ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. naproxen

    naproxen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +742
    เรียน อ.สุกิจ
    ปล่อยวาง มิใช่ว่างเปล่า
    ไม่ถือมั่น มิใช่ไม่ถือ
    ไม่ยึดมั่นถือมั่น มิใช่ไม่ยึด

    จะกล่าวปรมัตถธรรมต้องรู้จริงแน่จริง ไปสัมมาภาวนาให้รู้แจ้งก่อนน่าจะดีขึ้น
    ถูกต้องมากขึ้น

    อย่ามาอ้างมั่ว ทำให้พุทธพจน์
    บรมโพธิพระฮุ่ยเหนิง (慧能) หรือ "เว่ยหลาง"
    พระบรมโพธิพระอวโลกิเตศวร ถูกเข้าใจผิด

    ถ้าอยากได้สัพพัญญุตญาณต้องเข้าใจเสียใหม่

    ป.ล.ถ้าอยากเป็นทองแท้อย่ากลัวไฟลน
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูลจากเฟสบุ๊ก Piyacheep S.Vatcharobol shared a link.
    9 hours ago near Bangkok ·
    วันนี้ที่ ๑๘ มิถุนายน ที่แม๊กซิโก ระเบิดสูง ๔ กิโลเมตร

    Jorge Cocera SebastianThe Solar Watchers: Cycle 24
    Violent explosion shakes Mexico’s Popcatepetl volcano | The Extinction Protocol: 2012 and beyond
    Violent explosion shakes Mexico's Popcatepetl volcano
    theextinctionprotocol.wordpress.com

    คือภูเขาไฟ Popcatepetl volcano ที่ประเทศแม็กซิโกเกิดการประทุครับ ขอขยายความเดี๋ยวจะงงกัน
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ขอบคุณครับคุณ naproxen บางทีผมอาจเข้าใจผิด
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Violent explosion shakes Mexico’s Popcatepetl volcano

    image.jpg

    June 18, 2013 – MEXICO – Mexico’s active Popocatepetl volcano has registered a massive explosion spewing ash and incandescent rock almost 4 kilometers high. Authorities have warned that winds could blow the ash cloud as far away as Mexico City. Inhabitants of villages up to 25 kilometers from Popocatepetl (colloquially known as ‘Don Popo’) rushed out of their houses when the massive explosion reverberated through their homes. Esther Matinez, resident of Amecameca municipality, told Mexican publication La Jornada that the blast was like a rocket explosion. Around 4.5 million people live within a 50-kilometer radius of the active volcano, 650,000 of whom are considered to be at high risk. According to authorities in the state of Puebla, where the second-tallest volcano in Mexico is located, the incandescent fragments released in the blast fell as far as 2 kilometers from the crater. Director of Puebla’s Civil Protection department Jesus Morales said that burning rocks sparked small fires around the volcano. “There were clouds at the time of the eruption so it was possible to observe the large shock wave accompanied by a plume of ash and incandescent material,” Morales said. Mexico’s National Center for Prevention of Disasters (Cenapred) said the volcano had returned to its previous activity level, and that the volcanic alert level would remain at ‘yellow phase two.’ In addition, volcanic ash that was blown up to 4 kilometers into the air could be shifted by wind currents and then fall on Puebla, or even as far away as Mexico City, Cenapred warned. Popocatepetl had previously been in phase two after breaking the record for the most volcanic emissions in one day – the 5,452 –meter-tall giant gave off 300 emissions in just one day in May. In December 2000, the volcano registered one of its largest eruptions in recent history, prompting the mass evacuation of the surrounding countryside. The name Popocatepetl originates from the native Mexican Nahuatl language and means ‘smoking mountain.’ –RT
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คุณ naproxen ครับผมยังไม่ได้เป็นอะไรเลยครับ แต่ขออธิษฐานจิตครับ เพราะการสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญานใครก็สามารถอธิษฐานจิตได้ แต่ใช้เวลานานกว่าบรรลุ เพราะต้องใช้เวลาหลายอสงไขยทำต่อไปเรื่อย และการอธิษฐานจิตชาตืนี้ใช่สำเร็จ ก็ต้องมาต่อชาติหน้า หรืออีก อสงไขยชาติ
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผมไม่กล้าแอบอ้างอะไรครับ กลัวบาป
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    น้ำท่วมใหญ่ใน รัฐหิมาจัลประเทศ และ รัฐอุตตราขัณฑ์ ของ อินเดียเกิน 131 ราย ยังคงเพิ่มขึ้น สังเกตจากภาพครับมีเทวรูปพระศิวะลอยน้ำมาด้วยครับ
    Rishikesh_flood.jpg
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Solar Flux Index (SFI)
    (ข้อมูลจากมารู้จัก Solar Flux Number กันครับ)
    Solar Flux คือ พลังงานคลื่นวิทยุ (Radio Energy) ที่มาจากดวงอาทิตย์ เมื่อ Solar Activity รุึนแรงขึ้นพลังงานวิทยุก็จะเพิ่มสูงขึ้นการไอออนไนส์ของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ก็จะเข้มข้นขิ่งขึ้น.
    การวัดค่า Solar Flux จะวัดในเวลา 1700 UTC ทุกวัน ณ เมื่อง Ottawa ประเทศ Canada ที่ความถี่ 2800 MHz. สามารถใช้ค่า Solar Flux number ทำนายหรือคาดคะเนสภาวะการแพร่คลื่นของย่านความถี่ต่างๆ เป็นรายวัน ตามตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Sunspot Number ที่เป็นค่าเฉลี่ย กับค่า 2800 MHz Solar Flux เฉลี่ยค่า Solar Flux จะเปลี่ยนแปลงแบบเป็นสัดส่วนโดยตรงกับ Solar Activity บนดวงอาทิตย์

    การอ่านค่า Solar Flux แบบคร่าวๆ ครับ
    ค่า Solar Flux จะเริ่มต้นที่ 60 กว่าๆ ไปถึง 250
    ค่า Solar Flux = 60 - 70 ความหมายว่า Solar Activity อยู่ในภาวะเงียบ "QUIET" การแพร่คลื่นของย่าน 14 MHz (20 M) จะอยู่ในสภาวะแย่มากมาย (63 - 64 = Sunspot เป็น Zero)
    ค่า Solar Flux = 90-110 หรือสูงกว่านี้จะบ่งบอกว่า การแพร่คลื่นย่าน 24 MHZ (12 M) จะดี.
    ค่า Solar Flux = 120 ขึ้นไป ภาวะการแพร่คลื่นของย่านความถี่ 28 MHz (10 M) หรือสูงขึ้นไปถึงย่าน 50 MHz (6 M) นี้ หากเป้นการสื่อสารระยะทางไกลๆ ค่า Solar Flux จะต้อง = 200 ถึงจะเป็นที่เชื่อถือวางใจได้จริง ความถี่ยิ่งสูงขึ้น ค่า Solar Flux ต้องสูงตาม จึงจะเหมาะสมกับการแพร่คลื่นที่ดีนะครับ.

    42.JPG

    เพื่อให้เข้าใจ SFN (Solar Flux Number) นั้น เรามาทำความเข้าใจกับการแพร่กระจายคลื่นย่าน HF กันก่อนครับ การแพร่กระจายคลื่นย่าน HF อาศัยชั้นบรรยากาศในการเดินทาง ชั้นบรรยากาศเริ่มจากความสูง 60กม. ถึง 450 กม.เหนือพื้นโลก ชั้นบรรยากาศถูกแบ่งเป็น D, E และ F ซึ่งชั้น F ยังแบ่งเป็น F1, F2
    โมเลกุลก๊าซที่อยู่ในแต่ละชั้นบรรยากาศเกิดแตกตัวจากรังสีจากดวงอาทิตย์ กลายเป็นชั้นอิเลคตรอน ชั้นอิเลกตรอนอิสระนี้เองที่สะท้อนคลื่นกลับมายังโลก การแตกตัวนี้เกิดขึ้นในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืน,อิออนเริ่มร่วมตัวกันกลับไปเป็นโมเลกุล บรรยากาศชั้น D และ E รวมตัวกันเป็นหนึ่ง แต่ชั้น F ไม่รวมตัว คอยสะท้อนคลื่นในตอนกลางคืนต่อไป มีเพียงความถี่ย่าน HF เท่านั้นที่สะท้อนชั้นบรรยากาศได้ ความถี่สูงกว่านี้จะทะลุ และความถี่ต่ำกว่านี้จะถูกดูดซับไปก่อนการสะท้อน ความถี่ย่าน VHF จะทะลุชั้นบรรยากาศออกไป ซึ่งเราใช้ความถี่ VHF/UHF ในการติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมที่อยู่เหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป
    การติดต่อสื่อสารข้ามทวีปของคลื่น HF เกิดจากที่คลื่นพุ่งขึ้นไปสะท้อนชั้นบรรยากาศแล้วตกลงมาชนพื้นโลก กระเด้งกลับไปสะท้อนชั้นบรรยากาศอีก เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าสัญญาณจะจางหายไป โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางตัวสามารถคำนวนจำนวนครั้งของการสะท้อนของคลื่นแต่ละความถี่ได้

    จุดดับบนดวงอาทิตย์
    นักวิทยุย่าน HF รู้ดีว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างจุดดับบนดวงอาทิตย์และการแพร่กระจายคลื่น จุดดับบนดวงอาทิตย์เป็นจุดมืดที่อยู่บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ ซึ่งเย็นกว่าพื้นที่รอบข้าง เกิดขึ้นจากสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์บิดตัว จุดดับจะมีมากขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์มีกิจกรรมสูงขึ้น และสร้างรังสีที่ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศโลก จำนวนจุดดับและระดับกิจกรรมบนดวงอาทิตย์ทั่วไป เปลี่ยนแปลงไปตามวงรอบ 11 ปี รอบที่ผ่านมาเป็นรอบที่ 23 โดยค่าโซลาร์ฟลักซ์สูงสุดในปี 2000 และรอบนี้เริ่มเมื่อปี 2008 และคาดว่าจะมีค่าสูงสุดประมาณปี 2010-2011
    ชั้นบรรยากาศ F เป็นเหตุผลโดยตรงของการติดต่อสื่อสารย่าน HF อันเนื่องมาจากรังสีอุลตร้าไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ระหว่างที่ดวงอาทิตย์มีกิจกรรมสูง ก็จะมีรังสีแผ่ออกมามาก ส่งผลให้เกิดการแตกตัวของอิออนในชั้นบรรยากาศ F ทำให้คลื่นวิทยุย่าน HF สะท้อนได้ดีกว่า ยกตัวอย่างในช่วงค่าโซลาร์ฟลักซ์สูง ย่าน 10m(28-30 MHz)มักจะเปิดนานกว่าปกติและติดต่อได้ระยะทางไกลแม้ใช้กำลังส่งต่ำ
    ชั้นบรรยากาศ D อิออนก็แตกตัวมากขึ้นในระหว่างค่าสูงเช่นกัน ทำให้เกิดการลดทอนสัญญาณได้ โดยเฉพาะในความถี่ HF ย่านต่ำ (1.5-7 MHz)
    ขณะเดียวกันการประทุของดวงอาทิตย์ก็เกิดบ่อยขึ้นในขณะที่มีกิจกรรมสูง ซึ่งสามารถรบกวนการแพร่กระจายคลื่น HF ได้เช่นกัน
    การวัดรังสีจากดวงอาทิตย์นั้นวัดที่ความถี่หลายๆค่า หนึ่งในนั้นใช้ความถี่ 2800 MHz (10.3cm) สัญญาณที่ความถี่นี้เรียกว่า ค่า Solar Flux Number ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 60-300
    การวัดค่าโซลาร์ฟลักซ์ เป็นแนวคิดทั่วไปในการระบุปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ที่กระทบต่อชั้นบรรยากาศ ค่าโซลาร์ฟลักซ์ยิ่งสูง ระบุถึงการแพร่กระจายของความถี่ที่สูงขึ้น ค่าโซลาร์ฟลักซ์สามารถนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลอื่นเพื่อคำนวนหาระยะทางที่ความถี่หนึ่งๆจะเดินทางไปได้หรือระดับสัญญาณที่รับได้
    ผู้ใช้งานย่าน HF มักจะเฝ้าดูค่าโซลาร์ฟลักซ์เพื่อใช้เป็นตัวทำนายการติดต่อสื่อสารที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ

    1.jpg
    ที่มา HF Shortwave Radio Propagation - Basics

    ขยายรูปหน่อย จะเห็นว่าความถี่ที่เราเล่นกัน 27MHz นั้นถือเป็นคลื่นย่านบน จะสะท้อนชั้น F1 ซึ่งแตกตัวเป็นชั้นหนาๆในตอนกลางวัน(แสงอาทิตย์ส่อง) ทำให้ตอนกลางวันเราจึงติดต่อได้ดีกว่า แต่เมื่อดวงอาทิตย์ตก ชั้น F1 ก็จะสลายไป ช่วงนี้เราจึงไม่ค่อยได้ยินใครในตอนกลางคืน แต่ถ้าปริมาณอิออนไนซ์สูง(โซลาร์ฟลักซ์สูง) เมื่อดวงอาทิตย์ตกแล้ว ชั้นบรรยากาศนั้นก็สลายตัวช้า ติดต่อในตอนกลางคืนได้อยู่ ย่านบนๆซึ่งถือเป็นความถี่กลางวัน เช่น 21MHz 28MHz จะติดต่อได้ไปจนเที่ยงคืน ตี1 เลยครับ กว่าอากาศจะปิด (แต่ช่วงนี้รอไปก่อนนะ)

    เครดิต ภาพจากหนังสือ Practical Antenna Handbook โดย Joseph Carr

    3.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2013
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    SUNSPOTS NUMBER ข้อมูลจาก HTTP://WWW.HS8JYX.COM/HTML/SUNSPOTS.HTML
    จุดดับบนดวงอาทิตย์ (SUNSPOTS)
    เป็นบริเวณที่มืด (Dark, cool areas) ที่ปรากฏที่ผิวดวงอาทิตย์ มีการเปลี่ยนแปลงครบรอบ ประมาณ 11 ปี (11-year cycle) เมือจำนวนจุดดับ เกิดขึ้นมากที่สุด จะทำให้เกิดการ ไอออนมาก การสื่อสารระยะไกล จะดีมากอย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่ง ดูได้จากค่า Sun spot number โดยใช้กล้องโทรทัศน์

    จุดมืดดวงอาทิตย์ (Sunspot) คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งบนผิวดวงอาทิตย์ (โฟโตสเฟียร์) ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่มีปั่นป่วนสูงมาก ซึ่งได้ทำให้เกิดการขัดขวางกระบวนการพาความร้อนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีอุณหภูมิสูงถึง 4000-4500 เคลวิน เทียบกับบริเวณปกติโดยรอบที่มีอุณหภูมิประมาณ 5800 เคลวิน ถ้าเรานำจุดมืดออกมาจากดวงอาทิตย์มันจะสามารถเปล่งแสงสว่างได้มากกว่าแสงจาก การเชื่อมเหล็ก เสียอีก จุดมืดยังเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์อีกมาก เช่น บ่วงโคโรนา (Coronal loop) และ การเชื่อมกันของสนามแม่เหล็ก (Magnetic reconnection) นอกจากนี้การระเบิดใหญ่บนดวงอาทิตย์ (Solar flare) และ การพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejection) ก็ยังเกิดขึ้นในบริเวณสนามแม่เหล็กรอบๆ จุดมืดอีกด้วย
    • ข้อมูล Sunspot ล่าสุดเข้าไปดูได้ที่ http://www.solarcycle24.com
    รูปแสดงค่่า sunspot numbers ตั้งแต่ปี ค.ศ.1700 ถึงปี ค.ศ. 2002 แต่ละรอบจะมีค่าประมาณ 11 ปี Cycle ที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่เดือน มีนาคม ปี ค.ศ. 1755

    1.jpg

    • Cycle ที่ 1 เริ่มที่ เดือนมีนาคม ค.ศ.1755 สิ้นสุดที่ เดือนมิถุนายน ค.ศ.1766
    • Cycle ที่ 2 เริ่มที่ เดือนมิถุนายน ค.ศ.1766 สิ้นสุดที่ เดือนมิถุนายน ค.ศ.1775
    • Cycle ที่ 3 เริ่มที่ เดือนมิถุนายน ค.ศ.1775 สิ้นสุดที่ เดือนกันยายน ค.ศ.1784
    • Cycle ที่ 4 เริ่มที่ เดือนกันยายนค.ศ. 1784 สิ้นสุดที่ เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1798
    • Cycle ที่ 5 เริ่มที่ เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1798 สิ้นสุดที่ เดือนธันวาคม ค.ศ.1810
    • Cycle ที่ 6 เริ่มที่ เดือนธันวาคม ค.ศ.1810 สิ้นสุดที่ เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1823
    • Cycle ที่ 7 เริ่มที่ เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1823 สิ้นสุดที่ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1833
    • Cycle 8 เริ่มที่ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1833 สิ้นสุดที่ เดือนกรกฏาคม ค.ศ.1843
    • Cycle 9 เริ่มที่ เดือนกรกฏาคม ค.ศ.1843 สิ้นสุดที่ เดือนธันวาคม ค.ศ.1855
    • Cycle 10 เริ่มที่ เดือนธันวาคม ค.ศ.1855 สิ้นสุดที่ เดือนมีนาคม ค.ศ. 1867
    • Cycle 11 เริ่มที่ เดือนมีนาคม ค.ศ.1867 สิ้นสุดที่ เดือนธันวาคม ค.ศ.1878
    .. เป็นต้น ค่า Sunspot number จะมีความสอดคล้องกับค่า solar flux ค่า Sunspot number มีค่าตั้งแต่ ศูนย์ (ช่วงเวลาที่ sunspot minimum) ถึงมีค่ามากถึง 350 หรืออาจจะเกินกว่า 400 (ช่วงเวลา very active "solar max") ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากเว็บ Solar cycles 1-20
    การหมุนรอบตัวเอง ของดวงอาทิตย์
    ดวงอาทิตย์ จะหมุนรอบตัวเอง ภายใน 27 วัน ดังนั้น ถ้า MUF สูง และถ้าการติดต่อดี ๆ หลายวันก็สามารถคาดเดาได้ ว่าจะดีอย่างนั้นอีกใน 27 วันถัดมา เพราะพื้นที่ส่วนนั้นของดวงอาทิตย์ จะกลับมาอีก

    Sun Spot Count
    Courtesy of the European Space Agency and NOAA
    The official SESC sunspot number is computed according to the Wolf Sunspot Number formula R = k(10g + s), where g is the number of sunspot groups (regions), s is the total number of individual spots in all the groups and k is a scaling factor that corrects for seeing conditions. A sunspot number of zero indicates there were no visible sunspots on that date; a blank indicates that no observations were possible that day. The sunspot region information used to compute the daily sunspot number incorporates reports from as many as six observatories. These reports are used to form a composite picture of each individual region, taking into account such factors as the time of observation and the quality of seeing.
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พระอาทิตย์ของเราวันที่ 19 มิย 2556 ผมว่า Coronal Hole ใหญ่ขึ้นน่ะ และจุดดับก็มาอัดแน่นมากขึ้น รองสังเกตดูดีที่รังสีที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ รังสีที่แผ่ออกมาขอบด้านขวาจะกระจายมากกว่าขอบด้านซ้าย มีอะไรหรือเปล่า
    ภาพวันที่ 19 มิย 2556.jpg
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คุณ naproxen ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับพระสูตรในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาใดก็ได้ช่วยเอามาลงในกระทู้นี้ด้วยครับ ผมชอบอ่านเรื่องพวกนี้ครับ ขอบคุณครับ หลักธรรมใดก็เป็นสัจจะ เป็นสิ่งที่สมควรนับถือทั้งสิ้น เพราะถ้าสอนให้เราหลุดพ้นได้ ก็พอแล้วครับ
     
  12. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ฮืม..............น่าคิดครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00395_001.gif
      00395_001.gif
      ขนาดไฟล์:
      2.9 KB
      เปิดดู:
      707
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ค่าดัชนี Planetary K Index (KP Index) ข้อมูลจาก เว็บภัยพิบัติ Paipibat.com | ให้ความจริง ให้ความรู้ ทางภัยพิบัติ เพื่อสู้ข่าวลือ ลดความตื่นกลัว
    ค่า kp เป็นตัววัดสนามแม่เหล็กของโลกเราเอง ไม่ใช่พายุสุริยะ มันวัดลักษณะการสั่นสะเทือนของสนามแม่เหล็ก ซึ่งดีดกลับในด้านกลางคืน (คนละด้านกับที่หันหาดวงอาทิตย์) ของโลกหลังโดน CME หรือ พายุสุริยะ พอโดนจะยืดยาวออกและดีดกลับ จังหวะที่ดีดกลับจะเกิดแรงสะเทือน หรืออาจสั่นสะเทือนจากการโดนกระหน่ำ โดยพายุสุริยะความเร็วลมเกิน 800 กม/วินาทีขึ้นไป ค่า kp มากกว่า 7 เคยเกิดบ่อย ในค่าขนาดนั้น อนุภาคจากพายุสุริยะที่ไหลเข้าทางขั้วแม่เหล็กเหนือจะทำให้เกิดแสงออโรรา ยิ่ง kp มาก แสงออโดรายิ่งมาเกิดที่ละติจูดต่ำ ส่วนพายุแม่เหล็กโลกหากเกิดที่ kp 8-9 จะเริ่มเหนี่ยวนำโลหะที่มีความยาวมากๆบนผิวโลกให้เกิดกระแส GIC ซึ่งถ้าเป็นลวดในหม้อแปลงก็จะมีปัญหาไฟฟ้าดับตามมา
    เฏณฑ์สำหรับค่า Kp Index
    Kp index = 0 สนามแม่เหล็กโลกป็นปรกติ
    Kp index > 5 แสดงว่าเริ่มเกิดพายุแม่เหล็กในบรรยากาศโลก ผลกระทบที่ระดับสูง หากค่า kp ไปถึง 8 หรือ 9 คือดาวเทียม การสื่อสารวิทยุ จะเริ่มถูกพายุแม่เหล็กรบกวน อาจขัดข้องไม่ทำงาน หรือในขั้นรุนแรงอาจเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวัตถุที่มีลักษณะยาวบนผิวโลกได้ เช่นท่อส่งน้ำมัน หรือขอลวดในหม้อแปลง อาจทำให้หม้อแปลงระเบิดเกิดไฟฟ้าดับได้
    หมายเหตุ 1. kp ไม่เกี่ยวกับการเกิดพายุบนโลก
    2. ขนาดของสนามม่เหล็กโลก คือ 50μT หรือ 0.00005 T ซึ่งน้อยกว่าแม่เหล็กตู้เย็น (0.05 T) ถึง 1,000 เท่า

    K-index
    From Wikipedia, the free encyclopedia
    Jump to: navigation, search
    For other uses, see K-index (meteorology).
    The K-index quantifies disturbances in the horizontal component of earth's magnetic field with an integer in the range 0-9 with 1 being calm and 5 or more indicating a geomagnetic storm. It is derived from the maximum fluctuations of horizontal components observed on a magnetometer during a three-hour interval. The label 'K' comes from the German word 'Kennziffer'[1] meaning 'characteristic digit.' The K-index was introduced by Julius Bartels in 1938.[2]
    Contents
    [hide]
    • 1 Calculation of K-index
    • 2 The Kp index and estimated Kp index
    • 3 The relationship between K and A
    • 4 The relationship between the NOAA G-scale and Kp
    • 5 Usage in radio propagation studies
    • 6 References
    • 7 External links

    Calculation of K-index[edit]
    The K-scale is quasi-logarithmic. The conversion table from maximum fluctuation R (nT) to K-index, varies from observatory to observatory in such a way that the historical rate of occurrence of certain levels of K are about the same at all observatories. In practice this means that observatories at higher geomagnetic latitude require higher levels of fluctuation for a given K-index. For example, at Godhaven, Greenland, a value of K equal to 9 is derived with R=1500 nT, while in Honolulu, HI, a fluctuation of only 300 nT is recorded as K=9. In Kiel, Germany, K=9 corresponds to R=500 nT or greater.[3] The real-time K-index is determined after the end of prescribed three-hour intervals (0000-0300, 0300-0600, ..., 2100-2400). The maximum positive and negative deviations during the 3-hour period are added together to determine the total maximum fluctuation. These maximum deviations may occur any time during the 3-hour period.
    The Kp index and estimated Kp index[edit]
    The official planetary Kp index is derived by calculating a weighted average of K-indices from a network of geomagnetic observatories. Since these observatories do not report their data in real-time, various operations centers around the globe estimate the index based on data available from their local network of observatories. The Kp-index was introduced by Bartels in 1949.[1]
    The relationship between K and A[edit]

    1.jpg

    The A-index provides a daily average level for geomagnetic activity. Because of the non-linear relationship of the K-scale to magnetometer fluctuations, it is not meaningful to take averages of a set of K indices. What is done instead is to convert each K back into a linear scale called the "equivalent three hourly range" a-index (note the lower case), according to the following table:[3][4]

    2.jpg

    The relationship between the NOAA G-scale and Kp[edit]
    The Kp scale is a reasonable way to summarize the global level of geomagnetic activity, but it has not always been easy for those affected by the space environment to understand its significance. The NOAA G-scale[5] was designed to correspond, in a straightforward way, to the significance of effects of geomagnetic storms.
    Usage in radio propagation studies[edit]
    Main article: Radio propagation
    The Kp index is used for the study and prediction of ionospheric propagation of high frequency radio signals. Geomagnetic storms, indicated by a Kp of 5 or higher, have no direct effect on propagation. However they disturb the F-layer of the ionosphere, especially at middle and high geographical latitudes, causing a so-called ionospheric storm which degrades radio propagation. The degradation mainly consists of a reduction of the maximum usable frequency (MUF) by as much as 50%.[6] Sometimes the E-layer may be affected as well. In contrast with sudden ionospheric disturbances (SID), which affect high frequency radio paths near the Equator, the effects of ionospheric storms are more intense in the polar regions.
    References[edit]
    1. ^ a b Bartels, J., Heck, N.H. & Johnston, HF., 1939. The three-hour range index measuring geomagnetic activity, Geophys. Res., 44, 411-454 (p 411)
    2. ^ Bartels, J., Heck, N.H. & Johnston, HF., 1939. The three-hour range index measuring geomagnetic activity, Geophys. Res., 44, 411-454 (c.f. ref 4 on p 417)
    3. ^ a b Davies, Kenneth (1990). Ionospheric Radio. IEE Electromagnetic Waves Series #31. London, UK: Peter Peregrinus Ltd/The Institution of Electrical Engineers. p. 50. ISBN 0-86341-186-X.
    4. ^ a b "Help on SPIDR Data - Geomagnetic And Solar Indices Data Description". NOAA Space Physics Interactive Data Rerource (SPIDR). Retrieved 2012-09-12.
    5. ^ [1] NOAA/SWPC Space Weather Scales used to communicate to the public current and future space weather conditions and their possible effects
    6. ^ George Jacobs and Theodore J. Cohen (1997). The New Shortwave Propagation Handbook. Hicksville, New York: CQ Publishing. p. 1.14. ISBN 0-943016-11-8.
    External links[edit]
    Space Weather Prediction Center
    3-day Estimated Planetary Kp-index Monitor
    Solar Cycle Progression and Prediction
    Current Solar Data: NOAA data
    • Comprehensive radio propagation site

    This article incorporates public domain material from the United States Government document "http://www.sec.noaa.gov/info/Kindex.html".
    Retrieved from "http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=K-index&oldid=549666265"
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ขอบคุณครับคุณ naproxen ผมเคยไปดูหมอ และคุณป้าเป็นผู้ปฎิบัติธรรมด้วย แกเล่าให้ฟังว่าแกรู้จักพราหมณ์หลวงคนนึง แต่ท่านเสียแล้วอยู่ดีๆ จุดธูป 1 ดอก และปักใส่กระถาง และถามแก่ว่ารู้ไหมว่าหมายถึงอะไร แกตอบอะไรผมจำไม่ได้ แต่คนจุดธูปไม่ได้บอกอะไรเลย แต่ป้าก็ให้ความรู้ว่าการอธิษฐานขอให้สำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาน ต้องเจออะไรมาก เพราะเจ้ากรรมนายเวร จะจัดเต็มให้เลย ขอแล้วถอยไม่ได้ ต้องระวังน่ะครับ ถึงแม้เราจะพูดเล่น ๆ แต่เจ้ากรรมนายเวรเขาไม่เล่นด้วย จะต้องขอขมากรรมสม่ำเสมอ เพราะการสำเร็จจะต้องให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิเพราะเมื่อใกล้สำเร็จจะโดนรุมครับ ไปให้แกดูหมอทีไร สอนให้ผมขยันขอขมากรรมตลอด ปล. เป้นคำสอนของป้าครับ อาจไม่จริง แต่ก็สอนให้ผมทำดัครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2013
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ค่า A-index จากเว็บภัยพิบัติ
    มีค่าสูงสุดที่ 400 เป็นค่าเฉลี่ยที่เอา K-index ทุกๆ 3 ชม มาคำนวน 8 ครั้งใน 1 วัน ค่านี้จะใช้คู่กับ K ในกรณีต้องการดูแนวโน้มของพายุสนามแม่หล็ก หากสูงทั้งคู่คือเกิดพายุ หาก K สูง A ต่ำ นั่นแปลว่าเป็นแค่การสั่นสะเทือนชั่วคราว อย่างมากก็ได้แสงออโดรามา
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Hard X-Rays
    เกิดจากการลุกจ้าของดวงอาทิตย์ (การเกิดแสงสว่างวาบ) ภายในบรรยากาศชั้นโคโรนา (corona) และโครโมสเฟียร์ (chromospheres) และเมื่อเกิดขึ้นพลังงานภายในสนามแม่เหล็กที่ถูกสร้างขึ้นภายในชั้นบรรยากาศ โครโมสเฟียร์ถูกปลดปล่อยอย่างรวดเร็ว พลังงานถูกปลดปล่อยออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกือบทุกย่านความถี่ตั้งแต่คลื่นที่มีความยาวคลื่นยาวอย่างคลื่นวิทยุ (radio wave) แสงที่ตามนุษย์มองเห็น (optical light) รังสีเอกซ์ (X-rays) ไปจนถึงคลื่นที่มีความยาวคลื่นสั้นอย่างรังสีแกมมา(gamma rays) ส่วนใหญ่การลุกจ้าจะเกิดในบริเวณกัมมันต์ (active regions) รอบๆ จุดดับ(sunspots) ที่ซึ่งมีสนามแม่เหล็กความเข้มสูงออกมาจากผิวดวงอาทิตย์ชั้นโฟโตสเฟียร์ (photosphere) สู่บรรยากาศชั้นโคโรนา โดยทั่วไปการลุกจ้าจะปล่อยพลังงานในระดับ 1020 จูลต่อวินาที (Joules/second) สำหรับการลุกจ้าที่รุนแรงอาจมากถึง 1025 จูล(Joules) เทียบเท่าระเบิดไฮโดรเจนหนัก 100 ล้านตัน ซึ่งระเบิดขึ้นมาพร้อมๆ กัน หรือคิดเป็นสิบล้านเท่าของพลังงานจากภูเขาไฟระเบิด แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่า 1 ใน 10 ของพลังงานทั้งหมดที่ดวงอาทิตย์แผ่ออกมาในหนึ่งวินาที
    สำหรับดวงอาทิตย์การแผ่รังสีเอกซ์ และรังสีอัลตราไวโอเลตจากการลุกจ้าสามารถรบกวนบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์(ionosphere) ของโลกจนเกิดผลกระทบต่อการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุระยะไกล นอกจากนี้การแผ่คลื่นวิทยุโดยตรงจากการลุกจ้าที่ความยาวคลื่นประมาณ 0.1 เมตร สามารถรบกวนการทำงานของเรดาร์ (radar) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำงานในย่านความยาวคลื่นนี้


    1.jpg

    แสดงการแผ่รังสีเอกซ์จากดวงอาทิตย์อันเป็นผลมาจากการลุกจ้าเมื่อช่วงวันที่ 299 – 322 ของปี 2546
    จะเห็นว่าค่าการแผ่รังสีที่มากที่สุดสามครั้งอยู่ในระดับ X และมีระดับที่รุนแรงน้อยลงมาที่ระดับ M
    Image credit: TIMED / SEE Web Site

    ระดับของการลุกจ้าของดวงอาทิตย์แบ่งออกเป็น A, B, C, M หรือ X ตามระดับความเข้มรังสีสูงที่สุด(ในหน่วย วัตต์ต่อตารางเมตร) ในช่วงความยาวคลื่น 0.1 – 0.8 นาโนเมตร ของรังสีเอกซ์ ซึ่งวัดได้บริเวณใกล้โลก โดยยานอวกาศ GOES ดังตาราง

    2.jpg


    นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งระดับย่อยลงไปเป็นมาตราส่วนเชิงเส้นจาก 1 ถึง 9 ดังนั้นการลุกจ้าระดับ X2 (จึงเข้มข้นเป็นสองเท่าของ X1 และคิดเป็น 5 เท่า ของการลุกจ้าเป็นระดับ M5
    โดยทั่วไปการลุกจ้าในระดับ M และ X มักเกี่ยวข้องกับการแปรเปลี่ยนของสภาพอวกาศในบริเวณใกล้โลก และยังสามารถพบได้บนดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ ด้วยเรียกว่าการลุกจ้าของดาวฤกษ์(stellar flare)
    การลุกจ้าสามารถสังเกตการณ์ได้ผ่านอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ออกแบบมาเพื่อวัดสัญญาณการแผ่รังสีในขณะเกิดการลุกจ้า อาทิ ในย่านคลื่นวิทยุ(radio wave)และแสงที่ตามนุษย์มองเห็น(optical light) สามารถสังเกตการณ์ได้จากกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน ทั้งแบบกล้องโทรทรรศน์เชิงแสงและกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ส่วนรังสีพลังงานสูงอย่างรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาซึ่งไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศโลกนั้น สามารถตรวจวัดได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่อยู่ในอวกาศ
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไปคัดลอกมาครับ
    EIT - Extreme ultraviolet Imaging Telescope บนยาน SOHO นี่เค้าบันทึกคลื่นเป็นสี่ช่วงคลื่นค่ะ แล้วก็ "กำหนด" ให้เป็นคนละสี สำหรับคนละคลื่น ดูปุ๊บจะได้รู้ปั๊บว่าเป็น emission ของคลื่นอะไร
    Fe IX/X, 171 Angstrom
    Fe XII, 195 Angstrom
    Fe XV, 284 Angstrom
    He II, 304 Angstrom
    ที่เค้าใส่ธาตุไว้นั้น ก็เพราะมีตัวนั้นตัวเดียวที่ emit คลื่นเท่านั้นออกมา
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ออโรรา (ดาราศาสตร์)
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด
    ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 200 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ
    ความหมายของชื่อ[แก้]
    แสงเหนือ ตามประวัตินั้นมีชื่อมากมายหลายชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์นี้ คือ ออโรรา บอเรลลีส (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ ซึ่งตั้งชื่อโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) (ค.ศ. 1564 – 1642)
    คำว่า "Aurora Borealis" แปลว่า "แสงเหนือ" (Northern Light) ส่วน "Aurora Australis" แปลว่า "แสงใต้" (Southern Light) และคำว่า "Aurora Polaris" แปลว่า "แสงขั้วโลก" ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้
    สถานที่และโอกาสการเกิดออโรรา[แก้]
    ในเขตที่มีการปรากฏของออโรรา สามารถสังเกตออโรราได้ทุกคืนที่ฟ้าโล่งในฤดูหนาว โดยมีข้อสังเกตดังนี้
    ออโรราจะปรากฏบ่อยครั้ง ตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึง เที่ยงคืน
    ออโรราจะสว่างจ้าในช่วง 27 วันที่ดวงอาทิตย์หันด้านแอคทีฟ (Active Area) มายังโลก
    ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ในเดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม เป็นเดือนที่เหมาะสำหรับการชมออโรราทางซีกโลกเหนือ
    ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปีสำหรับการเกิดจุดดับมากที่สุดกับการเกิดออโรรามากที่สุด
    ออโรราจะปรากฏลดลง 20-30% กว่าตอนที่เกิดจุดสุริยะมากที่สุด เมื่อเกิดจุดสุริยะบนดวงอาทิตย์น้อยที่สุด
    ออโรราจะปรากฏในแถบประเทศเมดิเตอเรเนียนเมื่อเกิดจุดสุริยะหรือมีลมสุริยะมากๆ อาจถึง 10 ปีต่อครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วเกิด 100 ปีต่อครั้ง

    ตารางที่ 1 แสดงความถี่ในการปรากฏออโรราในสถานที่ต่างๆทั่วโลก
    1.jpg


    สถานที่ปรากฏออโรรา[แก้]
    บริเวณที่เกิดออโรราเป็นบริเวณรูปไข่ (Oval-shape region) รอบๆ ขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก เมื่อออโรราสงบ รูปไข่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3000 กิโลเมตร แต่เมื่อเกิดออโรรารุนแรงขึ้น รูปไข่จะกว้างขึ้นกว่า 4000 หรือ 5000 กิโลเมตร เนื่องจากขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา ออโรรา โบเรลลีส (Aurora Borealis) จึงพบมากที่เส้นรุ้ง (Latitude) ที่มีประชากรอาศัยมากในซีกโลก (hemisphere) ตะวันตก ส่วนออโรราออลเตรลีส (Aurora Australis) สามารถมองเห็นได้จากเกาะทัชมาเนีย (Tasmania) และทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์

    เสียงของออโรรา[แก้]
    มีข้อโต้เถียงกันมานานเกี่ยวกับเสียงของออโรราว่ามันสามารถได้ยินโดยผู้สำรวจบนพื้นโลกหรือไม่ คลื่นเสียงนั้นมีความถี่ประมาณ 340 เมตรต่อวินาทีในอากาศบนระดับพื้นโลก แต่ที่ความสูง 80 ถึง 500 กิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่ออโรราปรากฏนั้นอยู่ใกล้สุญญากาศมาก ทำให้เป็นเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดเสียงขึ้น กระนั้น ก็มีรายงานมากมายว่าได้ยินเสียงระหว่างเกิดออโรรา เสียงที่ได้ฟังนั้น ไม่ใช่เป็นเสียงที่บันทึกจากออโรราโดยตรง แต่เป็นเสียงที่บันทึกจาก แมกนีโตมิเตอร์ (Magnetometer) เสียงที่เปลี่ยนไปคือการเปลี่ยนไปของสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดจากอนุภาคสุริยะ (Solar Particles)

    แหล่งที่มาและระดับพลังงานของอนุภาค[แก้]
    ออโรราที่ปรากฏนั้นเกิดจากอนุภาคมีพลังงานเคลื่อนที่ตามเส้นสนามแม่เหล็กมาจากเมกนีโตเทล (Magnetotail) มาสู่บรรยากาศชั้นบน อนุภาคส่วนใหญ่คืออิเล็กตรอน แต่โปรตอนและไอออนอื่น ก็อาจพบได้ เมื่ออนุภาคมีประจุ (Charged Particles) พุ่งมาจาก แมกนีโทสเฟียร์ (Magnetosphere) มาสู่บรรยากาศชั้นบน จะเกิดการชนกับแก๊สที่ไม่มีความสำคัญอะไรที่นั่น
    อนุภาคออโรราเป็นเพียงหนึ่งในหลายอนุภาคมีประจุที่กระหน่ำมายังโลก รวมถึงอนุภาคที่มีพลังงานฟลักซ์มหาศาลในช่วง พันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) หรือล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) อย่างเช่น รังสีคอสมิค (Cosmic Rays) อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสี (Radiation Belt) พลังงานสูง และอนุภาคสุริยะ (Solar Energetic Particles) ส่วนอนุภาคออโรรานั้นเกิดขึ้นในแผ่นพลาสมาแม่เหล็ก (Magnetospheric Plasma Sheet) และมีพลังงานอยู่ในช่วง 1 ถึง 10 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) แต่บางทีอาจมีพลังงานมากถึง 100 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) และอนุภาคพลังงานต่ำ เช่น ลมสุริยะที่เข้าสู่แมกนีโตสเฟียร์ทาง ซีกโลกกลางวัน (Dayside Cusp ) ใกล้กับขั้วแม่เหล็กโลก เป็นต้น ความลึกที่อนุภาคเหล่านี้จะเจาะเข้าไปในชั้นบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับพลังงานของมัน ยิ่งพลังงานมากยิ่งเข้าได้ลึก รังสีคอสมิค สามารถเดินทางไปถึงชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) หรืออาจลึกไปถึงพื้นโลก อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสีและอนุภาคสุริยะพลังงานสูง เข้ามาได้ถึงชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) และชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) ส่วนออโรรานั้นมาได้แค่ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) ซึ่งสูงประมาณ 100 กิโลเมตร นั่นทำให้ออโรราเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศนี้

    สีของออโรรา[แก้]
    ดวงอาทิตย์ปล่อยแสงทุกสีที่มองเห็นได้ออกมาก ทำให้เราเห็นแสงอาทิตย์เป็นสีขาว ส่วนสเปคตรัมของออโรรา ก่อนจะศึกษารายละเอียด เราต้องรู้เรื่อง สาเหตุการเกิดแสงก่อน
    ในบรรยากาศประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก อนุภาคของแก๊สเหล่านี้จะปลดปล่อยโฟตอนซึ่งมีความยาวคลื่นคงที่ เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้า กระตุ้นแก๊สในบรรยากาศ อิเล็กตรอนจะเริ่มเคลื่อนที่รูปนิวเคลียสในวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีพลังงานเหลือเฟือ อนุภาคที่ถูกกระตุ้นจะไม่เสถียรและจะปลดปล่อย พลังงานออกมาในรูปของแสง เรียกว่าแสงนี้ว่า ออโรรา

    แสงสีเขียวเข้ม เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กิโลเมตร แสงเหนือสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า ส่วนสีฟ้า และม่วงปรากฏที่ความสูงต่ำกว่า 120 กิโลเมตร เมื่อเกิดพายุสุริยะ 000 แสงสีแดงจะปรากฏที่ความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กิโลเมตร
    เมื่อออโรราจางลง มันจะปรากฏเป็นสีขาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า เมื่อมันสว่างขึ้น สีจึงมองเห็นขึ้นมา และสีเขียวซีดที่เป็นเอกลักษณ์ของมันจะมองเห็นขึ้นมา
    เมื่อมีความหนาแน่นมากขึ้น ในบริเวณที่ต่ำลงมาจะมองเห็นเป็นสีเขียวสด และ สีแดงจางๆ จะมองเห็นที่ความสูงมากๆ
    เหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป 100 กิโลเมตร ประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ไนโตเจนจะมีมากที่ความสูง 10 กิโลเมตร และออกซิเจน มีมากที่ 200 กิโลเมตร เส้นกราฟสีเขียวแสดงความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนและสีม่วงแสดงความหนาแน่นของก๊าซไนโตรเจน ณ ความสูงต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเทอโมสเฟียร์ เมื่ออะตอมออกซิเจนถูกกระตุ้น มันจะปล่อยแสงมากมายหลายสีออกมาก แต่สีที่ที่ส ว่างที่สุดคือที่แดงและสีเขียว
    ความสูงของออโรรา (จากพื้นโลก)[แก้]
    ตั้งแต่ปี 1915 เป็นต้นมา ความสูงของออโรราเป็นที่โต้เถียงกันในวงการวิทยาศาสตร์ จนในปี ค.ศ. 1910 – 1940 คาร์ล สตอร์เมอร์ (Carl Størmer) ได้ใช้หลักการพาราแล็กซ์ (Parallax) ในการวัดขนาด นักสำรวจ 2 คนที่ความสูง 50 ถึง 100 กิโลเมตรโดยใช้ภาพออโรรา 2 ภาพที่ถ่ายในเวลาเดียวกัน และใช้แผนที่ดวงดาว อ่านขนาดมุม และคำนวณหาความสูง
    ภาพพาราแล็กซ์กว่า 20000 ภาพ ทำให้สตอร์เมอร์คำนวณความสูงของออโรราอย่างแม่นยำ ออโรราในยามค่ำคืนจะพบที่ความสูง 90 ถึง 150 กิโลเมตร มีบางส่วนที่อาจแผ่กว้างถึง 500 กิโลเมตร แต่โดยเฉลี่ย มีความสูงที่ 100 ถึง 120 กิโลเมตร
    เราใช้เครื่องวัดแสง ที่เรียกว่า ออโรรา โฟโตมิเตอร์ (Aurora Photometre)
    ออโรราในดาวดวงอื่น[แก้]
    นอกจากออโรราจะปรากฏในโลกแล้ว ยังปรากฏในดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก ทั้งออโรราของดาวพฤหัสและดาวเสาร์ปล่อยอะตอมในบรรยากาศที่ถูกกระตุ้นโดยพลังงาน อนุภาคมีประจุล้วนเกิดจากแมกนีโตสเฟียร์ของดาวนั้นๆ แมกนีโตสเฟียร์จึงต่างจากโลกมาก รวมทั้งสีและการปรากฏของออโรราก็ไม่เหมือนกับในโลก แต่รูปไข่ยังเหมือนกับโลกอยู่ การเกิดออโรราจึงเหมือนกันทั้งระบบสุริยะจักรวาล
    นอกจากนี้ ยังมีออโรราของดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวอังคารอีกด้วย

    ดวงอาทิตย์ กับ ออโรรา[แก้]
    ดวงอาทิตย์ ก็มีชั้นบรรยากาศ และ สนามแม่เหล็กเช่นกัน ชั้นบรรยากาศประกอบด้วยไฮโดรเจน ซึ่งตัวมันเองก็ประกอบด้วยอนุภาคย่อย: โปรตอน กับ อิเล็กตรอน อนุภาคเหล่านี้ ถูกเผาไหม้โดยดวงอาทิตย์ แ
    ลมเหล่านี้มักจะถูกผลักเมื่อมาชนกับสนามแม่เหล็กโลก และเปลี่ยนรูปร่าง เหมือนกับเราเปลี่ยนรูปร่างของฟองสบู่เมื่อเราเป่าบนพื้นผิวมัน เราเรียกบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า เม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) โดยปรากฏการณ์จะเกิดในด้านกลางวันของโลก ซึ่งลมสุริยะจะพัดมาเฉพาะทางนี้ และจะเรียวตรงเป็นหางเหมือนรอยน้ำหลังเรือแล่น เราเรียกมันว่า เม็กนีโทเทล (Magneto tail) และแน่นอน มันชี้ไปด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์
    เมื่อเกิดการบีบอัดกับสนามแม่เหล็กโลกต้องใช้พลังงาน เหมือนกับเราต้องใช้พลังงานในการกดลูกโป่งที่มีลมอยู่ข้างใน กระบวนการทั้งหมดยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต
    ตอนนี้เรามีชั้นเม็กนีโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นที่ที่ลมสุริยะถูกบีบอัด และ อนุภาคมีประจุก็แผ่ไปทุกที่ในสนามแล้ว อนุภาคสุริยะจากลมสุริยะ มักจะกลับเข้าสู่หางของ เม็กนีโทสเฟียร์และพุ่งตรงไปยังดวงอาทิตย์ และจากนั้น ถ้าเงื่อนไขนี้ถูกต้อง ความกดดันจากลมสุริยะก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า ระ โวลต์ ความต่างศักย์นี้ จะผลักอิเล็กตรอน (ซึ่งมีแสงสว่าง) พุ่งสู่ขั้วแม่เหล็กโลก ด้วยความเร็วที่สูง เหมือนอิเล็กตรอนในโทรทัศน์ ที่พุ่งตรงมาชนกับจอภาพ มันเคลื่อนไปตามสนามอย่างเร็วสู่พื้นโลก ทั้งเหนือและใต้ จนกระทั่งอิเล็กตรอนจำนวนมหาศาลถูกผลักลงสู่ชั้นบรรยากาศข้างบน คือ ชั้น ไอโนโนสเฟียร์ (Ionosphere) ในชั้นนี้ อิเล็กตรอนจะพุ่งเข้าชนกับอะตอม ซึ่งทำให้อะตอมของแก๊สเกิดพลังงาน และปล่อยทั้งแสง และ อิเล็กตรอนตัวอื่นอีก และทำให้เกิดแสงในชั้นบรรยากาศนี้และชักนำให้กรมือนตอนที่มันพุ่งเข้ามา เพราพลังงานเหล่านี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของออโรรา ออโรรา มีลักษณะคล้ายกับ นีออน เว้นแต่ออโรรา เกิดกับแก๊สในชั้น ไอโอโนสเฟียร์ แทนที่จะเกิดในหลอดแก้ว และกระแสวิ่งกลับเข้าออกระหว่างสนามแม่เหล็ก แทนที่จะเป็น ลวดตะกั่ว
    ปรากฏการณ์สำคัญบนดวงอาทิตย์[แก้]
    • การปล่อยก้อนมวลจากดวงอาทิตย์ (CME) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์มีการปลดปล่อยมวลออกมา อนุภาคไฟฟ้าพลังงานสูงจะถูกปลดปล่อยออกมาด้วความเร็วสูงนับพัน กิโลเมตรต่อวินาที ปรากฏการณ์ CME นี้มักจะเกิดร่วมกับ Solar Flare หรือ Prominence (เป็นปรากฏการณ์คล้ายเปลว)
    • การประทุที่ดวงอาทิตย์ (Solar Flare) เป็นการระเบิดรุนแรงบนชั้น Chromospheres เกิดขึ้นบริเวณที่มี Sun Spot ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นขั้วของสนามแม่เหล็กแบบคู่ขั้ว Solar Flare ให้พลังงานสูงมาก (ประมาณว่าเท่ากับระเบิดไฮโดรเจนขนาด 100 เมกกะตันจำนวน 1 ล้านลูกรวมกัน) เนื่องจาก Solar Flare มีพลังงานสูงมาก การส่งพลังงานออกมามักอยู่ในย่านความถี่ของอัลตราไวโอเลตและรังสีเอกซ์ จึงสังเกตได้ยากภายใต้ย่านความถี่ของแสงขาว แต่เห็นได้ชัดเจนในย่านความยาวคลื่นที่ได้กล่าวมาแล้ว อุณหภูมิของ Solar Flare จะสูงหลายล้านเคลวิน และส่งอนุภาคประจุไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงกว่าปรกติออกมาอย่างมากมาย เกิดเป็นลมสุริยะที่มีกำลังแรงผิดปรกติ จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นพายุสุริยะ (Solar Storm)
    • ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ที่มีมากที่สุด (Solar Maximum) เป็นคาบของปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ที่ทุก 11 ปี เมื่อจุดบนดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งมีจุดสุริยะมากเพียงใด อนุภาคสุริยะยิ่งถูกปลดปล่อยมามากเท่านั้น ปรากฏการณ์นี้เกิดล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2544 – 2545 และจะเกิดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 - 2555
    • จุดสุริยะ (Sunspot) เป็นจุดที่เกิดจากสนามแม่เหล็กบนผิวดวงอาทิตย์ที่หนาแน่นมาก อุณหภูมิบริเวณนี้จะเย็นกว่าบริเวณใกล้เคียง (เย็นกว่าประมาณ 1000 องศา) และมีสีดำกว่า จุดสุริยะนี่เองเมื่อถูกส่งออกมาสู่อวกาศ อนุภาคจะถูกสนามแม่เหล็กโลกดึงไว้และเกิดเป็นออโรรา
    • ลมสุริยะ (Solar Wind) เป็นแก๊สของอิเล็กตรอนและไอออนที่วิ่งมาด้วยความเร็วเหนือเสียง (Supersonic) ยิ่งมีลมสุริยะมากเท่าไร ออโรราก็เข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้นเท่านั้น
    ออโรรากับวิถีชีวิต[แก้]
    การศึกษาพายุสุริยะในเวลาต่อมาได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า พายุนี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสะพรึงกลัวยิ่ง เพราะเมื่อเรารู้ว่า เปลวก๊าซร้อนที่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์นั้น นำอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าออกมากมายด้วย ดังนั้น เมื่ออนุภาคเหล่านี้พุ่งถึงชั้นบรรยากาศ เบื้องบนของโลก ถ้าขณะนั้นมีนักบินอวกาศ ร่างกายของนักบินอวกาศคนนั้นก็จะได้รับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าและรังสีต่างๆ มากเกินปกติ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ พายุอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าอาจพุ่งชนดาวเทียมที่กำลังโคจรอยู่รอบโลกจนทำให้ดาวเทียมหลุดกระเด็นออกจากวงโคจรได้ และถ้าอนุภาคเหล่านี้พุ่งชนสายไฟฟ้าบนโลก ไฟฟ้าในเมืองทั้งเมืองก็อาจจะดับ ดังเช่นเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่เมืองควิเบก ในประเทศแคนาดาเป็นเวลานาน 9 ชั่วโมง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532 เพราะโลกถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำอย่างรุนแรง
    ความจริงเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 11 ปีมาแล้ว แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์รู้อีกว่า ทุกๆ 11 ปีจะเกิดเหตุการณ์พายุสุริยะ ที่รุนแรงบนดวงอาทิตย์อีก ดังนั้นปี พ.ศ. 2543 จึงเป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์คาดหวังจะเห็นโลกถูกดวงอาทิตย์คุกคามอย่างหนักอีก ครั้งหนึ่ง และเมื่อขณะนี้โลกมีดาวเทียมที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ประมาณ 800 ดวงและสหรัฐอเมริกาเองก็มีโครงการจะส่งนักบินอวกาศ ขึ้นไปสร้างสถานีอวกาศนานาชาติในปีนั้นอีกเช่นกัน บุคลากรและดาวเทียมเหล่านี้จึงมีโอกาสถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำ จนเป็นอันตรายได้ ก็ในเมื่อเวลาพายุไต้ฝุ่นหรือทอร์นาโดจะพัด เรามีสัญญาณเตือนภัยห้ามเรือเดินทะเลและให้ทุกคนหลบลงไปอยู่ห้อง ใต้ดิน จนกระทั่งพายุพัดผ่านไป การเตือนภัยพายุสุริยะก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน เพราะถ้าเรารู้ว่าพายุสุริยะกำลังจะมาถึงโลก โรงไฟฟ้า ก็ต้องลดการผลิตกระแสไฟฟ้า คือไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกจากเครื่องเต็มกำลังเพราะถ้าไฟฟ้าเกิดช็อต ภัยเสียหายก็จะไม่มาก ดังนั้น การแก้ไขล่วงหน้าก็จะสามารถทำให้ความหายนะลดน้อยลง แต่ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญสภาวะของอวกาศ วันนี้ก็ดีพอๆ ความสามารถของนักอุตุนิยมวิทยาที่สามารถทำนายสภาพของอากาศ บนโลก เมื่อ 40 ปีมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์สภาวะแวดล้อมของอวกาศ (Space Environment Center) ขึ้นมา โดยให้นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ทำนายสภาพของอวกาศล่วงหน้า และผลงานการพยากรณ์เท่าที่ผ่านมาได้ทำให้เรารู้ว่า คำพยากรณ์นี้มี เปอร์เซ็นต์ถูกถึง 90% ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดในหนึ่งชั่วโมง แต่เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดก็จะสูง ถ้าเป็นกรณีการทำนายล่วงหน้า หลายวัน
    เพื่อให้คำทำพยากรณ์ต่างๆ มีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องมากขึ้น องค์การนาซาของสหรัฐฯ จึงได้วางแผนส่งดาวเทียมดวงใหม่ขึ้น อวกาศเพื่อสำรวจสถานภาพของพายุสุริยะทุกลูกที่จะพัดจากดวงอาทิตย์สู่โลกในอีก 11 ปี ข้างหน้านี้
    ความรู้ปัจจุบันที่เรามีอยู่ขณะนี้คือ ผลกระทบของพายุสุริยะจะรุนแรงอย่างไร และเช่นไร ขึ้นกับ 3 เหตุการณ์ต่อไปนี้ คือ
    • เหตุการณ์แรกเกี่ยวข้องกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งเป็นบริเวณผิวดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณส่วนอื่น และเป็น บริเวณที่สนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์สามารถทะลุออกจากดวงอาทิตย์ออกมาสู่อวกาศภายนอกได้ ดังนั้น เมื่อเกิดการระเบิดที่ผิวดวงอาทิตย์ในบริเวณนี้ กระแสอนุภาคจะถูกผลักดันออกมาตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กนี้มาสู่โลก และเมื่อกระแสอนุภาคจากจุดดับพุ่งชนบรรยากาศเบื้องบนของโลก มันจะปะทะอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก (Ionosphere) การชนกันเช่นนี้จะทำให้เกิดกระแสประจุซึ่งมีอิทธิพลมากมายต่อการสื่อสารทางวิทยุ
    • เหตุการณ์สองที่มีอิทธิพลทำให้สภาวะของอวกาศระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ปรวนแปร ในกรณีมีพายุสุริยะที่รุนแรงคือ ชั้นบรรยากาศ ของโลกอาจจะได้รับรังสีเอกซ์มากกว่าปกติถึง 1,000 เท่า รังสีเอกซ์นี้ จะทำให้อิเล็กตรอนที่กำลังโคจรอยู่รอบอะตอม กระเด็นหลุดออก จากอะตอม และถ้าอิเล็กตรอนเหล่านี้ชนยานอวกาศ ยานอวกาศก็จะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง ซึ่งจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในยานเสีย และนั่นก็หมายถึงจุดจบของนักบินอวกาศ
    • ส่วนเหตุการณ์สาม ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มก๊าซร้อนหลุดลอยมาถึงโลก และเมื่อมันพุ่งมาถึงโลก สนามแม่เหล็กในก๊าซร้อนนั้นจะบิดเบนสนามแม่เหล็กโลก ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในชั้นบรรยากาศของโลกอย่างมากมาย กระแสไฟฟ้านี้ จะทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น มันจึงขยายตัว ทำให้ยานอวกาศที่เคยโคจรอยู่เหนือบรรยากาศ ต้องเผชิญแรงต้านของอากาศ ซึ่งจะมีผลทำให้ยานมีความเร็วลดลงแล้วตกลงสู่วงโคจรระดับต่ำ และตกลงโลกเร็วกว่ากำหนด
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึง เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มี ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบ วัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและ สนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF) หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ
    สนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) 1)
    เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ สนามแม่เหล็กโลก คลื่นรังสีจากแสงอาทิตย์ คลื่นฟ้าผ่า คลื่นรังสีแกมมา เป็นต้น 2) เกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สนามแม่เหล็กโลกและปรากฏการณ์ ฟ้าผ่าจากสนามไฟฟ้า
    - แบบจงใจ คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จงใจ สร้างให้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ ประโยชน์โดยตรงจากคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นนี้ เช่น ให้สามารถส่งไปได้ในระยะ ไกลๆ ด้วยการส่งสัญญาณของระบบสื่อสาร สัญญาณเรดาร์ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นโทรทัศน์ และ คลื่นวิทยุ และการใช้คลื่นไมโครเวฟ ในการให้ความร้อน เป็นต้น
    - แบบไม่จงใจ คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์ โดยไม่ได้มี วัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ประโยชน์ โดยตรงจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เช่น ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (สายส่งไฟฟ้า) รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
    ที่มา : http://www.electron.rmutphysics.com
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,823
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เองที่มนุษย์ได้เริ่มที่จะ ”เห็น” หรือเข้าใจเอกภพอย่างแท้จริง นั่นเป็นเพราะว่ามนุษย์สามารถสังเกตเอกภพได้นอกเหนือจากช่วงความยาวคลื่นแสง โดยสามารถสังเกตช่วงสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ อันได้แก่ คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด รังสีอุลตราไวโอเลต รังสีเอ็กซ์ ตลอดจนรังสีแกมมา
    ความสวยงามและความเร้นลับของท้องฟ้าในยามค่ำคืนนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์สนใจที่จะค้นคว้าหาคำตอบมาเป็นเวลาช้านาน แต่เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เองที่มนุษย์ได้เริ่มที่จะ ”เห็น” หรือเข้าใจเอกภพอย่างแท้จริง นั่นเป็นเพราะว่ามนุษย์สามารถสังเกตเอกภพได้นอกเหนือจากช่วงความยาวคลื่นแสง โดยสามารถสังเกตช่วงสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ อันได้แก่ คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด รังสีอุลตราไวโอเลต รังสีเอ็กซ์ ตลอดจนรังสีแกมมา
    พลังงานสูง (ร้อน) -> พลังงานต่ำ (เย็น)
    ความถี่สูง -> ความถี่ต่ำ
    ความยาวคลื่นสั้น -> ความยาวคลื่นยาว

    ทำไมจึงต้องสังเกตวัตถุท้องฟ้าในช่วงความยาวคลื่นอื่นๆ
    คำตอบ คือ วัตถุต่างๆ บนท้องฟ้านั้นแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาในหลายช่วงความยาวคลื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณพลังงาน หรือ อุณหภูมิที่แผ่ออกมานั่นเอง บริเวณที่มีพลังงานสูง หรือบริเวณที่ “ร้อน” จะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงหรือความยาวคลื่นสั้นนั่นเอง (ดูสมการพลังงาน ในเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) พลังงานสูงที่สุดที่แผ่ออกมาได้แก่ ช่วงรังสีแกมมา รองลงมา คือ รังสีเอ็กซ์ และรังสีอัลตราไวโอเลต และคลื่นแสงตามลำดับ ส่วนบริเวณที่แผ่พลังงานต่ำ หรือ บริเวณที่ “เย็น” ก็จะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำหรือความยาวคลื่นยาวนั่นเอง
    บริเวณที่มีพลังงานต่ำกว่าคลื่นแสงได้แก่ คลื่นอินฟราเรด รองลงไปคือ คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุตามลำดับ

    ที่มา : พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist
     

แชร์หน้านี้

Loading...