาศาสตราวุธทุกชนิดเท่าที่จะจัดหาได้บางอย่างก็ต้องใช้ของสมมุติแทนสิ่งมีพิษทั้งหลาย เช่น บรรดายาพิษทั้งหลายที่ชาวบ้านใช้กัน สัตว์มีพิษ และดุร้าย เช่น งูพิษ ตะเข็บ ตะขาบ ฯลฯ เสือ สิงโต กระทิง ควายป่า ช้าง ฯลฯ สัตว์ร้ายเหล่านี้ต้องใช้ของประดิษฐ์แทนของจริง ของทั้งหมดจัดนำมาเพื่อข่มพิษร้ายโดยจัดวางไว้ใต้แท่นที่วางพระแล้วปูทับด้วยผ้าขาวโรยทับด้วยดอกไม้อันมีดอกพุธ ดอกมะลิ และดอกไม้หอมอื่นๆ อีกมาก หมายถึงการลดความเลวร้ายลงและเปลี่ยนจากร้ายให้กลายเป็นดีในที่สุด ชั้นบนเป็นชั้นที่จัดวางพระรอดที่จะนำมาเข้าพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ปูลาดด้วยผ้าขาวแล้วจึงวางเกลี่ยพระลงบนชั้นนั้น ประพรมด้วยน้ำอบ น้ำหอมจนทั่วกองพระ แล้วปูทับด้วยผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง ชั้นบนสุดก็โรยด้วยดอกไม้อันเป็นมงคล และมีกลิ่นหอม การโรยดอกไม้ชั้นนี้ ได้โรยทับขึ้นไปทุกคืน ตลอดระยะเวลา 9 คืน
    พิธีสำคัญนี้ได้ฤกษ์เริ่มพิธีในวันที่ 6 มกราคม 2533 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 เหนือ ไปจนถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. ไปจนถึงเที่ยงคืน หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ก็ยังคงเปิดโบสถ์จุดเทียนชัยไว้ แล้วกล่าว อัญเชิญเทพเทวาทั้งหลาย และพระสงฑ์จากพรหมโลก เทวโลก ขอให้มาร่วมแผ่เมตตาและอนุโมทนาในกองกุศลนี้ด้วย พิธีกรรมนี้ทำติดต่อกันไปรวมเวลาได้ 9 คืน ในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ ทางวัดได้นำพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 205 องค์ พระพุทธรูปใหญ่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูป ยืนปางห้ามมารสูง 4 ศอก 1 องค์ พระพุทธรูปปางประธานพรแบบอินเดีย ขนาดหน้าตักกว้าง 39 นิ้ว 2 องค์ เข้าร่วมพิธีด้วย พระเกจิอาจารย์หรือครูบาสังฆะ ที่นิมนต์มาร่วมในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ทั้งหมด 32 รูป ส่วนมากจะมีอายุ 70 พรรษาขึ้นไป และได้บำเพ็ญจิตภาวนาสั่งสมบารมีมาตลอด แม้บางองค์จะมีอายุพรรษาน้อยกว่านั้น แต่ก็เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และสั่งสมบุญบารมีด้วยการบำเพ็ญจิตเรื่อยๆมาไม่ขาดสาย นับได้ว่าเป็นบุญอย่างยิ่งของคณะผู้ดำเนินการสร้างพระ ที่ได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระคุณเจ้าทุกรูป บางองค์ แม้จะสูงอายุสังขารร่างกายก็ทรุดโทรมตามปกติไม่รับนิมนต์ที่ไหนไกลๆ แต่ก็ยินดีมาร่วมพิธีกรรมครั้งนี้โดยเฉพาะ

    รายนามพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา
    วันที่ 6 มกราคม 2533
    1. พระมหาเจติยารักษ์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แสดงธรรม “ไชยะสังคะหะ “ เริ่มพิธีกรรม
    2. ครูบาดวงจันทร์ จันวโร วัดป่าเส้า อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาปั๋นคำ วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน
    4. พระมหาบุญช่วย วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน

    วันที่ 7 มกราคม 2533
    1. ครูบาสิงห์แก้ว สิริวิชโย วัดป่าขาม อ.เมือง ลำพูน
    2. พระครูสุทธิธรรมสุนทร วัดบ้านหลุก อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาต่วน อริยวังโส วัดหนองปลาขอ อ.เมือง ลำพูน

    วันที่ 8 มกราคม 2533
    1. พระครูสังวรญาณ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดห้วยแทง อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
    3. พระครูศิรินันทคุณ วัดช้างค้ำ อ.ป่าซาง ลำพูน
    4. ครูบาซอน ธันมชโย วัดดอนหลวง อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 9 มกราคม 2533
    1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดปทุมสราราม อ.ป่าชาง ลำพูน
    3. ครุบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาสุจินดา สุมังคโส วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดประทุมสราราม อ.ป่าซาง ลำพูน
    3. ครูบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาสุจินดา สุมังคโล วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1. ครูสิงหวิชัย สิริวิชโย วัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง เชียงใหม่
    2. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาแสง วัดล้อมก่องข้าว อ.สันกำแพง เชียงใหม่
    4. พระครูพิทักษ์ปัจจันตเขต วัดพระชินธาตุดอยตุง อ.แม่สาย เชียงราย

    วันที่ 11 มกราคม 2533
    1. พระครูคันธวงศ์วิวัฒน์ วัดหนองผำ อ.ป่าซาง ลำพูน
    2. ครูบาสม โสภโน วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง ลำพูน
    3. ครูตุ่น ปัญญาวิลาโส วัดบ้านล้อง อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 12 มกราคม 2533
    1. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    2. พระครูศรียูรมงคล วัดทุ่งแป้ง อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    3. พระครูบวรสุขบท วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 13 มรกราคม 2533
    1. พระครูวรวุฒิคุณ วัดฟ้าหลั่ง อ.จอมทอง เชียงใหม่
    2. พระครูธรรมภาณี วัดดอยชัย อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    3. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่

    วันที่ 14 มกราคม 2533
    1. พระครูสุขบทบริหาร วัดห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร ลำปาง
    2. พระครูโถมมณียคุณ วัดบ้านเป้า อ.ห้างฉัตร ลำปาง
    3.พระครูรัตนาคม วัดพระธาตุเสด็จอ.เมือง ลำปาง
    4.พระครูรักขิตคุณ วัดม่อนพญาแช่ อ.เมือง ลำปาง
    นอกจากพระเถระที่นิมนต์มาแล้ว ทุกคืนพระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวงอันประกอบด้วย
    1.พระปลัดอินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาส
    2.พระมหาเจริญ ชุตินธโร
    3.พระอุทัย อภิญญาโณ
    4.พระชัยพร สิริปัญโญ
    5.พระคัชเชน โชติธัมโม
    ได้ร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา กับพระเถระเป็นประจำทุกคืน ตั้งแต่คืนเริ่มต้นจนถึงคืนสุดท้าย พระภิกษุรูปอื่นที่ไม่เข้าร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ก็เข้าไปสวดพระคาถาพุทธาภิเษก ร่วมกันกับสามเณร ตั้งแต่เริ่มพิธีจนจบพิธีกรรมทุกๆ คืน

    พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลกที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา ทุกคืน หลังจากพิธีกรรมทางมนุษย์โลกจบสิ้นแล้วเวลาตั้งแต่ 24.00 น.เป็นต้นไป ได้มีพระสงฆ์จากพรหมโลก เทวโลก มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไปอีก จนถึงเวลา 05.00
    พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลก ที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา พระรอดปลอดภัย

    วันที่ 6 มกราคม 2533
    1.ครูบาคัณธา คัณธาโล วัดเมืองสร้อย ตาก
    2.ครูบาศรีวิชัย วัดบ้างปาง ลี้ ลำพูน
    3.ครูบาบุญทา วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
    4.ครูบาอภัยสะระทะ วัดฝานหิน เชียงใหม่

    วันที่ 7 มกราคม 2533
    1.ครูบาอุปาละ วัดดอยเต (บ้านทา)ลำพูน
    2.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
    3.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
    4.หลวงปู่เขียว วัดหลงบน นครศรีธรรมราช

    วันที่ 8 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน อยุธยา
    2.หลวงพ่อปาน วัดคลองด่วน สมุทรปราการ
    3.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา
    4.หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบล

    วันที่ 9 มกราคม 2533
    1.สมเด็จลูน ประเทศลาว
    2.หลวงพ่อโอภาสี วัดบางมด
    3.หลวงปู่บุญ นครปฐม
    4.หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1.ครูบาสุริยะ วัดเท้าบุญเรือง เชียงใหม่
    2.ครูบาเถิ้ม วัดแสนฝาง เชียงใหม่
    3.ครูบาอินทรจักร วัดป่าลานห้วยยาบ ลำพูน
    4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน

    วันที่ 11 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    2.หลวงพ่อหมุน วัดเขาตะแคงตะวันตก พัทลุง
    3.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีน
    4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน

    วันที่ 12 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม
    2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    3.ครูบาอ้าย อินทรปัญโญ วัดสะปุ๋งน้อย (ป่าซาง) ลำพูน

    วันที่ 13 มกราคม 2533
    1.ครูบาดง ชวโน วัดดงเหนือ แพร่
    2.ครูบาแก้ว อินทรจักโก วัดเขื่อนคำลือ แพร่
    3.พระครูเนกขัมมะวิสุทธิ์ วัดดอนตัน น่าน
    4.ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน

    วันที่ 14 มกราคม 2533
    1.ครุบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่
    2.ครูบาคำแสน วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่
    3.หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง เชียงใหม่
    4.หลวงปู่ภู วัดอินทร์วิหาร กรุงเทพ

    พระมหาเถระที่มีชื่อประจำวันนี้ ท่านจะมาร่วมอธิฐานจิต ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 5โมงเช้า ตามรายการ นอกจากนี้ยังมีพระเถระอีกนับร้อยรูปจากพรหมโลก ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาร่วมอธิฐานจิต องค์ละประมาณ10-15 นาที แล้วกลับ ตลอดระยะเวลาพิธีอธิฐานจิต ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนวันสุดท้าย แต่ไม่อาจจะนำรายนามท่านมาลงได้ทั้งหมด เพราะมีจำนวนมากและบางองค์คุณไพศาล ก็ไม่รู้จัก
    ในคืนเริ่มต้นและคืนสุดท้ายของพิธีกรรม พระแม่เจ้าจามเทวี ได้เสด็จมาร่วมอนุโมทนา และแผ่เมตตาด้วยแต่อยู่ภายนอกโบสถ์ พระแม่เจ้าได้ตรัสกับไพศาลว่า พระรอดปลอดภัยนี้ดีเท่ากับพระรอดในสมัยที่แม่หม่อน(พระแม่จามเทวี)สร้างสามารถปราบแป๊ (ชนะ)ภูตผี เงือกหงอน ได้ด้วย ใครมีบูชาก็จะอยู่เย็นเป็นสุข จำเริญรุ่งเรือง แม่หม่อนขออนุโมทนากับผู้ใดก็ตามที่ได้ไว้บูชาทุกผู้ทุกคน ขอให้เคารพนบยำอย่าได้เหยียบย่ำข้ามกลายเป็นอันขาด(นี่คือคำยืนยันจากดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระนางจามเทวี)

    ในปีพุทธศักราช 2529 พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโน (พระครูปัญญาธรรมวัฒน์) ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุด ในปีนั้นท่านได้พิจารณาว่า ในงานฉลองอุโบสถหลังใหม่จะเอาอะไรเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมตลอดจน พุทธบริษัทที่ได้ร่วมกันสร้างพระอุโบสถ

    ในคืนวันหนึ่งท่านนั่งสมาธิและได้เห็นรูปพระรอดปรากฏขึ้นในนิมิตนั้น รุ่งเช้าหลังจากฉันภัตตาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านได้คำนึงถึงนิมิตนั้น ท่านได้พิจารณาว่า ถ้าสร้างพระรอดเลียนแบบของเก่าก็จะไม่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกทั้งจะกลายเป็นว่ารูปแบบซ้ำกันเหมือนเลียนแบบของเดิม ท่านจึงเอาสัญญาลักษณ์ อ. ซึ่งเป็นตัวอักขระสำคัญที่ทุกคนจะต้องใช้ตัว อ. นี้ รวมเข้าไปในชื่อของทุกคน คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ โอม ซึ่งเป็นอักขระนะโม มี 9 ตัว เท่ากับโลกุตระธรรมของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นชื่อของท่านด้วย พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโนจึงได้รวบรวมมวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่าง ๆ ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดรวมกันเพื่อทำผงพระรอด ผสมกับดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูนแต่โบราณกาลมา ได้สร้างพระรอดหลัง อ. ขึ้นจนสำเร็จและทำพิธีพุทธาภิเษก โดยได้นิมนต์พระสงฆ์คณาจารย์แห่งเมืองลำพูนมาทำพิธีพุทธาภิเษก เป็นเวลาหนึ่งเดือนกับเก้าวันเก้าคืน และได้แจกให้ญาติโยมในพิธีฉลองพระอุโบสถหลังใหม่

    หลังจากที่ญาติโยมได้รับแจกพระกันไปโดยทั่วถึงแล้ว เกิดปรากฏการณ์อภินิหารแก่ผู้ที่ได้รับแจกไป ดังนี้

    เรื่องที่หนึ่ง ตำรวจถูกยิง
    นายดาบตำรวจวิสูตร ประจำสถานีตำรวจภูธรแม่ทา จังหวัดลำพูน ถูกยิงด้านหลังขณะเข้าจับกุมยาบ้า หมดสติไป
    สองวัน ในวันที่สามจึงพื้นคืนสติเหมือนคนนอนหลับ ไม่ปรากฏแผลตามร่างกายแต่อย่างใด

    เรื่องที่สอง คนจะคลอดบุตร
    นางนภาภรณ์ บ้านกอม่วง อำเภอเมือง ลำพูน ตั้งครรภ์ เลยกำหนดคลอดมาเป็นเวลานานพอสมควร ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลแมคคอมิค ผลกาตรวจปรากฏว่าเด็กขวางลำตัว ขณะเตรียมตัวรอเจ้าห้องผ่าตัด แม่ของนางนภาภรณ์ได้ระลึกถึงพระรอดหลัง อ.ได้ เพราะได้ยินท่านอาจารย์พูดว่า ถ้าใครมีปัญหาอะไรที่สาหัส ให้เอาพระรอดตั้งสัจจะอธิษฐาน ทำน้ำพระพุทธมนต์ น้ำไปดื่ม กิน อาบ โดยเอาพระรอดแก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ มารดาของนางนภาภรณ์ก็ทำเช่นนั้น เพราะพระรอดได้ผ่านการอาบน้ำว่าน ๑๐๘ ชนิดและน้ำมันมนต์ผ่านการทำพิธีมาเรียบร้อยแล้ว แม่ของนางนภาภรณ์จึงนำน้ำมนต์นั้นมาให้นางนภาภรณ์ดื่ม กิน ลูบหัว ลูกหน้า ลูบท้องของนางนภาภรณ์ ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ว่า ลูกของนางนภาภรณ์คลอดออกมาอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด

    เรื่องที่สาม อุบัติเหตุรถชน
    นายสวัสดิ์ สันตติภัค คนบ้านพระคงฤาษี ในเมืองลำพูน อายุ ๖๐ ปีถูกรถกระบะชนกลางลำตัวขณะขับขี่จักรยานสองล้อตัดหน้ารถ เพราะไม่เห็นรถกระบะด้วยสายตาไม่ดี รถกระบะชนเต็มที่ ปรากฏว่า ขาหัก ๓ ท่อน โดยไม่มีบาดแผลอื่นใด หมดสติ ไปรู้สึกตัวที่โรงพยาบาล พอรู้สึกตัวก็คลำหาพระรอดหลังอ. ยกมือท่วมหัวพรางนึกในใจว่า รอดตายพระบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังโดนรถมอเตอร์ไซด์ชนอีก ๒ ครั้ง แต่ก็รอดมาได้โดยไม่เป็นอะไร

    เรื่องที่สี่ พระรอดช่วยคนฟันปลอมติดคอ
    นายบุญชื่น บ้านต้นเหียว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ รับประทานอาหารเสร็จในวันหนึ่งแล้วลุกมาบ้วนปาก ขณะกรั้วคอล้างปาก ฟันปลอมที่ใส่อยู่ประจำเกิดหลุดออกจากเหงือกที่ยึดอยู่ แล้วไหลลงไปติดอยู่ที่หลอดลม เจ็บปวดสุดแสนสาหัส ทำอย่างไรก็ไม่อาจสามารถเอาออกมาได้ ภรรยาจึงนำส่งโรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่ แพทย์ได้ทำการ x - ray ผลปรากฏว่าฟันปลอมไปติดค้างอยู่ที่หลอดลม หมอลงความเห็นว่าต้องผ่าตัดลำคอเพื่อเอาฟันปลอมออกมา ในขณะที่กำลังรอการผ่าตัด นายบุญชื่นได้รับความทรมานอย่างสุดแสนสาหัส จึงลงความเห็นให้ผ่าตัดด่วน ขณะที่รอหมอภรรยานายบุญชื่นซึ่งแขวนพระรอดหลังอ.ไว้ นึกขึ้นมาได้ จึงเดินไปเอาน้ำจากที่ดื่มน้ำบริการของโรงพยาบาลมหาราช แล้วนำพระรอดหลังอ. มาอธิษฐานว่า “ถ้าพระรอดแน่จริง ศักดิ์สิทธิ์จริง ของให้ฟันปลอมของนายบุญชื่นหลุดออกมาโดยปาฏิหารย์” ภรรยาจึงนำพระรอดหลังอ.แก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ แล้วให้นายบุญชื่นอธิษฐานดื่ม ประมาณครู่หนึ่งหลังจากที่นายบุญชื่อดื่มน้ำเข้าไปแล้ว มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียรอย่างรุนแรง นายบุญชื่นจึงเดินไปที่ถังขยะ ด้วยความทุรนทุรายแล้วอาเจียรออกมาอย่างหนัก ปรากฏว่า ฟันปลอมได้หลุดมากับการอาเจียรในครั้งนั้นโดยอัศจรรย์ นายบุญชื่นได้หยิบเอาฟันปลอมมาทั้งน้ำหูน้ำตา แล้วนำออกมาเพ่งดู ขณะนั้นพอดีกับพยาบาลเรียกให้ไปเข้าห้องผ่าตัด นายบุญชื่นจึงเดินไปหาพร้อมกับยื่นฟันปลอมให้พยาบาลที่จะนำเข้าห้องผ่าตัดดู แล้วบอกว่า “ผมไม่ผ่าแล้ว ฟันผมหลุดออกมาแล้ว” พยาบาลมองดูดด้วยความงุนงงว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? จึงถามนายบุญชื่นว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? ภรรยาจึงเล่าเรื่องเอาพระรอดหลังอ.ทำน้ำมนต์ให้พยาบาลฟัง เรื่องนี้เป็นที่ฮือฮาและเล่าขานกันมากในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

    เรื่องที่ห้า ตำรวจได้ลาภ
    รตต.รัตน์ บุญชู ประจำกองกำกับการตำรวจภูธร จว.ลำพูน เป็นผู้มีความศรัทธาในตัวพระอาจารย์อินทรเป็นอย่างยิ่ง ตอนพักกลางวันของทุกวัน หลังจากรับประทานอาหารแล้วก็จะมาไหว้พระสวดมนต์ แล้วนั่งสมาธิภาวนาเป็นประจำทุกวัน วันหนึ่ง ได้ยินกิตติศัพท์พระรอดหลังอ. จึงมาขอต่อท่านอาจารย์ ไป ๑ องค์ จึงนำไปใส่กรอบติดตัว ในขณะที่รับพระไปนั้น ตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ขอให้ได้เลื่อนยศภายในเร็ววัน ต่อมาอีก๒ อาทิตย์ รตต.รัตน์ ได้มาที่วัดเพื่อถวายสังฆทาน แล้วบอกท่านอาจารย์ว่า “ ใครว่าพระรอดหลังอ. รอดจากจากโชคจากลาภ ผมไม่เชื่อเด็ดขาด ท่านอาจารย์ครับ วันนี้ผมได้เลื่อนเป็นรตท.แล้วครับ”

    เรื่องที่หก พระธาตุเสด็จอยู่ในกรอบพระรอด
    นายถวิล ท้าวรอม (ร้านถวิลท้าวรอม) บ้านป่าซาง ได้มาช่วยกดพิมพ์พระรอดหลัง อ. ได้นำพระรอดหลังอ.ที่พระอาจารย์อินทรเป็นผู้กดเอง ใส่กรอบแขวนติดตัวไว้ อุปนิสัยของนายถวิลเป็นใจบุญสุนทานหมั่นปฏิบัติภาวนาเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นไม่นาน พระธาตุได้เสด็จมาอยู่ในกรอบกับองค์พระรอดหลังอ. เป็นที่น่าอัศจรรย์ (เมื่อมองดูจะเห็นแต่เศียรพระรอดหลังอ. ส่วนองค์พระมองไม่เห็น เห็นแต่พระธาตุ)

    เรื่องที่เจ็ด แสงเลเซอร์ยิงไม่เข้า
    คุณวิภา องค์มหัสมงคล ผู้พิพากษาศาลสมทบจังหวัดนนทบุรี ได้บูชาพระรอดหลังอ.ทองคำไป ๑ องค์ วันหนึ่งได้ไปที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจรักษาต้อกระจก หมอนัดวันให้มาทำการรักษา เมื่อถึงวันนัดก่อนออกจากบ้าน คุณวิภาได้ยกพระขึ้นจบพร้อมกับอธิฐานขอบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง อย่าได้มีอันตรายใดใดต่อดวงตาเลย ที่โรงพยาบาล หมอทำการรักษาโดยการยิงแสงเลเซ่อร์เพื่อรักษาต้อกระจก พอเริ่มทำการรักษา หมอยิงเลเซ่อร์ ๒ - ๓ ครั้ง ปรากฏว่าเครื่องยิงหยุดการทำงาน เป็นที่อัศจรรย์ หมอได้ตรวจสอบเครื่องยิ่งเลเซ่อร์ก็ไม่พบสิ่งผิดปรกติแต่อย่างใด
    หมอจึงถามคุณวิภาว่า “คุณแขวนพระอะไรไว้?”
    คุณวิภาตอบว่า “แขวนพระรอดหลังอ. และได้อธิษฐานก่อนออกจากบ้านมาพบหมอ” สร้างความงุนงงให้กับวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอย่างยิ่ง!!

    เรื่องที่แปด รถชนที่มาเลเซีย
    มิสเตอร์กูบูเซ็ง เจ้าของบริษัท ประเทศมาเลเซีย ได้ส่งจดหมายเป็นภาษาอังกฤษถึงท่านอาจารย์อินทรว่า มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งไปออกกำลังกายตอนเช้าที่ Park หลังจากเสร็จกิจกรรมแล้วได้ขี่จักรยานสองล้อเพื่อเดินทางกลับบ้าน ขณะเดินทางกลับบ้านถูกรถยนต์ชนอย่างแรง ด้วยแรงกระแทก มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งกระเด็นไปไกลหลายตลบเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งจึงให้มิสเตอร์เซ็งเขียนจดหมายเล่าเรื่องประสบการณ์เหลือเชื่อให้ทางวัดสันป่ายางหลวงได้ทราบ พร้อมทั้งขอบคุณบารมีพระรอดหลังอ. ที่ช่วยให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

    ปาฏิหารณ์ที่เกิดจากมีมากมายหลายเรื่องหลายประการจนไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด ผู้ที่นำไปบูชาแล้วเท่านั้นจึงได้พบความอัศจรรย์และปาฏิหารย์ต่าง ๆ ของพระรอดหลัง อ

    ข้อความทั้งหมดนี้คัดลอกมาจากหนังสือ แม่หม่อนเล่าและย้อนอดีตวัดสันป่ายางหลวง จากนิมิตของคุณ ไพศาล แสนไชย เรียบเรียงโดย คุณ ประสิทธิ์ เพชรรักษ์ ทั้งหมด
    ....เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูบให้ทุกท่านได้ทราบถึงพระรอดซึ่งทรงคุณค่าและได้รับการรับรองจากดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่จามเทวี(แม่หม่อนหรือคุณทวด)ว่ามีคุณเปรียบดังพระรอดที่ท่านได้สร้างไว้เมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้วครับ


    สภาพสวยผิวหิ้งเดิมเก่าเก็บ พุทธคุณหายห่วง นี้แหละครับของดีราคาเยาว์ เนื้อดีพิมพ์ดีของท่านที่ทุกคนสามารถมีไว้ในครอบครองได้ แบ่งให้บูชา 345 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณminute จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  19. minute

    minute เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2011
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +368
    บูชารายการ 3470.มหากาพย์พิธีเหนือโลก นิมิตร อ.ไพศาล แสงไชย(๔) พระรอดปลอดภัย
     
  20. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,285
    ค่าพลัง:
    +14,371
    3471.สุดยอดมวลสารเนื้อพระกรุวัดเงินคลองเตยล้วนๆ
    ระพิมพ์สังกัจจายน์ วัดคลองเตยนอก ลป.โต๊ะ,ลพ.เงิน,ลพ.มุ่ย ร่วมปลุกเสก

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    d0lUq3l.jpg
    พระพิมพ์สังกัจจายน์ วัดคลองเตยนอก กทม. สร้างจากเศษเนื้อผงพระกรุวัดเงินคลองเตยล้วนๆ จัดสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2514

    โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ร่วมสมัยหลายท่านเข้าร่วมพิธีปลุกเสก เช่น

    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    - หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
    - หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    - หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์
    - หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง เป็นต้น


    สภาพสวยผิวหิ้งเดิมๆเก่าเก็บ เนื้อผงพระกรุวัดเงินคลองเตยล้วนๆ มหาพิธีใหญ่ในตำนาน แบ่งให้บูชา 280 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)





    (คุณpnt014 จองแล้วครับ)






    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2023

แชร์หน้านี้

Loading...