ห้องพระเครื่อง "ศิลป์พระ๙" พระเครื่องทั่วไทย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิลป์พระ9, 26 ธันวาคม 2020.

  1. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    378.เหรียญหลวงพ่อผูก วัดเกาะ ห่วงเชื่อม ปี 2516 จ.เพชรบุรี ((( บูชา 950 บาท ))) "จอง">>>พี่j999

    cr.thaipra.net
    หลวงพ่อผูก ัดเกาะ หรือ พระอาจารย์ผูก จนฺโชโต ท่านเกิด วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 ที่ตำบลโคกหม้อ(ซึ่งหมู่บ้านอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดเกาะไปราว 1 กิโลเมตร) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อ เกตุ บารดาชื่อ มอญ ในวัยเด็กท่านเรียนหนังสือกับพระอาจารย์หรั่ง วัดเกาะ ต่อมาเมื่ออายุครบ 21 ปี ท่านจึงอุปสมบทที่วัดเกาะ โดยมี พระสุวรรณมุณี (ฉุย) วัดคงคาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเพชร โรปมคุณ (หลวงพ่อเหลื่อม) วัดเกาะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการฉิม วัดป้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ว่า “จนฺโชโต” เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่ผูกท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับของพระอาจารย์เรืองวิทยาคุณของเมืองเพชรบุรีดังนี้ ศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับหลวงพ่อฉุย อยู่ 4 พรรษา ศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อปลอด วัดในปากทะเล ศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อเหลื่อม วัดเกาะ นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณกับพระภิกษุชรารูปหนึ่งของวัดเกาะ ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างมากในสมัยนั้น

    ต่อมาหลวงพ่อผูกท่านก็ได้บำเพ็ญตนรักษาผู้เจ็บป่วยมาตลอดชีวิตของท่านโดยไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ หลวงปู่ผูกท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัย และท่านไม่เคยปฏิเสธในการรักษาผู้ป่วยที่มาให้ท่านรักษาให้ ท่านมีเมตตาธรรมสูง มักน้อย สันโดษ มีคนมาให้ท่านรักษาพิษสุนัขบ้า ท่านก็รักษาให้หายขาด มีคนมาให้ท่านรักษามากจนชื่อเสียงโด่งดัง และพวกฝีแผลเรื้อรัง ท่านก็รักษาให้หายได้ การรักษาโรคฝีนั้น ท่านจะรักษาด้วยอาคม โดยท่านจะทำหุ่นเทียนเป็นรูปของผู้ป่วย แล้วเอาไม้ไผ่ปลายแหลมแทงไปที่หุ่นเทียนตรงบริเวณเดียวกันกับอวัยวะของผู้ป่วย ภายในสามวันผู้ป่วยก็จะหายเป็นปกติ ในสมัยนั้นโด่งดังมาก จนเป็นที่น่าสนใจของนายแพทย์ ดำรง ลิ้มสกุล แห่งสถานอนามัยแม่และเด็ก กรุงเทพฯ ถึงกับเดินทางไปดูการรักษาด้วยตัวเอง จนพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากท่านหายจากการเจ็บป่วยได้จริง นายแพทย์ดำรงจึงเกิดความเลื่อมใสขอมอบตัวเป็นศิษย์

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 นายแพทย์ดำรงก็ได้ขออนุญาตหลวงพ่อผูก สร้างเหรียญรูปท่านขึ้น เพื่อแจกในงานทำบุญฉลองอายุครบ 7 รอบของหลวงปู่โดยสร้างเหรียญสัมฤทธิ์ 84 เหรียญเท่าอายุของหลวงปู่ และเหรียญทองแดงรมดำ จำนวน 1,048 เหรียญ เหรียญนี้จึงเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อผูก นายแพทย์ดำรงได้นำเหรียญที่สร้างเสร็จแล้วใส่พานมาถวายหลวงพ่อผูก และท่านก็ได้ปลุกเสกเหรียญดังกล่าวในวันเสาร์ห้า (7 เมษายน พ.ศ. 2516) ในการแจกเหรียญวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 หลวงปู่ผูกท่านได้แจกเหรียญ โดยไม่ได้แยกเหรียญสัมฤทธิ์หรือเหรียญทองแดง ท่านจะแจกปนกันไป แล้วแต่ว่าใครจะได้เหรียญสัมฤทธิ์หรือเหรียญทองแดง ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ ชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็หวงแหนกันครับ

    หลวงพ่อผูกมรณภาพลงอย่างสงบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 สิริอายุ 84 ปี พรรษา 63

    LINE_ALBUM_2024.2.25_๒๔๐๒๒๗_5.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2024
  2. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    372.เหรียญ หลวงพ่อบุศย์ วัดกุฎีดาว จ.เพชรบุรี รุ่นแรก ปี 2499 ((( บูชา 800 บาท ))) "จอง">>>พี่j999

    เหรียญพื้นที่ หายากมากๆอีกเหรียญของเมืองเพชรบุรี เป็นเหรียญประสบการณ์ในพื้นที่ ปัจจุบันหาชมได้ยากครับ

    หลวงพ่อบุศย์ วัดกุฏีดาว หรือ พระศรีพัชราจารย์ นามเดิม บุศย์ นามสกุล ปานสรวย เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ที่บ้านหนองกลาง ตำบลหนองควง (ต้นมะพร้าว) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นโดยเรียนหนังสือไทยกับพระอธิการแย้ม วัดกุฏีดาว จนสามารถอ่านออกเขียนได้ เมื่อถึงอายุเกณฑ์ทหารท่านต้องไปเป็นทหารกองประจำการระหว่าง พ.ศ. 2467 – 2468 หลังจากพ้นเกณฑ์แล้วโยมมารดาและญาติได้จัดการให้อุปสมบทเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2471 ณ พัทธสีมา วัดหนองควง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีพระครูสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเอี่ยม วัดหนองควง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเย็น วัดกุฏีดาว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า “ปภสฺสโร”

    เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดกุฏีดาว โดยสภาพวัดกุฏีดาวในสมัยนั้นมีความทรุดโทรม เกือบจะเป็นวัดร้าง มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เพียง 3-4 รูปเท่านั้น เสนาสนะต่างๆ อยู่ในสภาพต้องบูรณะซ่อมแซม พระอธิการเย็นได้พยายามปรับปรุงแก้ไขด้วยความลำบาก จนในที่สุดท่านเบื่อหน่ายและลาสิกขาไปในที่สุด พระบุศย์ผู้มีพรรษาเพียง 5 พรรษา จึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดกุฏีดาว เนื่องด้วยไม่มีพระภิกษุภายในวัดที่มีพรรษาสูงกว่าท่าน และไม่มีพระภิกษุวัดอื่นได้รับการแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสหลวงพ่อบุศย์ท่านเป็นพระเถระที่มีขันติ วิริยะและสติปัญญาสูง มีหลักการในการปกครองคณะสงฆ์และศิษย์วัด ครั้นถึง พ.ศ. 2479 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกุฏีดาว และใน พ.ศ. 2482 จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูปริยัตยานุโยค”

    ต่อมาใน พ.ศ. 2498 หลวงพ่อบุศย์ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะที่ “พระศรีพัชราจารย์” ท่านจึงได้สร้างเหรียญรูปเหมือนตัวท่านเป็นครั้งแรก สำหรับแจกเป็นที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ใน พ.ศ. 2499 ลักษณะเป็นเหรียญทรงเปลวเทียน นั่งเต็มองค์ คล้ายกันกับเหรียญเปลวเทียนหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ ด้านหน้าระบุ “พระศรีพัชราจารย์” ด้านหลังเป็นยันต์ มีข้อความระบุ “วัดกุฏีดาว เพชรบุรี ๒๔๙๙” มีเนื้อทองแดงกะไหล่เงิน เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เนื้อทองแดงรมดำ นอกจากนี้ยังมีเหรียญรูปเหมือนรุ่น 2 รูปไข่ พ.ศ. 2517 และ รูปถ่าย เป็นต้น
    หลวงพ่อบุศย์ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 สิริอายุได้ 80 ปี

    LINE_ALBUM_2024.2.25_๒๔๐๒๒๗_4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2024
  3. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    383.แหวนอาร์ม พระอาจารย์โพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมนฯ กรุงเทพฯ ((( บูชา 1,850 บาท ))) "จอง">>>พี่j999

    วัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นแหวนรูปเหมือนรุ่นแรกๆที่เป็นรูปหน้าท่าน จำนวนการหมุนเวียนหายากมากในสนามผมได้มาแค่ 2-3 วง วงนี้เป็นวงแรกที่เปิดให้บูชา สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า สภาพวงนี้สวยมาก

    ทำไม นิกายจีนมหายาน ในไทย ถึงรุ่งเรืองเฟื่องฟูที่สุดในยุคของท่าน "อาจารย์โพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมนฯ"

    รากฐานสำคัญ ที่ทำให้นิกายจีน มหายานในเมืองไทย มีความมั่นคง เพราะ ท่านอาจารย์โพธิ์แจ้ง ได้ศึกษา วางรากฐาน มหายาน ในเมืองไทย ให้ได้รับความยอมรับ โดยท่านอุทิศตัวท่านเอง ศึกษาหลักธรรม

    ขั้นต้นศึกษาในประเทศไทย โดยอันที่จริงตั้งแต่มีนิกายจีน มาตั้งแต่ยุคอาจารย์สกเห็ง เป็นปฐมเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ในยุคสมัย รัชการที่ 5 แล้วนั้น ครูบาอาจารย์ในฝ่ายจีนนี้ไม่ธรรมดาเลย แต่ละรูปเคร่งครัดและปฎิบัติญาณตามแนวทางนิกายมหายาน จนสำเร็จ หลายต่อหลายท่าน (มีพระคณาจารย์หลายท่านมรณะแล้วสรีระไม่เน่าไม่เปื่อย) เป็นผู้ทรงญาณชั้นสูง แต่นิกายจีนก็ยังไม่ค่อยได้ความยอมรับในหมู่พุทธศาสนิกชน ในเมืองไทยเท่าไหร่นัก จวบจนมาถึง ยุคท่านอาจารย์โพธิ์แจ้ง จากการที่ท่านได้อุทิศตนศึกษาหลักธรรม และ การฝึกกัมมัฐาน ตามแนวทางนิกายจีนมหายานในเมืองไทยอย่างเต้มที่แล้ว ท่านได้ธุดงค์ไปศึกษา หลักธรรมฝ่ายมหายานในประเทศธิเบท ในสำนักของ พระสังฆราชา นอร่าริมโปเช ซึ่งในยุคนั้น ท่านมีชื่อเสียงและ ลูกศิษย์มากมายแทบทุกที่ในโลก การศึกษาหลักธรรมมนตรยาน วัชรยาน ซึ่งเป็นมหายาน อีกแขนงหนึ่งในครั้งนี้เป็นจุดที่ทำให้ท่านอาจารย์โพธิ์แจ้ง มีวิชาสายวัชรยาน เข้ามาเผยแพร่และช่วยเหลือคนในเมืองไทย จนมีชื่อเสียงโด่งดัง ท่านสังฆราชานอร่าฯ ได้เปิดเผยว่าท่านเจ้าคุณ อาจารย์ถือกำเนิดจากปรมาจารย์ “คุรุนาคาชุน” (ตามความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในทิเบต) ซึ่งมาเพื่อฟื้นฟู สถาปนาพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงในภูมิภาคนี้ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อท่านเจ้าคุณอาจารย์ศึกษาแตกฉานใน มนตรยานณยิงมาคากิว แล้ว พระสังฆราชาฯได้ประกอบมนตรภิเษก ตั้งให้ ท่านเจ้าคุณ อาจารย์เป็น “พระวัชรธราจารย์” อันดับที่ 26 สืบต่อจากท่าน ในกาลครั้งนั้น ท่านสังฆราชานอร่าฯ ได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชา ให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่าง ครบถ้วน ทั้งได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายเพื่อให้ท่านเจ้าคุณ อาจารย์นำกลับมาประดิษฐานในประเทศไทย ด้วย ท่านสังฆราชาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาลจะถูกทำลายหมด

    ถัดมา ท่านได้ไป เข้ารับการอุปสมบท ณ.วัดล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัว มณฑล กังโซว โดยมีพระคณาจารย์ฮ่งยิ้ม เป็นอุปัชฌาย์ ผู้เป็นสังฆนายกสำนักวินัย สำนักปฏิบัติ ธรรมวินัยแห่งนี้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดที่สุดของจีน เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม กับพระคณาจารย์เพิ่มเติมอีก 2 ปี ด้วยสติ ปัญญา อันหลักแหลมฉลาดเฉลียว ท่านได้เรียนรู้อรรถธรรมลึกซึ้งต่างๆได้แตกฉานเป็นที่รัก ใคร่ของพระอาจารย์ และ พระสงฆ์ต่างๆ ในสำนัก ปี พ.ศ.2479 จึงได้จาริกกลับประเทศไทย เพื่อเผยแพร่พระธรรมและประสบการณ์ความรู้ ที่ได้รับมาแก่พุทธบริษัทในประเทศไทยอีก หลังจากนั้น ปี พ.ศ.2491 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีนเป็นวาระที่สาม ครั้งนี้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้รับเกียรติอย่างสูงจากพระคณาจารย์จีนพระปรมัตตาจารย์ (เมี่ยวยิ้ว) ประมุขเจ้านิกายวินัยของประเทศจีน องค์ที่ 18 แต่งตั้งท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็น พระปรมัตตาจารย์ ประมุขนิกายวินัยองค์ที่ 19

    จากบทความที่ทางเวปวัดโพธิ์แมน ได้ลงไว้นี้ ท่านอาจารย์เจ้าคุณโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน ท่านเป็นพระในนิกายจีนที่บวชในสำนักนิกายจีนที่ยิ่งใหญ่ ถึง 3 แห่ง คือ
    1.ในเมืองไทย
    2.ในจีน
    3.ในทิเบท

    ซึ่ง ทั้ง 3 ที่ดังกล่าวล้วนเป็นนิกายจีนที่มีชื่อเสียงระดับสูงสุดทั้งนั้น ท่านได้ศึกษาความรู้หลักธรรมตามนิกายจีน ในทุกๆที่จนแตกฉาน ได้รับความนับถือสูงสุดในทุกสำนักที่กล่าวมาข้างต้น ถึงขนาดเป็นผู้ทรงนิกายสูงสุด ในทุกๆที่ท่านได้ไปศึกษา แม้แต่ในสำนักของท่านนอร่าริมโปเช ซึ่งเป็นสำนักที่ใหญ่มาก แต่ก็ยังยกย่องท่าน ตั้งให้ ท่านเป็น “พระวัชรธราจารย์” อันดับที่ 26 สืบต่อจากท่าน ซึ่ง ในความคิดของผม ท่านเป็นพระอริยะที่ทรงภูมิอย่างยิ่ง จนในเมืองจีนท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้รับเกียรติอย่างสูงจากพระคณาจารย์จีนพระปรมัตตาจารย์ (เมี่ยวยิ้ว) ประมุขเจ้านิกายวินัยของประเทศจีน องค์ที่ 18 แต่งตั้งท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็น พระปรมัตตาจารย์ ประมุขนิกายวินัยองค์ที่ 19 อีก จนมาถึงจุดที่ท่านเลือกมาพัฒนานิกายจีนในเมืองไทย ท่านก็ได้รับการยกย่องได้รับตำแหน่งสูงสุดในนิกายจีน ในประเทศไทย


    52.jpg

    3.jpg 4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2024
  4. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,986
    ค่าพลัง:
    +5,394
    ขอจองครับ
     
  5. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,986
    ค่าพลัง:
    +5,394
    ขอจองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2024
  6. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,986
    ค่าพลัง:
    +5,394
    ขอจองครับ
     
  7. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    รับทราบการจองทั้ง 3 รายการครับ ขอบคุณพี่มากๆครับ
     
  8. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    384.ขันน้ำมนต์ ไคกวงพิธีจีน ((( บูชา 4,500 บาท )))
    สมนาคุณเป็น เหรียญซำกัวไต่ตี่ ฝาบาตรใหญ่เล็ก และเหรียญกุ่ยก๊กจือใหญ่ อัลปาก้า 1 เหรียญ

    ขันน้ำมันต์ไว้ทำน้ำมนต์ พรมบ้านไล่เสนียดจัญไร เสริมสิริมงคลแก่บ้านเรือน ไคกวงพร้อมเหรียญเตียวฮูเทียนซือ มียันต์ทั่วทั้งใบ ขันนี้ทำเป็นครั้งแรกมีแค่หลักสิบใบเท่านั้น

    รูปสภาพปัจจุบัน
    2.jpg

    รูปถ่ายสตูฯ(หากขัดจะได้สภาพตามนี้ )
    1.jpg

    สมนาคุณ
    3.jpg 5.jpg 6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1312757.jpg
      1312757.jpg
      ขนาดไฟล์:
      231.4 KB
      เปิดดู:
      48
    • 1312760.jpg
      1312760.jpg
      ขนาดไฟล์:
      163.2 KB
      เปิดดู:
      55
    • 1312761.jpg
      1312761.jpg
      ขนาดไฟล์:
      162.3 KB
      เปิดดู:
      51
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      201.8 KB
      เปิดดู:
      48
    • 1312763.jpg
      1312763.jpg
      ขนาดไฟล์:
      187 KB
      เปิดดู:
      48
    • 1312764.jpg
      1312764.jpg
      ขนาดไฟล์:
      192.4 KB
      เปิดดู:
      47
    • 1312765.jpg
      1312765.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.8 KB
      เปิดดู:
      48
    • 1312758.jpg
      1312758.jpg
      ขนาดไฟล์:
      190.1 KB
      เปิดดู:
      56
    • 1312759.jpg
      1312759.jpg
      ขนาดไฟล์:
      201.4 KB
      เปิดดู:
      48
    • 1312762.jpg
      1312762.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155.9 KB
      เปิดดู:
      52
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2024
  9. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    380.พระรูปหล่อหลวงพ่อชม วัดดอนกอก จ.เพชรบุรี ((( บูชา 650 บาท )))

    หลวงพ่อชม วัดดอนกอก รุ่นนี้บางท่านกล่าวว่าสร้างในช่วงที่ท่านมรณะภาพไปแล้ว บางข้อมูลว่ากันว่าอุดด้วยอัฐิท่าน สำหรับผม บ้านอยู่แถวหัวสะพาน ใกล้ๆกับวัดดอนกอก นอกจากหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา หลวงพ่อผล วัดเขมาฯแล้ว ก็มีหลวงพ่อชม วัดดอนกอก ที่คนห้อยติดคอ ทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็น ปิดตา เนื้อผงคลุกรัก เหรียญรุ่นแรก หรือรูปหล่อรุ่นแรก สำหรับรูปหล่อมีคนในพื้นที่เล่าให้ฟังว่ามีประสบการณ์ด้านแคล้วคราด และ มหาอุตต์ เกิดขึ้นหลายครั้ง โดยเฉพาะนักเล่นวัวลาน เคยเห็นคนในตำบลหัวสะพานเลี่ยมทองรูปหล่อท่านอย่างดี

    11.jpg
     
  10. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    375.เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดจุมป๊ะ รุ่น 2 พ.ศ. 2518 จ.สงขลา ((( บูชา 1,500 บาท )))
    ได้รับ 8 เหรียญ สภาพสวยทุกเหรียญ

    หลวงพ่อเล็ก ลมฺภโก เดิมชื่อ เล็ก นามสกุล สีแสงแก้ว เกิดวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันอังคาร เดือนยี่ ปีมะโรง หมู่ที่ ๘ บ้านพรุพ้อ ตำบลป่าบอนเหนือ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โยมบิดาชื่อนายแสง โยมมารดาชื่อนางแก้ว สีแสงแก้ว อาชีพครอบคัวทำกสิกรรม มีพี่น้องทั้งหมด ๓ คน ท่านเป็นบุตรชายคนโต พออายุย่างเข้า ๑๐ ขวบ โยมย่าพาท่านมาสมัครเป็นลูกศิษย์กับพระอาจารย์ไข่ วัดพรุพ้อ เพื่อให้ท่านศึกษาเล่าเรียนหนังสือภาษาไทย และอักษรขอม ว่า นะโม พุทธายะ กะขะ คะ ฆะ งะ จนจบ ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความตั้งใจเล่าเรียนอย่างดี จนสามารถอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและอักษรขอมอย่างรวดเร็วจนเป็นที่พอใจ พระอาจารย์ เลยบรรพชาให้เป็นสามเณร ต่อมาสามเณรเล็กเดินทางจากวัดพรุพ้อกลับไปหาโยมบิดา มารดา ทั้งนี้เพื่อขออนุญาตจากโยมบิดาเพื่อศึกษาวิชาจากสำนักอื่น ๆ โยมบิดาไม่อนุญาตและแนะนำท่านศึกษาเล่าเรียนกับโยมบิดา หลวงลุง หลวงตา และวัดใกล้ ๆ บ้านของท่านจะเรียนวิชาอะไรแล้วแต่ ส่วนมากจะสอนวิชาพุทธศาสตร์และไสยเวท ครั้นอายุได้ ๒๑ ปี โยมย่า โยมบิดา มารดา นำท่านมาอยู่วัดแหลมจาก ตำบลปากรอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มอบให้เป็นศิษย์หลวงพ่อลอย จมฺท์โร เจ้าอาวาสวัดแหลมจาก เพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติม
    วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดแหลมจาก ตำบลปากรอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีหลวงพ่อลอย จมฺท์โร เจ้าอาวาสวัดแหลมจาก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ชุม วัดแหลมจาก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการไล่ วัดสลักป่าเก่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้รับฉายา ลมฺภโก หลังจากอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ท่านไปจำพรรษาที่วัดพรุพ้อ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ศึกษาพระธรรมวินัย และเรียนปาฏิโมกข์ วัดพรุพ้อไม่มีกุฏิสงฆ์ ท่านได้สร้างกุฏิสงฆ์ให้วัดพรุพ้อ ๒ หลัง ต่อมาท่านได้ลาหลวงพ่อลอย และพระอาจารย์ไข่เพื่อออกธุดงค์ไปทางเหนือเพื่อแสวงหาความรู้ด้านพุทธคุณ และไสยเวทจากพระอาจารย์ต่าง ๆ เมื่อใกล้วันเข้าพรรษาท่านจึงเดินทางกลับจากธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดพรุพ้อ จังหวัดพัทลุง

    พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านจำพรรษาที่วัดควนขัน จังหวัดพัทลุง เพื่อศึกษาวิชาโหราศาสตร์กับพระอาจารย์ชื่น แก้วเอียด ท่านเรียนวิชาโหราศาสตร์เป็นเวลา ๓ เดือน เมื่อออกพรรษาแล้วท่านได้ลาพระอาจารย์ชื่น แก้วเอียด เพื่อไปจำพรรษาที่วัดควรขันตามเดิม กำนันพันทับ จันทสุวรรณ กับชาวบ้านจำนวนหนึ่ง พากันมานิมนต์หลวงพ่อเล็ก ลมฺภโก ให้ไปจำพรรษาที่วัดเจริญภูผา (จุ้มปะ) ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาท่านจึงตกลงรับปากกำนันพันทับและชาวบ้าน และเดินทางมาจำพรรษาที่วัดเจริญภูผา (จุ้มปะ) พร้อมด้วยอุบาสก ๑ คน กำนันและชาวบ้านพยายามเอาใจใส่ปรนนิบัติดูแลพระภิกษุ หลวงพ่อเล็ก และช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเจริญภูผา หรือวัดจุ้มปะ จนมีสภาพที่ดีกว่าเดิมมาก

    วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเรียบร้อยแล้ว อบรมสั่งสอนชาวบ้านเรื่อยมา สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัดจนถึงปัจจุบัน จากการเปิดเผยของนายชิน ขุนเพชร คูหาพระเครื่อง สี่แยกคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เล่าว่า หลวงพ่อเล็ก ลมฺภโก อดีตเจ้าอาวาสวัดเจริญภูผา (จุ้มปะ) ท่านมีเมตตาธรรมสูงให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์มาหาด้วยความเป็นกันเอง และมีเวลาว่างท่านจะเขียนอักขระลงยันต์ทำตะกรุดเครื่องรางของขลังจนชื่อ เสียงของหลวงพ่อเล็กเลื่องลือไปทั่วหลายจังหวัดภาคใต้เกี่ยวกับวัตถุมงคล อันศักดิ์สิทธิ์ของท่านที่ปลุกเสกเองแม้ชาวต่างชาติประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงค์โปร์ต่างขอสมัครเป็นศิษยานุศิษย์ของท่านและเช่าวัตถุมงคลจาก หลวงพ่อเล็กไปบูชา หลวงพ่อเล็ก ท่านเรียนไสยเวท และพุทธคุณ วิชาแพทย์แผนโบราณเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ชาวบ้านจาก หมอวาส ลุงฉ่ำ และลุงสังข์

    หลวงพ่อเล็กนับว่าเป็นพระสงฆ์ที่ใจดีมีเมตตาแก่ชาวบ้านทั่วไป ให้การต้อนรับแก่ผู้คนที่มาหาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของท่านแพร่ขยายทั่วไป และแผ่ขยายเข้าไปถึงในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์แม้ว่าต้อนปลายๆอายุท่านอาพาธด้วยโรคชรา แต่ก็ยังคงต้อนรับแก่ชาวบ้านที่ศรัทธามานมัสการอย่างเต็มที่จนกระทั่งร่างกายทรุดโทรมตามลำดับในที่สุดท่านก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 รวม อายุ 78 ปี คงทิ้งไว้แต่คุณงามความดี และวัตถุมงคลเป็นที่นิยมศรัทธามาจนตราบเท่าทุกวันนี้

    จากเวปไซด์รัตภูมิซิตี้ได้อ้างอิงอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระอธิการเล็ก ลมฺภโก วัดเจริญภูผา (จุ้มปะ) อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จึงได้ทราบถึงการฉันเอกาของหลวงพ่อเล็ก

    “ตลอดเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญภูผา ท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญก้าวหน้าเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาและเป็นความภูมิใจของชาวบ้านในละแวกนั้นอย่างมาก และชื่อเสียงของท่านเป็นที่เลื่องลือในด้านความศักดิ์สิทธิ์ และการรักษาโรคแผนโบราณ ตลอดจนปฏิบัติศีลจารวัตรดีงามเป็นที่เคารพนับถือแก่ชาวบ้านตลอดมา ท่านฉันเอกา (มื้อเดียว) มาตลอด

    พ่อท่านเล็กได้ตั้งใจศึกษาวิชาความรู้ทั้ง ๔ สาขาจนเชี่ยวชาญ รู้จริง เป็นจริง ทำได้จริง ท่านได้รับการยกย่องเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ชื่อเสียงเลื่องลือไปไกล ประชาชนทั้งใกล้และไกลมาเคารพสักการะและขอความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น การทำนายโชคชะตา การขอมีบุตร (สำหรับผู้มีบุตรยาก) การรักษาโรคแผนโบราณ การขอบารมีคุ้มครองเป็นเครื่องรางของขลัง วิชาความรู้ทั้ง ๔ สาขา พ่อท่านได้ศึกษาจากครูต่อไปนี้
    ๑.วิชาปริยัติธรรม พระธรรมวินัย ภาษาไทย อักษรขอม ไสยศาสตร์ คาถาอาคม ศึกษาจากท่านมหาลอย อาจารย์ไข่ และโยมบิดา ลุง และตา
    ๒.วิชาแพทย์แผนโบราณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ศึกษาจากหมอวาส ลุงฉ่ำ ลุงสังข์
    ๓.วิชาโหราศาสตร์ คำนวณเลข ศึกษาจากพระอาจารย์ ชื่น แก้วเอียด

    วิชาความรู้ที่ทำท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง
    ๑. การทำพิธีขอบุตรให้กับผู้มีบุตรยาก ท่านสามารถทำได้สำเร็จมากกว่า ๔๐๐ ราย มีการทำพิธีทางไสยศาสตร์ ทางศาสนา กินยาแผนโบราณ
    ๒.วัตถุมงคล ซึ่งพ่อท่านจะทำการปลุกเสกโดยตัวของท่านเองมีหลายชนิด เช่น ด้ายมงคล ทรายเสก ตะกรุดพิศมร ปลอกแขน ผ้ายันต์ ฯลฯ
    พระเครื่องและเหรียญต่าง ๆ เช่น พระผงรูปเหมือนเหรียญรูปเหมือนชนิดต่าง ๆ
    ๓.การรักษาตามตำรายาแผนโบราณ เช่น ยาแก้เลือดไม่ดีของผู้หญิง ยาแก้เลือดเมื่อคลอดลูกใหม่ ยาแก้ไข้ผิดน้ำ ยาปวงหรืออหิวาตกโรค ฯลฯ

    60.jpg 61.jpg
     
  11. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    371.เหรียญหลวงพ่อผิว วัดตาลกง รุ่นแรก ปี 2503 จ.เพชรบุรี ((( บูชา 450 บาท )))

    เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อผิว โดยเหรียญนี้ใช้แจกให้กับผู้ร่วมทําบุญ ในงานฌาปนกิจศพ พระธรรมะศิริ (หลวงพ่อผิว) อดีตเจ้าอาวาส วัดตาลกง เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓ เวลาประมาณเที่ยงคืน เศษๆ โดย ณ ตอนนั้น หากใครร่วมท่าบุญ จํานวน ๑๐ บาท ก็จะได้รับ เหรียญ พระธรรมะศิริ (หลวงพ่อผิว) เนื้อทองแดง (จัดสร้างเนื้อเดียว จํานวนสร้างหลักพันองค์) จํานวน ๑ เหรียญ

    แต่หลังจากที่เหลือจากการร่วมทําบุญแล้ว หลวงพ่ออุ้น ท่านก็ได้เก็บไว้ และได้ทยอยแจกเรื่อยมา โดยมิได้คิดมูลค่าในการเช่าบูชา

    โดยเหรียญนี้ผ่านการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์จํานวน ๙ รูป (ปลุกเสกก่อนงานฌาปนกิจศพประมาณ ๒ วัน) โดยมี รายนามพระสงฆ์ที่ร่วมปลุกเสก ดังต่อไปนี้
    ๑.หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
    ๒.หลวงพ่อรวม วัดท่าคอย
    ๓.หลวงพ่อเทียบ วัดมาบปลาเค้า
    ๔.หลวงพ่อวง วัดตามปลาเค้า
    ๕.หลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง
    ๖.หลวงพ่อเยิ้ม วัดบางจาก
    ๗.หลวงพ่อขาว วัดอินจําปา


    พระอธิการผิว ธมมสิริ นามสกุล กล่อมใจ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2437 ที่บริเวณทุ่งหนองตาอาน ใกล้เขาพรหมชะแง้ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ในวัยเด็กเมื่ออายุประมาณ 7 – 8 ขวบ โยมบิดามารดาได้นำไปฝากอยู่ที่วัดท่าคอย เพื่อเล่าเรียนเขียนอ่านหนังสือตามปกติของเด็กในวัยเดียวกัน เมื่ออายุ 20 ปี ได้เข้ารับราชการเกณฑ์เป็นตำรวจจังหวัดเพชรบุรีอยู่ 3 ปี จนได้ยศสิบตรี ต่อมาเกิดป่วยเป็นฝีหัวใหญ่จนต้องลาออกจากตำรวจ กลับมารักษาตัวที่บ้านจนหาย ครั้นอายุ 25 ปี ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ พัทธสีมา วัดตาลกง มีพระครูญาณเพชรรัตน์ (ปลั่ง) วัดศาลาเขื่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูชัน วัดมาบปลาเค้า เป็นพระกรรมวาจารย์ หลวงพ่อพุด วัดตาลกง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาทางธรรมว่า “ธมมสิริ” ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าหลวงพ่อผิวได้ไปเล่าเรียนหรือจำพรรษาในที่ใดเป็นระยะเวลานานๆ ทราบแต่เพียงว่าใน พ.ศ. 2469 หลวงพ่อพุด เจ้าอาวาสวัดตาลกงได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์และเหล่าทายกทายิกาได้พร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อผิวขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดตาลกงสือต่อ หลวงพ่อผิวเป็นผู้มีอุปนิสัยที่เป็นอยู่อย่างสันโดษ แต่มีความเชี่ยวชาญในสมถกรรมฐานและวิทยาคมสูงยิ่ง โดยเฉพาะวิชาลงนะที่กระหม่อม ซึ่งต่อมาท่าได้ถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ให้กับหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ศิษย์ผู้ใกล้ชิดจนหมดสิ้น ทั้งนี้หลวงพ่อผิวยังมีศักดิ์เป็นลุงแท้ๆ ของหลวงพ่อจ้วน วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อีกด้วย หลวงพ่อผิว ได้ถึงแก่มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ. 2501 สิริอายุได้ 64 ปี พรรษา 39

    2.jpg
     
  12. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    373.เหรียญหลวงพ่อเห่ง วัดอุตมิงค์ หลังเรียบมีจาร รุ่น2 ปี2502 เพชรบุรี ((( บูชา 450 บาท )))

    เหรียญประสบการณ์ สวยๆหลายๆพัน รุ่นแรกสวยๆหลักหมื่น พระประสบการณ์โซนบ้านแหลมครับ

    พระครูวชิวกิจใสภณ นามเดิม เห่ง นามสกุล ตูวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2427 ชาติภูมิเดิมอยู่ที่ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อครั้งยังยาว์วัยได้เข้าศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดอุตมิงค์ จนจบการศึกษา จนกระทั่งอายุครบ 21 ปี จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ พัทธสีมาวัดอุตมิงคาวาส ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมี พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเคราเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหวัง วัดโพธาวาส เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการเปลี่ยนวัดอุตมิงคาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาในการอุปสมบทว่า “สิริจนฺโท” ครั้นอุปสมบทแล้วท่านได้จำพรรษาที่วัดอุตมิงคาวาส อยู่เล่าเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบ่นทำวัตรสวดมนต์ ตลอดจนวิปัสสนาธุระ และ พุทธาคมต่าง ๆ จากอธิการเปลี่ยน พระอธิการหวัง และ พระอธิการทรัพย์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างกันมากนักและยังเดินทางไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายรูป กาลต่อมาใน พ.ศ. 2453 พระอธิการเปลี่ยน เจ้าอาวาสวัดอุตมิงคาวาส ได้มรณภาพลง ด้วยความที่หลวงพ่อเห่ง ท่านเป็นผู้เอาใจใส่เป็นธุระในกิจการคณะสงฆ์เป็นอย่างดี จึงเป็นที่ไว้วางใจของพระอธิการเปลี่ยน คณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ครั้นถึง พ.ศ. 2497 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูวชิรกิจโสภณ” อุปนิสัยและจริยวัตรของหลวงพ่อเห่ง ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษาเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำวัตรสวดมนต์ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นประจำ เป็นผู้พูดน้อย ค่อนข้างขรึม ไม่ชอบการสนทนาที่ไม่มีสาระประโยชน์ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ศิษย์และผู้คนละแวกวัดต่างเคารพเสื่อมใสและยำเกรงท่านมาก ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านได้มีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียนอยู่บ่อยครั้งก่อนที่ท่านจะมรณภาพได้อาพาธชนิดสามวันดีสี่วันไข้ จนในที่สุดท่าได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2507 เวลา 17.00 น. สิริอายุได้ 80 ปี พรรษา 59 ทางคณะกรรมการวัดและศิษยานุศิษย์ ได้เก็บสรีระสังขารของหลวงพ่อเห่งไว้เพื่อบำเพ็ญกุศล และจัดงานพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 – 18 เมษายน พ.ศ. 2508

    18.jpg
     
  13. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    394.เหรียญหลวงพ่อกรณ์ วัดพลับพลาชัย ปี 2494 จ.เพชรบุรี ((( บูชา 850 บาท ))))

    เหรียญเก่าหายาก พระเจิเสกหมู่ ในยุค ก่อน 2500 ในยุคนั้นพระเกจิเมืองเพชรมีแต่สุดยอดพระอริยะสงฆ์ แห่งยุคหลากหลายท่าน เป็นเหรียญเก่าที่ควรค่าแก่การเก็บสะสมและบูชา เหรียญนี้สภาพสวย 100%

    หลวงพ่อกร วัดพลับพลาชัย หรือ พระเพชรคุณมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัย ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ท่านมีนามเดิมว่า กร ปทุมัง พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยไม่ปรากฏชื่อโยมบิดาและโยมมารดาของท่าน

    ชีวิตในวัยเยาว์บิดามารดาได้พามาฝากกับท่านอาจารย์เหว่า วัดพลับพลาชัย เพื่อศึกษาเล่าเรียนหนังสือและวิชาช่างไม้แกะสลัก

    ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ หลวงพ่อกร มีอายุได้ ๑๕ ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดพลับพลาชัย เพื่อศึกษาเล่าเรียน

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ หลวงพ่อกร ท่านมีอายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้รับฉายาว่า "สุวณฺณโชโต" โดยมี

    พระครูญาณวิสุทธิ์ (พ่วง) วัดแก่นเหล็ก เป็นพระอุปัชฌาย์

    พระอธิการฤทธิ์ วัดพลับพลาชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    พระกวีวงศ์ (เจิม) วัดแก่นเหล็ก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดทองนพคุณ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ท่านได้จำพรรษาแรกอยู่ที่วัดทองนพคุณ แล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดพลับพลาชัย เพื่อศึกษาวิชากับหลวงพ่อฤทธิ์

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พระอธิการฤทธิ์ถึงแก่มรณภาพ ชาวบ้านและทางคณะสงฆ์จึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อกร ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยหลวงพ่อเชื่อมเจ้าอาวาสรูปถัดมา เพื่อแจกในงานหล่อรูปหลวงพ่อกรเท่าองค์จริง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
    ด้านหน้า เป็นรูปจำลองของหลวงพ่อกรครึ่งองค์หันข้างพาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกในงานหล่อรูป พระเพชรคุณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี ๒๔๙๔"

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ"


    6.jpg
     
  14. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    395.เหรียญท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมนฯ กรุงเทพฯ เนื้อกะไหร่ทอง ((( บูชา 950 บาท )))

    เหรียญรูปเหมือนท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน พิมพ์พุ่มข้าวบิณฑ์ กะไหร่ทอง สภาพสวย เหรียญนี้มีการสร้างเสริมด้วย แต่ทันท่านทุกบล๊อค องค์นี้เป็นเหรียญบล๊อคยุคแรกๆ ไม่ค่อยเจอหมุนเวียนในสนามพระ เหรียญจะมีความเก่า ลูกศิษย์ยุคต้นๆ หลายท่านบอกตรงกันว่าท่านอาจารย์มักแจกให้ลูกศิษย์บูชา มีประมาการณ์มากมาย ทั้งแคล้วคราด ปลอดภัย เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน

    5.jpg
     
  15. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    396.เหรียญอาจารย์ฮะ วัดดอนไก่ดี ปี 2500 จ.สมุทรสาคร (((บูชา 350 บาท ))) "จอง">>>พี่สุภชัย

    หลวงปู่ฮะ หรือพระสมุทรคุณาจารย์ วัดดอนไก่ดี พระเกจิชื่อดังอีกรูปหนึ่งของสมุทรสาคร ท่านเป็นพระสงฆ์ของสมุทรสาคร 1 ใน 2 รูป ที่ปลุกเสกพระพุทธ 25 ศตวรรษ ในปี 2500 (อีก1 รูปคือหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ) เหรียญนี้เป็นเหรียญเนื้อเงินรุ่นที่2 เป็นเหรียญที่ระลึกเนื่องในงานทำบุญวันเกิด

    63.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2024
  16. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    397.เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา รุ่น 2 จ.นราธิวาส ((( บูชา 200 บาท )))

    77.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2024
  17. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    398.เหรียญพระประธาน วัดโคกเมรุ นครศรีธรรมราช ปี 2517 ((( บูชา 200 บาท )))

    เหรียญเสมา กะไหล่ทอง พระประธาน วัดโคกเมรุ นครศรีธรรมราช ปี 2517 สร้างเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 และ พระบรมวงศานุวงศ์ ทรงเสด็จ ไปยังพระอุโบสถวัดโคกเมรุ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2517

    มวลสาร ที่นำมาสร้างเททองหล่อพระ ผ่านการปลุกเสกจาก
    หลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน


    หลวงพ่อท่านขาว วัดโคกเมรุได้จัดทำพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่
    พระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายใต้ร่วมนั่งปลุกเสก เช่น
    หลวงพ่อท่านเขียว วัดหรงบล
    พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
    พ่อท่านขาว วัดโคกเมรุ เป็นต้น.


    79.jpg
     
  18. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    399.สาริกา หลวงพ่อน่วม วัดหลวงครู เนื้อผงลงรัก จ.นครศรีธรรมราช ((( บูชา 12,000 บาท )))
    สภาพสวยมาก แท้ดูง่าย

    สาริกาอันดับหนึ่ง ของภาคใต้ สมัยก่อนผู้นิยมสะสมพระเครื่องสายใต้ ได้จัดความนิยมพระเครื่องในสายใต้ที่โดดเด่นด้านโชคลาภ เจรจา ค้าขาย มหาเสน่ห์ ซึ่งพระเครื่องส่วนใหญ่ในภาคใต้มักจะเน้นเรื่องเหนียว มหาอุตต์คงกระพันชาตรี คุ้มครองแคล้วคราด เพราะพระอาจารย์มักสร้างวัตถุมงคลให้ทหารไปออกรบในสงครามโลก เป็นต้นมา ทำให้ในยุคปัจจุบันที่อาชีพทำมาค้าขายเป็นอาชีพที่นักสะสมพระเครื่องประกอบอยู่จึงหาวัตถุมงคลด้าน โชคลาภค้าขาย มาบูชาติดตัว ย้อนไปช่วงประมาณปี 2551-2555 นักนิยมพระเครื่องสายใต้ที่บูชาพระด้านโชคลาภนี้ ต่างยอมรับวัตถุมงคลสายใต้ที่ให้ผลเป็นเลิศ อยู่หลายพระอาจารย์ แต่ที่โดดเด่นผมเห็นจะไม่พ้น นางกวักหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า สาริกาหลวงน่วม วัดหลวงครู องค์พ่อจตุคามรามเทพ พระหลวงพ่อรุ่ง วัดตรังคภูมิ เป็นต้น สำหรับสาริกาหลวงพ่อน่วม วัดหลวงครูนั้น โดดเด่นด้านเจรจาค้าขาย

    9.jpg 10.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.2 KB
      เปิดดู:
      59
  19. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    400.เหรียญพระอาจารย์ตั๊กฮี้ วัดเทพพุทธาราม ปี 2480 จ.ชลบุรี ((( บูชา 5,500 บาท )))"จอง">>>พี่j999
    ประวัติศาสตร์เหรียญพระคณาจารย์จีนของประเทศไทย
    องค์นี้สภาพสวย


    เหรียญพระอาจารย์ตั๊กฮี้ เป็นเหรียญประสบการณ์ ที่นักนิยมสะสมพระเครื่องในจังหวัดชลบุรี ต่างศรัทธานับถือ ไม่เฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน แม้แต่ นักนิยมพระเครื่องก็นิยมบูชา จนมีราคาค่างวดที่ไม่ธรรมดา อีกทั้ง เป็นเหรียญยุคเก่าหายาก จึงเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในแถบชลบุรีและจังหวัดข้างเคียง ในยุคสมัยปัจจุบัน พระเครื่องสายจีน โดยเฉพาะสายพระอาจารย์โพธิ์แจ้ง ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างมากมายทำให้นักสะสมพระเครื่องสายท่านอาจารย์โพธิ์แจ้ง หันมาสนใจเหรียญรุ่นนี้ไปด้วย ถือได้ว่าท่านอาจารย์ตั๊กฮี้ เป็นพระอาจารย์ปู่ ของท่านเลยก็ว่าได้ เหรียญรุ่นแรกนี้ไม่ทันท่านแต่สันนิษฐานว่าพระอาจารย์เชี่ยงหงีและบรรดาลูกศิษย์ท่านสร้างขึ้นเพื่อบูชาคุณ เท่าที่ทราบถือเป็นเหรียญคณาจารย์จีนนิกายที่เก่าที่สุดเท่าที่เห็นมา เท่าที่พบเจอสร้างเฉพาะเหรียยเนื้อทองแดงปรากฎ ผิวไฟ กะไหร่ทอง

    13.jpg

    พระอาจารย์เจ้าตั๊กฮี้ ท่านได้บรรพชา ณ สำนักวัดมังกรกมลาวาส โดยมีพระอาจารย์จีนวังสมาธิวัตร (กวยหงอ)เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายแห่งประเทศไทย รูปที่สอง เป็นพระอุปัชฌาย์ และศึกษาธรรม ณ วัดมังกรกมาลาวาส ครั้นญาติพี่น้องในเมืองไทยของท่านทราบว่าได้ออกบวชที่ประเทศไทย จึงได้ส่งข่าวให้ภรรยาของท่านที่เมืองจีนทราบ ภรรยาของท่านจึงได้เดินทางมาเมืองไทยเพื่ออ้อนวอนร้องขอนิมนต์ท่านกลับมาตุภูมิ ท่านทนการอ้อนวอนไม่ได้จึงจำต้องกลับสู่มาตุภูมิ แต่ท่านก็ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมใดๆ แต่กลับเพิ่มทวีการบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเคร่งครัด โดยบำเพ็ญภาวนาในคอกโค สมาทานธุดงควัตรต่างๆ เพื่อให้สำเร็จเป็นตบะธรรมเผากิเลส ฝ่ายภรรยาของท่านนั้นมักมากวนท่านอยู่เนืองๆ เช่น จัดอาหารถวายท่านแต่ได้แทรกชิ้นเนื้อสัตว์ในอาหารชนิดนั้นด้วย โดยหวังจะให้ท่านเลิกมังสวิรัติ แต่ท่านก็เลือกฉันเฉพาะที่พวกเป็นพืชผัก บางคราวก็ถึงกับยอมอดฉันแต่กากใบชาแทน ด้วยอานุภาพแห่งสมาธิภาวนาและสัจจะที่แรงกล้าของท่าน ทำให้ท่านมีวรรณะผุดผ่องใครที่เข้าใกล้ก็ได้รสธรรมจากท่านด้วย จนภรรยาของท่านได้สติจึงได้กราบขมาโทษจากท่านและขอบำเพ็ญพรตถือศีลกินเจตามท่านด้วย ครั้นเมื่อท่านได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม พระอาจารย์กวยหงอ เห็นความเคร่งครัดของท่าน จึงได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้แสดงธรรมแก่สาธุชนทั้งชาวไทย-ชาวจีน ประจำ ณ สำนักเต๊กฮวยตึ๊ง จังหวัดเพชรบุรี

    ต่อมาพระอาจารย์ตั๊กฮี้ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) และนับเป็นอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ณ ที่วัดแห่งนี้ท่านอาจารย์ได้รับศิษยานุศิษย์เพื่อบรรพชาจำนวนกว่า 30 รูป และมีศิษย์ที่สำคัญรูปหนึ่งฉายา “เซี่ยงหงี” ต่อมาท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เป็นอดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ 5 พระอาจารย์ตั๊กฮี้ได้ครองวัดอยู่ระยะหนึ่ง จึงออกจาริกแสดงธรรมโปรดชาวพุทธตามจังหวัดต่างๆ เรื่อยมาจนถึงจึงหวัดชลบุรี

    ต่อมาท่านได้จาริกแสดงธรรมมาถึงจังหวัดชลบุรี และได้แสดงธรรมะ พุทธศาสนิกชนต่างพากันเลื่อมใสปฏิปทาวัตรปฏิบัติของท่าน ในครั้งนั้นมีทายกทายิกาผู้ใจบุญหลายคนได้ถวายที่ดิน เช่น นางถั่ง, นายเผือด, นางถมยา เพื่อให้ท่านได้สร้างวัดเพื่อจำพรรษา และตั้งชื่อเป็นภาษาจีนว่าวัด “เซียนฮุดยี่” ต่อมาจึงตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “วัดเทพพุทธาราม” โดยมีเหตุผลของการตั้งชื่อวัดนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าเดิมก่อนที่ท่านจะบวชได้ถือลัทธิเต๋า ซึ่งมีอุดมคติสำเร็จเป็นเซียนหรือเทพเจ้า และต่อมาท่านได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอุดมคติสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านจึงนำชื่อมาผสมกันว่าวัด “เซียนฮุดยี่ หรือ วัดเทพพุทธาราม” ส่วนทางวัดจีนประชาสโมสร จังหวัดฉะเชิงเทรานั้น ท่านได้มอบหมายให้พระอาจารย์เซี่ยงหงี ซึ่งเป็นศิษย์ให้ดูแลต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสภายหลัง ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านพระอาจารย์ตั๊กฮี้ ท่านได้เกิดเจ็บป่วยเนื่องจากความชราภาพ พระอาจารย์เซียงหงี เจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร เห็นว่าท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพพุทธาราม ไม่มีลูกศิษย์ดูแลท่านอย่างใกล้ชิด จึงได้เดินทางมานิมนต์ท่านกลับวัดจีนประชาสโมสรเพื่อจะทำการรักษาอาการเจ็บป่วย และจะได้ดูแลท่านอย่างใกล้ชิด ต่อมาไม่นานท่านได้ถึงแก่กาลดับขันธ์ ขณะ ที่ท่านใกล้จะดับขันธ์ท่านกำหนดรู้เวลาดับขันธ์ของท่านเอง จึงได้ลุกขึ้นนั่งเข้าสมาบัติมีสติสัมปัชชัญญะตั้งอยู่ในอารมณ์พระกัมมัฏฐาน แล้วกระทำกาลกิริยาลงด้วยอาการสงบ ด้วยอานุภาพของสมาธิพละที่อบรมปฏิบัติมา ยังให้สรีระสังขารของท่านมิได้เน่าเปื่อยผุพังอย่างน่าอัศจรรย์ ณ วัดจีนประชาสโมสร หลังจากนั้น มาท่านพระอาจารย์เซียงหงี เจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร ได้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสและดูแลวัดเทพพุทธาราม ระยะหนึ่ง ภายหลังท่านพระอาจารย์เซียงหงี ได้รับการสถาปณาเป็น พระอาจารย์จีนวังสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย องค์ที่5 จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดมังกรกมาลาวาส ที่เยาวราช โดยมีพระภิกษุเซี่ยงกุ่ย เซี่ยงกี่ มาดูแลชั่วคราว ต่อมาท่านได้ขอลาออกจากตำแหน่ง วัดจึงได้เสื่อมโทรมลงไปชั่วขณะหนึ่ง

    จนมาถึงยุคพระเดชพระคุณพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) อดีตเจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 6 จึงได้รับภาระหน้าที่ และได้ขอประทานกราบเรียนเสนอ สมเด็จพระสังฆนายก ในสมัยนั้นเพื่ออนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสงฆ์ขึ้นดูแลวัด โดยมีหลวงจีนธรรมนันท์จีนประพัทธ์(อี่เม้ง) เป็นประธาน พระภิกษุเย็นเส็ก เป็นรองประธานรับหน้าที่ดูแลควบคุมกิจการต่างๆ ของวัดและมีพระภิกษุเย็นสู่ พระภิกษุเย็นเทียน พระภิกษุเซี่ยงกุ่ย เป็นกรรมการ ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2505 ทางวัดได้สร้างวิหารพระบูรพาจารย์ กุฏิเจ้าอาวาส กุฏิสงฆ์ 16 ห้อง หอธรรม หอฉัน หอต้อนรับอาคันตุกะเรียบร้อยแล้ว ยังคงมีแต่พระเจดีย์อุโบสถประจำวัดที่จะดำเนินการสร้างให้สำเร็จต่อไป

    1.jpg

    8.jpg 9.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2024
  20. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    401.พระโพธิสัตว์ดารา เนื้อผง ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมนฯ ((( บูชา 3,500 บาท )))
    องค์นี้เนื้อจัด สภาพสวย
    พระโพธิสัตว์ดารา เนื้อผงอง์นี้เป็นพระชุดยอดนิยมของท่านเจ้คุณโพธิ์แจ้ง สร้างในยุคต้นๆ ด้วยมวลสารที่มีลักษณะเดียวกับสมเด็จสัพพัญญูและพระเครื่องยุคต้นๆของท่าน อิทธิคุณของพระโพธิ์สัตว์ดารา แทบจะคลอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะแคล้วคราดปลอดภัย เจริญโภคทรัพย์ สุขภาพ ฯลฯ

    4.jpg 5.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2024

แชร์หน้านี้

Loading...