เรื่องเด่น ตำนานบทสวดมนต์ ตอน ตำนานอาฏานาฏิยปริตร (วิปัสสิสสะ) บทสวดกำจัดอสูร

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 4 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน ตำนานอาฏานาฏิยปริตร (วิปัสสิสสะ) บทสวดกำจัดอสูร
    buddha_amitabha.jpg

    คำแปลอาฏานาฏิยะปะริตตัง

    สมัยหนึ่งสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ในครั้งนั้น ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งสถิตย์อยู่เหนือยอดเขายุคันธร ที่เรียกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา อันเป็นชั้นต่ำกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาซึ่งเป็นที่สถิตย์ขององค์อินทราธิราช

    พระอินทร์ ทรงมีเทวะพระบัญชาให้มหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูสวรรค์ในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันมิให้พวกอสูรมารบกวน โดยมี
    ท้าววธตรัฐ ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา
    ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ รักษาทิศทักษิณ
    ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งนาคทั้งปวง รักษาทิศปัจจิม
    ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งยักษ์ รักษาทิศอุดร
    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ปรารถนาจะเกื้อกูลพระพุทธศาสนา มิให้พวกอสูร หรือพวกศัตรูมาย่ำยีบีฑา แด่พระภิกษุสงฆ์ สาวกของพระบรมสุคตเจ้า จึงคิดจะชวนกันลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ห่วงภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ มหาราชทั้ง ๔ จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ อย่างละแสนรักษาประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็ให้พวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา กุมภัณฑ์รักษาทิศทักษิณ นาครักษาทิศปัจจิม ยักษ์รักษาทิศอุดร

    ครั้นแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ประชุมพร้อมกันที่ อาฏานาฏิยนคร ณ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พร้อมกับผูกมนต์อาฏานาฏิยปริตร ซึ่งมีเนื้อความสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ มี

    พระวิปัสสี ผู้มีสิริอันงาม
    พระสิขีพุทธเจ้า ผู้มากด้วยการอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
    พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลส มีตบะ
    พระกกุสันธะพุทธเจ้า ผู้มีชัยชนะแก่พญามารและเสนามาร
    โกนาคมนะพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วมีพรหมจรรย์อันจบแล้ว
    กัสสปะพุทธเจ้า ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากกองกิเลสทั้งปวง
    พระอังคีสพุทธเจ้า ผู้เป็นโอรสแห่งหมู่ศากยราช ผู้มีศักดิ์ มีสิริ ดัง นี้เป็นต้น

    ครั้นผูกมนต์พระปริตรแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงประกาศแก่บริวารของตนว่า ธรรมอาณาจักรของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบรมครูของเราทั้ง ๔ ถ้ามีผู้ใดสาธยายมนต์ อาฏานาฏิยปริตร นี้ขึ้น แล้วถ้าใครไม่เชื่อฟัง ไม่สดับ จะต้องถูกลงโทษอย่างสาสม รุนแรง และแล้วมหาราชทั้ง ๔ ก็พร้อมใจกันลงมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กราบบังคมทูลว่าหมู่ยักษ์ทั้งหลาย หมู่นาคทั้งหลาย หมู่กุมภัณฑ์ทั้งหลาย และหมู่คนธรรพ์ทั้งหลาย ผู้มีเดช มีศักดา มีอานุภาพ มีจิตกระด้างหยาบช้า ละเมิดเบญจศีลเป็นอาจิณ ที่ยังไม่เลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัยนั้นมีมากพวกที่เลื่อมใสนั้นมีน้อย

    เมื่อพระสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ในที่ห่างไกลจากมนุษย์สัญจร อมนุษย์ผู้ไม่เลื่อมใส ย่อมจะย่ำยี หลอนหลอก กระทำให้เจ็บไข้เป็นอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ แต่ต่อนี้ไปจะไม่บังเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกแล้ว
    ถ้าพระบรมสุคตเจ้าทรงพระกรุณาโปรดรับมนต์อาฏานาฏิยปริตรนี้ไว้ แล้วโปรดประทานให้พระภิกษุสาวก สาธยายอยู่เนือง ๆ อมนุษย์ทั้งปวงก็จะมิกล้าย่ำยีหลอนหลอกทำร้าย อีกทั้งยังจะช่วยปกป้องคุ้มครอง กันภัยทั้งปวงให้อีกด้วยพระเจ้าข้า
    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับมนต์พระปริตรนั้นโดยดุษฏี
    ท้าวเวสวัณ ก็แสดงอาฏานาฏิยปริตรนั้นถวายและแล้ว มหาราชทั้ง ๔ ก็ถวายมนัสการลา
    สมเด็จพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชาให้ประชุมภิกษุทั้งหลายในที่นั้น แล้วทรงแสดงมนต์พระปริตรนั้นให้แก่ภิกษุทั้งหลายได้เรียนสาธยาย เสร็จแล้วทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอุตสาหะ สาธยายมนต์พระปริตรนี้ให้บริบูรณ์ในสันดาน จะพ้นจากอุปัทวันอันตรายทั้งปวงได้ อมนุษย์ทั้งหลายก็จะไม่มาย่ำยี หลอนหลอก เธอทั้งหลายจะได้ดำรงค์อยู่เป็นสุข เพื่อยังพรหมจรรย์ให้เจริญ
    ภิกษุเหล่านั้นก็เปล่งสาธุการ น้อมรับด้วยเศียรเกล้า

    ** อ้างอิงจาก หนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    บทสวด
    วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ

    นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
    ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
    สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย

    สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
    หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ

    ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อันุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง
    ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรเยนะ สุเขนะ จะ อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
    สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุ เต ฯ

    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต

    สักกัตวา ธัมมะ ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง
    ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พะลัง ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กรกฎาคม 2017
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    สวดบ่อยค่ะ(พระอาจารย์พาสวด) แต่เพิ่งรู้ว่าเป็นบทสวดกำจัดอสูร ^-^
     

แชร์หน้านี้

Loading...