เรื่องเด่น วิธีดูรูปหล่อโบราณหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม A และธรรมชาติเนื้อโลหะเก่า

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Chailai65, 9 กรกฎาคม 2017.

  1. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    บทความรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดหิรัญญาราม (บางคลาน) พิมพ์นิยม โดย เกี๊ยก ทวีทรัพย์

    รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมจัดว่าเป็นรูปหล่อเกจิอาจารย์ที่มีอายุการสร้างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการศึกษาค้นคว้าในประเภทรูปหล่อขนาดเล็กและยังจัดได้ว่าเป็น รูปหล่อที่มีค่านิยมสูงสุดในบรรดาพระเครื่องประเภทรูปหล่อคณาจารย์ แต่ก็อาจเป็นข้อกังขาของผู้ที่ศึกษาพระเครื่องที่คงได้รับรู้มาว่า หลวงพ่อเงินรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาสร้างก่อนพิมพ์นิยม ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจว่า พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม ค่อนข้างจะมีหลักฐานในการจัดสร้างแน่นอน ว่าทางวัดบางคลานได้ว่าจ้างช่างเทหล่อพระ มาจากบ้านช่างหล่อกรุงเทพฯ โดยรูปหล่อที่สร้างอยู่ระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๕ และมีข้อมูลว่าเป็นการจัดสร้างครั้งแรกของวัดโดยเทหล่อพร้อมเหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และเหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก ส่วนรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาเป็นฝีมืองานช่างพื้นบ้านซึ่งมีการกล่าวว่าสร้างหลายคราวแต่ขาดหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เป็นเพียงคำบอกเล่าเท่านั้น แต่ด้วยความที่เป็นรูปหล่อที่ดูแล้วเกิดความเข้มขลังเพราะงานหล่อที่ขาดความประณีตเท่ารูปหล่อพิมพ์นิยม ทำให้เมื่อสังเกตเกิดความรู้สึกว่ารูปหล่อพิมพ์ขี้ตาน่าจะสร้างในคราวแรกๆ แต่อย่างไรก็ตามทั้งรูปหล่อพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตาน่าจะเทหล่อในเวลาใกล้เคียงกัน
    หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ท่านเกิดในช่วง พ.ศ.๒๓๔๘-๒๓๕๕ โดยประมาณเพราะโบราณไม่มีการบันทึกเวลาเป็นแน่นอน (ทางวัดบันทึกว่าท่านเกิด พ.ศ.๒๓๕๓) นับจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา ๒๐๐ ปี และด้วยรูปหล่อพิมพ์นิยมที่กล่าวกันว่าสร้างเมื่อระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๕ ถ้านับตามปีหลังแล้วรูปหล่อนี้ก็จะมีอายุความ ๑๐๐ ปี ฉะนั้นนักนิยมพระที่รักการศึกษาสะสมควรจะรู้รายละเอียดปลีกย่อยบ้าง เพื่อประกอบพิจารณาว่าการสร้างนั้นมีวิธีกรรมอย่างไร มวลสารเนื้อหาเป็นอย่างไร พิธีกรรมตลอดจนกระบวนการช่างหล่อ ช่างแต่ง รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ พิมพ์นิยม วัดบางคลาน จำแนกพิมพ์ออกเป็น ๒ แบบพิมพ์ คือ
    ๑.พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด
    ๒.พิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง
    ในส่วนรายละเอียด พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด หรือพิมพ์ชายติดให้สังเกตุมือซ้ายขององค์พระจะเห็นรูปมือวางมีนิ้วชี้วางซ้อนรับนิ้วหัวแม่มือ ส่วนมือขวามีเพียงนิ้วหัวแม่มือไม่ปรากฎมีนิ้วรอง (น่าจะเรียกว่าพิมพ์มีนิ้วรองจะง่ายกว่า) และชายจีวรด้านซ้ายมือของรูปหล่อส่วนที่ติดข้อมือซ้ายชายจีวรสองเส้นจะเชื่อมติด
    ส่วนรายละเอียดของพิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง หลวงพ่อจะไม่ปรากฎนิ้วชี้รองรับ (บางองค์อาจเห็นเป็นทิวบางๆแต่ไม่ชัดเจน) และในริ้วจีวรด้านซ้ายมือของหลวงพ่อที่ติดกับข้อมือซ้าย จะเห็นเป็นชายจีวรเป็นเส้นเรียงไม่ติดกัน จุดสังเกตอีกสองจุดคือเท้าซ้ายของหลวงพ่อที่พ้นจากริ้วจีวรจะมีเนื้อเกินนูนขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม และเกือบปลายเท้าซ้ายด้านบนจะมีติ่งเนื้อนูน สองติ่ง ซึ่งจุดตำหนิทั้งสองจุดนี้จะอยู่บนเท้าซ้ายและอยู่ล่างเท้าขวาหลวงพ่อ รายละเอียดของหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมทั้งสองแบบ
    พิมพ์ที่กล่าวมาเป็นรายละเอียดปลีกย่อย ส่วนเค้าโครงร่างโดยรวมแทบจะไม่แตกต่าง ทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่าทั้งสองพิมพ์ล้วนใช้แม่แบบ (ตัวแม่) ตัวเดียวกันแต่เกิดจากการถอดแม่พิมพ์สองครั้งทำให้เกิดรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย
    พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม เป็นพระที่ผ่านการแต่งรายละเอียดในขั้นตอนที่เป้นหุ่นเทียน เช่นช่างจะทำการแต่งรายละเอียดตาและปากตลอดจนเก็บรอยตะเข็บและแต่งริ้วจีวรด้านข้างทั้งสองข้างเพราะฉะนั้นเมื่อเทหล่อสำเร็จเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้วไม่ปรากฎรอยตะเข็บข้างให้เห็น รายละเอียดเกี่ยวกับใบหน้าจะแตกต่างกันไปเล็กน้อยก็เพราะผ่านการแต่งให้เกิดความสวยความมาตั้งแต่ต้นไม่ใช่มาแต่งภายหลังเมื่อเทเสร็จ ใต้ฐานองค์พระจะเห็นรอยช่อชนวนประมาณเล็กกว่าแท่งดินสอเล็กน้อย รายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นจุดในการพิจารณาและยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อองค์พระต้องเป็นเนื้อทองเหลืองปนขาวเล็กน้อยตามซอกองค์พระมักจะมีคราบน้ำตาลคลุมนั้นคือ สีสนิมที่เกิดจากธรรมชาติตลอดจนต้องเป็นพระที่เกิดจากเทหล่อด้วยดินไทย คือจะมีเม็ดดินเบ้าสีดำเล็กๆฝังอยู่ตามผิวองค์พระ ซึ่งเม็ดดินเบ้าเหล่านี้นักนิยมพระรุ่นครูอาจารย์เรียกว่าแร่น้ำพี้และต่างย้ำนักหนาว่าต้องมีถึงจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นพระแท้ โดยสรุปในการศึกษารูปหล่อหลวงพ่อเงินทั้งพิมพ์นิยม และพิมพ์ขี้ตาต้องพิจารณา
    ๑.พิมพ์ หมายถึงรายละเอียดรูปแบบขององค์พระตำหนิในพิมพ์ต้องถูกต้อง ขนาดองค์พระต้องถูกแบบ ต้องอ่านพิมพ์ออกว่าเป็นพิมพ์อะไร พิมพ์นิยมหรือพิมพ์ขี้ตา
    ๒.เนื้อหา เนื้อพระสีสันต้องถูกต้องกระบวนการผลิตต้องอ่านออกว่าเป็นพระที่เทหล่อดินไทยแบบโบราณเท่านั้นทั้งสองข้อที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าทำความเข้าใจก็ย่อมศึกษาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินได้ไม่ยากและทั้งหมดนี้ผู้เขียนขออาธนาคุณบารมีหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ คุ้มครองทุกท่านให้โชคดีปราศจากโรคภัยใดๆกล่ำกลาย ให้ได้วัตถุมงคลหลวงพ่อคุ้มครอง

    p3020108-jpg.jpg

    p2280044-jpg.jpg

    p2280047-jpg.jpg

    p2280046-jpg.jpg

    p2280049-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2025
  2. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    เริ่มแรกมาฟังประวัติหลวงพ่อเงินและพิมพ์ทรง จากคลิปตามหาพระแท้ หลวงพ่อเงิน โดย อ.ชวลิต จันคนา

    ประวัติหลวงพ่อเงิน ตอน1
    https://youtu.be/ch2E-Z6qOQE

    ประวัติหลวงพ่อเงิน ตอน2


    พิมพ์ทรง ตอน 1


    พิมพ์ทรง ตอน 2


    พิมพ์ทรง ตอน 3


    พิมพ์ทรง ตอนจบ


    หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม มีทั้งหมด 4 พิมพ์ พระหล่อโบราณแม้เป็นพิมพ์เดียวกัน ก็ไม่เหมือนกัน100% หากเหมือนกันแบบฝาแฝดก็เก๊ครับ

    ลักษณะแม่พิมพ์ A และ B
    ?temp_hash=7d9282cd83c65e0b066ad7868858f82b.jpg

    ลักษณะแม่พิมพ์ C และ D
    012-jpg.jpg

    ตำหนิพิมพ์นิยม
    aaaa-jpg.jpg


    a-a-jpg.jpg

    aaaaaa-jpg.jpg

    aaaaaaa-jpg.jpg

    2034425-5-jpg.jpg

    [​IMG]

    วิธีดูเอกลักษณ์หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม จาก http://www.prasomdej.net/พระหลวงพ่อเงิน-๒๒-กันยา/

    screenshot_2016-03-10-06-51-35-99-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-19-00-22-03-88-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-06-53-12-77-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-19-00-20-46-80-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-19-00-21-01-13-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-19-00-23-08-75-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-06-52-56-96-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-06-53-32-11-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-06-52-09-30-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-06-53-32-11-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-06-58-10-81-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-06-58-25-30-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-07-15-14-90-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-07-15-48-82-01-01-png.png
    screenshot_2016-03-10-06-53-46-53-01-01-png.png

    อาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์ได้สอนวิธีดู พิมพ์นิยม A ดังนี้
    ?temp_hash=8d65a47843ad4c3524285fb2c44f47b1.jpg

    พิมพ์นิยมA ทั้งสององค์หากดูดีๆจะมีการเส้นสายจีวรแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งไม่ได้เกิดจากบล็อคแม่พิมพ์โดยตรง แต่เกิดจากการแต่งหุ่นเทียนแต่ละองค์ที่ได้ให้มีความคมชัดมากขึ้นก่อนทาน้ำดินขี้วัว

    ?temp_hash=3e80105e100f856b59bf786ad78fed26.png
    จากรูปด้านบนแสดงลูกศรสีแดงแสดงตัวอย่างแนวเซาะร่องบางเส้น ด้านหน้าองค์ด้านบนและองค์ด้านล่างมีการเซาะร่องร่องจีวรไปชนเส้นสังฆาฏิด้านหน้าทำให้เส้นจีวรคมชัดขึ้น ความโค้งของเส้นสายจีวรมีความพริ้วของเส้นจีวรต่างกันมากน้อยขึ้นกับน้ำหนักมือของคนแต่งหุ่นเทียนแต่ละองค์ ส่วนเนื้อเกินที่เซาะร่องจีวรด้านหน้าจะไปกองที่ด้านซ้ายของเส้นสังฆาฏิ

    ด้านหลังองค์พระ ช่างจะแต่งเซาะร่องเส้นจีวรหุ่นเทียนเช่นกัน องค์ด้านบนช่างจะทำการแต่งหุ่นเทียนเซาะร่องจีวรให้ลึกมาชนเส้นสังฆาฏิจึงเกิดเนื้อเกินระหว่างร่องเส้นจีวรสุดท้ายกับเส้นจีวรก่อนสุดท้ายคล้ายรูปสามเหลี่ยม ส่วนองค์ด้านล่างช่างจะทำการแต่งหุ่นเทียนเซาะร่องจีวรแต่ทำการเซาะร่องออกไปตามแนวเส้นสังฆาฏิขึ้นไปด้านบนทำให้ไม่มีเนื้อเกินเกิดขึ้นเหมือนองค์บน
    ดังนั้นตำแหน่งเนื้อเกินของร่องจีวรเส้นสุดท้ายไม่ใช่ตำหนิของบล๊อคแม่พิมพ์นิยมAอย่างที่เข้าใจกัน แต่เกิดจากการแต่งหุ่นเทียนทำให้สัณฐานของเนื้อเกินของแต่ละองค์อาจไม่เหมือนกัน


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    รูปด้านล่างเป็นรูปเก่ารูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยมA ที่สร้างวาระแรกมีเส้นสายต่างๆและเปลือกตาคม ผมถ่ายจากกุฏิศาลาไม้หลังเก่าวัดบางคลาน ตามกรอบสีแดง
    ?temp_hash=478c2ce0643b16a98de2f6a6a0b0ff46.jpg
    p3020108-0-jpg.jpg

    เปรียบเทียบเอกลักษณ์พิมพ์ A และตำหนิต่างๆรูปหล่อหลวงพ่อเงินของผมกับรูปแขวนที่วัด วงสีแดงแสดงบล็อคแม่พิมพ์วาระแรกมีหางแซวที่ปลายเปลือกตาขวาและร่องเส้นเชื่อมบางๆระหว่างเปลือกตาซ้ายและเปลือกตาขวา

    ธรรมชาติของการหล่อโบราณคือเนื้อเกินลักษณะหูดเกิดขึ้นตามซอกพระ องค์ของผมจะมีเนื้อเกินที่ร่องจีวรด้านซ้ายองค์พระ2เม็ดและมีเนื้อเกินซอกใต้แข้งซ้าย1เม็ด ส่วนรูปแขวนที่วัดจะมีเนื้อเกินที่ซอกคอด้านซ้าย2เม็ด
    ?temp_hash=68f06f153c2908bbff8903caa3fcfaac.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2023
  3. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    โลหะที่เป็นส่วนประกอบของพระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จากบทความ ดร.แสวง รวยสูงเนิน ในการที่จะเข้าใจวิวัฒนาการของเนื้อพระหลวงพ่อเงิน จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบว่ามีอะไรบ้าง

    โดยพื้นฐานของส่วนประกอบเหล่านี้ จะสามารถพิจารณาได้จากสีของสนิมที่เกิดขึ้นมาในพระที่มีเนื้อจัด และแก่โลหะชนิดนั้นๆ

    เท่าที่ส่องดูในองค์จริงจะมองเห็นความแวววาวของโลหะสามชนิดในเนื้อพระอย่างชัดเจน คือ
    ทองคำ เงิน และ ทองแดง ทั้งที่เป็นโลหะเดิม และโลหะที่กำลังเกิดสนิมกล่าวคือ สนิมทองคำ จะออกสีแดงเรื่อๆ แบบสนิมน้ำหมาก สนิมเงินจะออกดำๆ แบบสนิมตีนกา และสนิมทองแดง เป็นสีเขียว ที่นิยมเรียกว่าสนิมหยก

    จึงอนุมานได้ว่า โลหะสามชนิดนี้มีอยู่ในพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินแน่นอน ดังจะได้กล่าวถึงการเกิดสนิมตามลำดับต่อไป

    อีกโลหะหนึ่งที่แทบจะไม่มีการกล่าวถึงคือ สังกะสี ที่เป็นส่วนประกอบของทองเหลือง โดยผสมอยู่กับทองแดง

    ทั้งนี้ ทองเหลืองจะเป็นวัสดุที่มีราคาถูกและหาง่ายกว่าทองและเงิน ที่มีหลายเกรด ตั้งแต่มีสังกะสี 5% จนถึง 40%

    จึงอาจกลายเป็นส่วนประกอบหลักของการหล่อพระทั่วไป ที่ทำให้ส่วนผสมเกิดสนิมช้าลง จากบทบาทของสังกะสีที่ทำปฏิกิริยาเกิดสนิมช้ากว่าทองแดง

    ดังนั้นในชั้นนี้ จึงคาดว่า โลหะหลักๆ ในรูปหล่อพลวงพ่อเงิน จึงน่าจะมี ทองแดง สังกะสี เงิน และทองคำ เป็นหลัก หรือตามลำดับ โดยโอกาสจากมากไปน้อยก็ว่าได้

    ดังนั้น การพิจารณาพัฒนาการของเนื้อและผิวพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน จึงควรเข้าใจองค์ประกอบ และลำดับการเกิดสนิมของโลหะแต่ละชนิด ดังนี้

    โลหะ ที่เกิดสนิมได้ง่ายและเร็วที่สุดก็คือ เงิน ที่จะมีสนิมสีดำ หรือเทาดำ

    จากรูปด้านล่างจะเห็นคราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟตามซอกจากการหล่อโบราณ
    screenshot_20170709-172619-png.png
    screenshot_20170709-172653-png.png

    ลำดับต่อมาก็คือ ทองแดง ที่จะออกสีสนิมเป็นสีหยก เขียวอมน้ำเงิน
    ลำดับต่อมาก็คือ ทองคำ ที่ออกสีสนิมน้ำหมาก แดงเรื่อๆ ทั้งในเนื้อและที่ผิว
    screenshot_20170709-173118-png.png

    ลำดับสุดท้ายก็คือ สังกะสี ที่จะออกสนิมขาวๆนวลๆ ที่คนในวงการเรียกว่า เนื้อโลหะตกสี
    screenshot_20170709-173150-png.png
    แต่การเกิดสนิม ยังขึ้นอยู่กับสัดส่วนของโลหะที่มีในเนื้อพระ

    พระที่แก่เงิน เนื้อก็จะออกดำ และอาจคลุมและบดบังสนิมอื่นๆไว้ ทำให้เห็นไม่ค่อยชัด
    พระที่แก่ทองแดง ก็จะมีสนิมหยกจัดจ้าน คลุมสนิมดำของเงิน และสนิมแดงของทองไว้ภายใน แบบเดียวกับสำริดโบราณ
    พระที่แก่ทองคำ ผิวจะแดงจัด เห็นได้ชัด
    แต่พระที่ได้อายุ และแก่สังกะสี จะออกสีนวลๆ แบบพระตกสี
    ดังนั้น
    1. พระที่มีส่วนผสมดังนี้จะมีความแวววาวในเนื้อ มองเห็นโลหะทั้งสามอย่างชัดเจน เมื่อส่องแสงเข้มๆ เช่นส่องกับแสงอาทิตย์ และ
    2. พระที่ได้อายุจะมีลำดับและส่วนประกอบของสนิมถูกต้อง
    screenshot_20170709-174509-png.png
    พระที่ได้อายุ เก่าถึงยุค ก็จะมีสนิมผสมกัน ระหว่าง ดำ แดง เขียว และขาว ของโลหะทั้งสี่ชนิดหลักดังกล่าว

    รูปด้านล่างจะเห็นสนิมทองคำสีแดงน้ำหมากด้านหลัง และมีสนิมสังกะสีสีขาว สนิมเงินสีดำเป็นสนิมขุมที่แขน และรอยหดโลหะผสมลักษณะคล้ายรอยหนอนด้นตรงบริเวณแขนขวา
    screenshot_20170709-173233-png.png
    ที่สามารถใช้ในการพิจารณาอายุของพระจากเนื้อได้

    ดังตัวอย่างรูป

    นอกจากลักษณะของการเกิดสนิมแล้ว การส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ยังพบสภาพการเหี่ยวของผิวโลหะ ที่คาดว่าน่าจะเกิดทั้งจากการกร่อน การตกผลึก และการเซทตัวของเนื้อพระ

    ทำให้เห็นผิวเป็นริ้วๆ เป็นเส้นนูนๆ ละเอียดยิบ คล้ายลายผ้า หรือลายรากไม้

    ที่พอจะสังเกตได้จากเลนส์กำลังขยาย 20x ขึ้นไป แต่จะชัดเจนที่กำลังขยาย 40x ขึ้นไป

    สำหรับท่านที่เคยเห็นที่กำลังขยายสูงแล้ว ก็จะจำได้ และรู้วิธีการสังเกตด้วยเลนส์กำลังขยายต่ำ ที่ 10x ก็พอได้ แต่ก็แค่จะเห็น “ผิวไม่เรียบ ไม่มัน” เท่านั้น

    นี่คือหลักเบื้องต้นในการดูเนื้อพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

    นอกจากนี้ใช้หลักการของความหลากหลายเพื่อดูเนื้อโลหะ ผิว และสนิมพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน
    สิ่งที่จะพบเห็นและสังเกตได้ง่ายมากๆ ก็คือ
    1. เนื้อพระไม่สม่ำเสมอทั้งองค์ เมื่อส่องดูในเนื้อพระ จะมีโลหะต่างๆปรากฏอยู่แบบ “ลายพร้อย” ลักษณะคล้ายลายตุ๊กแก ที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน บางจุดสีเนื้อเงินมาก บางจุดสีเนื้อทองมาก ไม่ซ้ำกันเลยรอบองค์ แม้ในองค์เดียวกัน screenshot_20170709-172619-png.png
    2. สนิมหลากหลายได้อายุ ทั้งชนิดและความหลากหลาย ทั้งในเนื้อ ผิวใน และที่ผิวด้านนอก โดยการสังเกต
      • การเกิดสนิมของโลหะที่อยู่ในเนื้อเป็นเม็ดสีตามลักษณะของสนิมโลหะที่เป็นองค์ประกอบ
      • การปรากฏของสนิมที่อยู่ที่ผิวเนื้อ ต้องสอดคล้องกับเนื้อโลหะที่รองรับข้างในเนื้อ
      • คราบสนิมที่เคลื่อนตัวออกมาอยู่ที่ผิวนอก ก็ต้องสอดรับกับโลหะและสนิมที่รองรับอยู่ที่ชั้นใน

      จากรูปด้านล่างจะเห็นกระแสโลหะต่างๆอยู่ใต้ผิวพระทั้งกระแสทองคำ กระแสเงินที่เป็นสีดำ กระแสทองแดงที่มีสนิมเขียวบริเวณเศียรขององค์พระ
    p2280059-2-jpg.jpg
    1. ในบริเวณที่สนิมหลุดหายไป หรือพระล้างจนเห็นผิวเปิดชัดเจน จะยังปรากฏสนิมในเนื้อ และสนิมที่ผิวอยู่ และจะพบว่ามีลักษณะการเซทตัวของเนื้อผิวของโลหะ คล้ายๆการหดตัว หรือตกผลึก เป็นเส้นสัน และร่องเล็กๆ ทำให้ดูเป็นริ้วละเอียดยิบเมื่อมองด้วยกล้องกำลังขยายสูง และมองเป็นผิวไม่เรียบ ที่เลนส์กำลังขยายต่ำ

    2. ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/502220
    ..... อ้างอิงได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/502154
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2018
  4. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    วิธีการตรวจสอบพระเครื่อง พระพุทธรูปบูชา เนื้อสัมฤทธิ์ เก่าหรือใหม่

    พระเก่าไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องพระบูชาสร้างด้วยเนื้อหินศิลา สัมฤทธิ์ ชิน ตะกั่ว ดิน ผง ว่านฯ ต้องมีความเก่า คือมีคราบ มีสนิม มีรอยสึกกร่อน แอ่ง รูพรุนปรายเข็ม ริ้วระแหงแตกร้าวเหี่ยวย่น ผิวเข้ม เนื้อแห้งสนิทพื้นผิวของ เนื้อพระไม่ตึงเรียบ เนื้อไม่มันวาว ไม่กะด้าง ถ้าใช้มานานถูกเสียดสีเนื้อพระจะเข้มขึ้นแลมันใส ลูบดูทั่วองค์พระจะไม่มีขอบคมเลย ดมดูจะไม่มีกลิ่น เอาลิ้นแตะดูจะไม่ดูดลิ้นอย่างนี้เป็นต้น หลักการพิจารณาตรวจสอบพระพุทธรูปบูชาเนื้อสัมฤทธิ์เก่าหรือใหม่ เป็นของแท้ของเทียมหรือของปลอมดังจะได้เรียนต่อไปนี้ ขอท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาทุกตัวอักษร และตีความหมายไปด้วย แล้วท่านจะเข้าใจในการดูพระแท้พระปลอม การที่จะตรวจสอบว่าเป็นพระเก่าพระใหม่โดยการเขียนเป็นตัวอักษรให้เข้าใจได้แน่ชัดนั้นยากนัก และแต่ละหัวข้อให้ถามตนเองว่าพระที่สร้างแบบนี้ทำปลอมได้ไหม



      • พระเก่าเราดูรูปแบบว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยใด เป็นสมัยลพบุรี เชียงแสน อู่ทอง สุโขทัย อยุธยา ถูกต้องหรือไม่เป็นฝีมือช่างราษฎร์ (สร้างไม่สวยงาม) หรือฝีมือช่างหลวง (สวยงาม)
      • พระเก่าต้องมีคราบมีสนิม มีรอยสึกกร่อน แอ่งรูพรุนปรายเข็ม รอยชำรุดแตกร้าวเนื้อแห้งสนิทผิวเข้ม เป็นไปตามธรรมชาติอย่างที่ว่าสนิมอยู่ในเนื้อ
      • พระเก่าแท้เห็นแล้วได้ไว้เป็นเจ้าของมีความซึ้งตา ซึ้งใจ เนื้อผิวของพระเนียนสนิท
      • พระเก่าเอามือจับลูบดูทั่วองค์พระทุกแห่ง จะไม่มีขอบคมติดมือเลย
      • ถ้าตรงไหนมีเนื้อในของพระสึกกร่อนจนเห็นเนื้อโลหะ เนื้อโลหะสัมฤทธิ์ตรงนั้นจะมองเห็นสีแดงปนเหลือง หรือค่อนข้างแดง หมองหม่น คล้ำ สีซีด ไม่มันวาว ไม่เป็นเหลืองเหมือนทองเหลืองล้วนๆพระเก่าผิวเนื้อจะมันใส แห้งสนิท ของทำเทียมเลียนแบบผิวเนื้อพระจะมันวาวเช่นดำมันวาวหรือแดงน้ำตาลไหม้มันวาว พระของใหม่เนื้อจะกะด้าง ไม่งามติดตา หรือให้ช่างรมดำเอา
      p2280052-jpg.jpg
      • พระเก่าผิวเนื้อจะมันใส แห้งสนิท ของทำเทียมเลียนแบบผิวเนื้อพระจะมันวาวเช่นดำมันวาวหรือแดงน้ำตาลไหม้มันวาว พระของใหม่เนื้อจะกะด้าง ไม่งามติดตา หรือให้ช่างรมดำเอา
      p2280061-jpg.jpg
      • พระเก่าถ้าเป็นพระนั่งเคาะดูที่ฐานนั่งจะมีเสียงดังแปะๆ ถ้าเป็นพระใหม่จะมีเสียงดังหนักแน่นกังวาล ก็เพราะเนื้อพระยังใหม่กินตัวกับอากาศไม่นานพอวัสดุที่โบราณาจารย์ นิยมเอามาสร้างเป็น พระพุทธรูปบูชาอย่างแพร่หลายได้แก่โลหะ ทองคำ นาค เงิน ทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ลงหิน เมื่อผสมกัน แล้วเรียกว่าสัฤทธิ์นี้ เฉพาะแร่ทองคำ เงินและทองแดง เป็นธาตุแท้ นอกนั้นเป็นโลหะผสม เนื้อทองคำเหลืองอร่ามสวยงามมีราคาสูงไม่กลายสภาพเป็นอย่างอื่น เมื่อผสมกับแร่ธาตุอื่นจะทำให้แร่ธาตุอื่น จะทำให้ แร่ธาตุนั้นผิวกลับดำ ถ้าธาตุนั้นเก่าก็จะทำให้มองเห็นความเก่าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื้อทองแดงเมื่อผสมกับแร่ธาตุอื่น จะทำให้แร่ธาตุนั้นเปลี่ยนไป เช่นทองแดงผสมสังกะสีจะกลายเป็นทองเหลืองเนื้อสัมฤทธิ์ตามความหมายของนักเล่นพระ หมายถึงโลหะผสมผิวกลับดำหมองคล้ำย่อมมีผิวเนื้อแตกต่างกัน ทั้งนี้แล้วแต่ส่วนผสม เช่นถ้าส่วนผสมแก่เงินผิวโลหะนั้นจะกลับดำ ถ้าโลหะนั้นมีทองคำผสมด้วยแม้จะไม่มากนักก็ทำให้โลหะนั้น มีความมันในสวยงามขึ้น โลหะที่ผสมเป็นเนื้อสัมฤทธิ์สร้างพระบูชา นิยมเรียกชื่อต่างกันตามผสม เช่น ปัญจโลหะ, และนวโลหะ
      • พระเก่าเนื้อแห้งสนิท ผิวเนื้อของพระไม่เรียบตึง เนื้อพระเก่าจะมีรอยย่นเหี่ยวแอ่งรู พรุน สึกกร่อนสวนมากมีรอยชำรุดแตกร้าวใช้แว่นขยายกำลังสูงส่องจะมองเห็นชัดเจน
      screenshot_20170709-172619-png.png
      • พระเก่ามีรูสนิมขุม หรือขุมสนิมจะเกิดจากด้านในมาด้านนอก ปากสนิมขุมจะเล็กด้านในกลวง สนิมที่ทำเทียมใช้น้ำกรดราดกัดเนื้อพระปากสนิมจะกว้างด้านในเล็ก สนิมจะกัดกินเนื้อพระสม่ำเสมอ พระเก่าสนิมขุมจะเป็นแอ่งขรุขระสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอ
      • พระเก่าผิวเนื้อ ผิวสนิมจะมองดูเห็นมีสีอ่อนแก่ได้ชัดเจน ไม่ใช่ผิวสนิมเนื้อของพระมองดูเป็นสีเดียวโล้นๆ ซึ่งเป็นผิวสนิมของพระใหม่
      p2280059-jpg.jpg
      • พระเก่าดมดูจะไม่มีกลิ่นฉุน เมื่อดมดูจะรู้สึกเฉยๆ หรือเมื่อเอาลิ้นแตะเนื้อพระดูจะไม่ดูลิ้น เนื้อพระใหม่เอาลิ้นแตะดูจะดูดลิ้นเพราะในเนื้อพระน้ำยาเคมียังระเหยไปไม่หมด
      • พระบูชาที่เอาเนื้อพระเก่าที่แตกหักชำรุดหรือไม่สวยงามมาเทสร้างใหม่ให้เป็นพระสมัยสูงมีราคาแพงเช่นพระพุทธรูปเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี นี้นั้นขอให้สังเกตุให้ดี ผิวสนิมเนื้อของพระที่เทใหม่จะไม่มันใส แต่มีความเก่า เนื้อพระนี้จะมองดูด้านๆ และเนื้อโลหะไม่เข้ากันสนิท คือดำๆ ด่างๆ ผิวหยาบ ทำกินหุ่นไม่เหมือนของเก่าหรือบางทีก็ไม่มีดินหุ่น เอามือจับลูบดูอาจมีขอบคมอยู่บ้าง
      • พระสัมฤทธิ์เนื้อมันใส จัดเป็นเนื้อเก่าแท้ ความมันใสเกิดจากพระสร้างมานานเนื้อพระกินตัว กับอากาศถูกความร้อนเย็นนานเข้าเนื้อพระแห้งสนิท เกิดคราบสนิมมีความสึกร่อนตามธรรมชาติ ความแห้งไล่ความชื้นในเนื้อพระออกไปทำให้พระแห้ง เกิดความมันใส ความมันใสนี้ดูด้วยตาจะอยู่ในระหว่างความมันวาวและความกระด้าง
      p2280059-2-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2018
  5. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ปรากฏการณ์ สูญเพลิงของพระหล่อโบราณ

    เราจะเห็นว่าผิวพระจะไม่เรียบ จะมีรูพรุนปรากฏให้เห็นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณพื้นผิวองค์พระ พวกรูพรุนเหล่านี้เราเรียกว่า ตามด ด้วยเหตุที่ตามดปรากฏอยู่บนพื้นผิวพระ มีรูพรุนละเอียดเล็กๆ คล้ายๆ กับลูกตาของมด ซึ่งถือเป็นธรรมชาติที่สำคัญประการหนึ่งในพระหล่อโบราณ และเป็นจุดสังเกตในการแยกแยะแท้-เก๊ ได้ ทีนี้การเกิดตามดบนผิวพระเกิดขึ้นได้อย่างไรมีที่มาที่ไปอย่างไร หรือว่าช่างหล่อจงใจทำ จริงๆแล้วการเกิด ตามด บนผิวพระเกิดตามธรรมชาติของพระหล่อเนื้อโลหะที่มีโลหะหลายชนิดมาผสมกัน เมื่อมีโลหะหลายชนิดเช่น ทองแดง ดีบุก สังกะสี ปรอท เงิน ทอง ซึ่งการหล่อพระในสมัยโบราณจะมีผู้ศรัทธานำโลหะหลายชนิดเพื่อหล่อพระ เช่น ขันลงหิน ทัพพีทองเหลือง เข็มขัดนาค กำไล สร้อยทอง ทองคำใส่เข้าไปในเบ้าหล่อเพื่อหลอมรวมกันโดยอาศัยความร้อนโลหะบางชนิดต้องใช้ความร้อนสูงจึงจะละลายในขณะที่โลหะบางชนิดใช้ความร้อนไม่สูงมากก็ละลายได้โดยง่าย ทั้งนี้เพราะโลหะหลายชนิดมีจุดหลอมเหลวแตกต่างกัน และช่างใช้ความร้อนสูงในการหลอมโลหะให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้ละลายเป็นน้ำ เพื่อให้ง่ายแต่การเททองหล่อพระในแม่พิมพ์ ในขณะที่ช่างใช้ความร้อนสูงในการหลอมโลหะต่างชนิดกัน ก็จะเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า สูญเพลิง ของโลหะต่างชนิดขึ้นมาในกระบวนการหล่อพระ กล่าวคือโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าก็จะละลายก่อนในขณะที่โลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูงยังไม่ละลาย ช่างหลอมก็จะเพิ่มความร้อนให้สูงในการหลอมละลายนั้น กว่าที่โลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูงจะละลายหรือละลายได้หมด โลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำซึ่งละลายไปก่อนหน้านั้นแล้วก็จะมอดไหม้ กลายเป็นขี้เถ้า ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า สูญเพลิง และเป็นที่มาของตามดในผิวพระเมื่อโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำเกิดการ สูญเพลิงกลายเป็นขี้เถ้าไปแล้วก็จะปะปนกับเนื้อโลหะอื่น ที่ยังไม่สูญเพลิง(โลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูงและละลายช้ากว่า) ที่ภาษาช่างเรียกว่าขี้เถ้า ไปฝากกับเนื้อโลหะที่ยังไม่สูญเพลิง เมื่อนำโลหะนั้นไปเทในแม่พิมพ์และเย็นตัวลงขี้เถ้าเหล่านั้นก็จะเกาะติดแน่นบนผิวโลหะ ซึ่งเราจะเห็นเป็นเม็ดเล็กๆสีดำๆบ้าง อมเทาขุ่นๆ บ้าง แทรกอยู่ในเนื้อโลหะตามผิวให้เห็น ที่นักเลงพระเรียกว่า เม็ดแร่ นั่นแหละ และหากขี้เถ้าติดไม่แน่นก็จะหลุดออกมาเนื้อโลหะก็จะมีรูพรุนที่เรียกว่า ตามด โดยเป็นรูพรุนเล็กๆ
    screenshot_20170709-174509-png.png
    p2280046-01-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2018
  6. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    กรรมวิธีการสร้างรูปหล่อโบราณ

    กรรมวิธีในการสร้างรูปหล่อโบราณเริ่มจากการแกะพิมพ์ขึ้นมาก่อน เมื่อแกะและตกแต่งหุ่นเทียนเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงถอดหุ่นเทียนด้วยขี้ผึ้งออกมาหลายๆตัว นำหุ่นเทียนนั้นมาติดกับช่อชนวน เมื่อติดเป็นช่อเรียบร้อยดีแล้วก็เอาดินนวลผสมกับมูลโคซึ่งจะมีลักษณะเป็นดินอ่อนๆทาไล้พอกทับเอาไว้รอจนดินนวลนั้นแห้งแข็งดีแล้วก็จะเอาดินเหนียวทาทับชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง พอดินเหนียวแห้งและแข็งดีแล้วก็เอาไปสุมไฟเพื่อให้ความร้อนไล่ขี้ผึ้งออกให้หมดจนภายในเป็นช่องว่าง จากนั้นก็เอาเนื้อโลหะที่หลอมจนเหลวดีแล้วเทลงไป เนื้อโลหะจะไหลเข้าไปแทนที่หุ่นเทียน รอจนเนื้อโลหะแข็งและเย็นดีแล้วจึงทำการทุบดินเบ้าออกก็จะได้รูปหล่อติดกับแกนชนวนเป็นช่อๆ ตัดรูปหล่อออกจากแกนชนวนทีละรูปก็จะได้รูปหล่อโบราณที่สมบูรณ์

    จากกรรมวิธีการสร้างแบบนี้จึงทำให้รูปหล่อโบราณมีลักษณะไม่ค่อยสวยงาม รายละเอียดไม่ค่อยสมบูรณ์ มักจะมีรอยตำหนิเป็นเนื้อเกินหรือเนื้อขาดอยู่เสมอ รูปหล่อจึงมักถูกนำไปทำการตกแต่งขูดเกลาผิวให้ดูเรียบร้อยและสวยงามมากขึ้นด้วยตะไบ ตามซอกลึกหรือตามพื้นผิวมักมีรอยคราบเบ้าปรากฎให้เห็นซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อในการพิจารณาความเก๊-แท้ข้อหนึ่งของรูปหล่อ

    ตัวอย่างเนื้อขาด-เกินในรูปหล่อ

    หลักในการพิจารณารูปหล่อโบราณ

    ถึงแม้รูปหล่อแต่ละองค์จะไม่เหมือนกันเพราะเกิดจากหุ่นเทียนคนละตัวและมีรายละเอียดไม่ค่อยสมบูรณ์แต่ก็มีหลักการที่ใช้ในการพิจารณาดังต่อไปนี้

    o ถึงแม้รูปหล่อจะมีรายละเอียดของส่วนต่างๆไม่ค่อยคมชัดอย่างรูปปั๊ม แต่ว่ารูปหล่อก็ต้องมีความคมชัดในพิมพ์ ไม่เบลอตื้นหรือลางเลือน ยกเว้นรูปหล่อที่ผ่านการใช้ ถูกสัมผัสจนเกิดความสึกหรอหรือลบเลือนไปบ้าง จึงควรพิจารณาข้ออื่นๆ ประกอบไปด้วย

    o แม้ว่าเนื้อโลหะหรือผิวของรูปหล่อจะไม่เรียบตึงแบบรูปปั๊ม แต่ลักษณะของเนื้อรูปหล่อของแท้จะต้องไม่ฝ่อเพราะนั่นเป็นลักษณะของพระเก๊ที่ถอดพิมพ์จากพระแท้ และพื้นผิวของรูปหล่อจะไม่เรียบเสมอกันทั้งองค์ แต่จะมีลักษณะขรุขระลุ่มๆดอนๆ บางแห่งก็มีรอยเนื้อขาดบางแห่งก็มีรอยเนื้อเกิน

    ตัวอย่างตุ่มเกินบริเวณซอกแขนด้านซ้ายและฐาน
    screenshot_20170713-180203-png.png

    ตัวอย่างเนื้อขาดตามร่องขาและร่องเท้า และหากสังเกตดีๆจะมีตำหนิของพิมพ์นิยมA คือมีติ่งเกินที่หน้าแข้งขวาไม่ใช่เพียง1ติ่ง แต่มีติ่งเกิน3ติ่งเรียงต่อกัน 2ติ่งเล็กๆและ1ติ่งใหญ่
    screenshot_20170713-180448-png.png

    o ตามพื้นผิวของรูปหล่อจะปรากฎคราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟสนิมโลหะต่างๆ แม้ว่าร่องรอยเหล่านี้จะมีการขูดทำความสะอาดหรือผ่านการใช้มาบ้างแต่ตามซอกลึกก็ยังคงต้องมีปรากฎให้เห็นอยู่บ้าง

    o เนื่องจากรูปหล่อมักสร้างมาจากเนื้อโลหะผสมหลายชนิดรวมกัน จึงทำให้กระแสเนื้อโลหะมีความเข้ม มองเห็นเป็นส่วนผสมของเนื้อโลหะหลายชนิดตามพื้นผิว รูปหล่อบางชนิดเนื้อโลหะไม่รวมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้เกิดมีรอยย่นเป็นเสี้ยนๆหรือแตกรานได้เช่นกัน

    o รูปหล่อเป็นพระเครื่องที่มีอายุการสร้างมานาน เนื้อโลหะจึงต้องมีความแห้ง ซีด เป็นมัน แต่จะไม่มีประกายแวววาวบนผิวพระเป็นอันขาด

    o รูปหล่อมักผ่านการตะไบตกแต่งเพื่อความสวยงาม ในสมัยนั้นมักใช้ตะไบจีนซึ่งรอยตะไบค่อนข้างใหญ่และหยาบ

    o รูปหล่อมักมีรอยแปรงหรือรอยตกแต่งหุ่นเทียนที่เกิดจากตอนทาดินขี้วัวที่หุ่นแบบที่เป็นเทียนขี้ผึ้ง หากใช้กล้องกำลังสูงๆจะเห็นเส้นของแปรงทาดินขี้วัวและรอยตกแต่งหุ่นเทียนทั่วองค์พระ

    p2280059-2-jpg.jpg
    p2280061-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2020
  7. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยมควรมีเปลือกตาคล้ายหมวกแก๊ป ใต้เปลือกตาเว้าลึกเข้าไปด้านใน แต่องค์นี้นอกจากมีเปลือกตาคล้ายหมวกแก๊ปแล้วยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะองค์ คือมีตุ่มเนื้อเกินใต้เปลือกตาทำให้ดูคล้ายรูปหล่อหลวงพ่อมีลูกตาทั้งสองข้างด้วย

    screenshot_20170715-121029-png.png
    ?temp_hash=90f74039d3f03a1b03ecbcc3dc64fefd.png
    p2280043-0-01-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2018
  8. watgeang_e

    watgeang_e เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    459
    ค่าพลัง:
    +449
    แบบมีมือรองนั่ง ชายจีวรชิด..
    ไม่รู้ว่าแท้หรือไม่แท้ครับ..ชอบความชัดเจนยิ่งตรงจุดผ้าคลุมไหล่แกะแม่พิมพ์ได้สมจิงมากผมว่าเหมือนมีทีผ้าคลุมจิงๆซึ่งต่างจากที่เคยเหนหัวไหล่มักเปิดเห็นคล้ายไหล่เปลือยจึงดูเหมือนไหล่ลึกเหมือนไม่สมมดุล..ไหล่เปิดว่างั้น..ติดตามครับ
    FB_IMG_1453217776881.jpg FB_IMG_1453217771846.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2017
  9. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    การพิจารณา น้ำหนักของรูปหล่อหลวงพ่อเงิน
    สมัยโบราณการหล่อพระจะชั่งโลหะตามน้ำหนักซึ่งใช้หน่วยเป็น เฟื้อง, สลึง, บาทและตำลึงสำหรับรูปหล่อหลวงพ่อเงินจะมีน้ำหนัก 3 ขนาด คือ
    หนัก 1 บาทหรือ 4 สลึง(15.2 กรัม)
    หนัก 1.5 บาทหรือ 6 สลึง (22.8 กรัม) และ
    หนัก 2 บาท (30.4 กรัม) ตามลำดับ
    ซึ่งเมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว บวก ลบ แล้วจะไม่เกิน 1.5 กรัมตามขนาดด้านบน

    สำหรับองค์นี้น้ำหนัก 21.44 กรัมหรือ 6 สลึง เนื่องจากลำตัวองค์ชะลูดล่ำและฐานพระสูง
    p2280047-jpg.jpg
    p2280044-jpg.jpg

    การพิจารณาเนื้อโลหะผสม

    เนื้อโลหะเป็นทองเหลืองยุคเก่า สมัยนั้นบ้านช่างหล่อจะใช้ทองเหลืองจากใบพัดเรือเดินสมุทร ซึ่งเป็นทองเหลืองคุณภาพดี มีความแตกต่างกับเนื้อทองเหลืองในยุคปัจจุบันที่เป็นทองเหลืองคุณภาพต่ำ และมีส่วนผสมของแร่โลหะต่างๆที่นำมาผสม เช่น ผสมทองคำ ผสมเงิน หรือผสมนาค เป็นต้น ออกสีเหลืองอมเขียว เมื่อส่องขยายใต้ผิวพระด้วยแสงไฟจะเห็นกระแสทองคำสุกปลั่งมีประกาย บางองค์จะปรากฎเห็นแร่โลหะชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดอยู่ตามใต้ผิว และเมื่อใช้แว่นขยายส่องดูจะเห็นได้ชัดเจน และบางองค์จะไม่ปรากฎให้เห็นแร่แต่อย่างใด จะมีมากหรือมีน้อยก็ขึ้นอยู่ที่การใส่ส่วนผสมของแร่โลหะแต่ละชนิดนั้นๆ เนื้อทองเหลืองจะไม่ซีดหมอง มีคราบสนิมสีน้ำตาลเข้มทั่วองค์พระ และอมดำ ไม่ดำด้าน ไม่สะท้อนแสงหรือไม่ออกทองเหลืองด้านๆจาการใช้กรด ซึ่งเป็นการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามกาลเวลาของอายุนับเป็น 100 ปี ผิวพระจะมีความเป็นมันและเนียนเป็นธรรมชาติ
    p2280059-2-jpg.jpg
    หากสังเกตุให้ดีคราบไคลจะไม่ค่อยเกาะติดองค์พระและมีความแตกต่างจากองค์พระทั่วๆไปเห็นได้อย่างชัดเจน ตามซอกองค์พระในบางองค์จะปรากฎเห็นคราบใสๆเหมือนหยก เป็นสีเทาเข้มบ้าง และบางจุดเป็นสีเขียวอ่อนๆบ้าง ฝังติดแน่นเป็นคราบเบ้าดินผสมขี้วัว
    screenshot_20170709-172619-png.png
    องค์พระจะมีความล่ำอ้วน เก่า ได้อายุถึงยุค บ่งบอกถึงความเป็นธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
    ส่วนรอยตะไบ พระบางองค์จะมีการแต่งด้วยตะไบที่มีเนื้อเกินในส่วนต่างๆขององค์พระ เพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น ร่องรอยตะไบจะลึก และเป็นเส้นนูนใหญ่บ้าง เล็กบ้างอย่างเป็นระเบียบ เมื่อเอามือลูบองค์พระจะไม่มีความคม

    สรุป การพิจารณาควรยึดหลัก คือ
    1.พิมพ์ทรงและเอกลักษณ์ถูกต้อง
    2.เนื้อโลหะทองเหลืองเก่า เหลืองอมเขียว และมีโลหะทองคำ เงิน ทองแดงและสังกะสีผสมในเนื้อโลหะ
    3.คราบสนิมความเก่าของโลหะผสมต่างๆเป็นธรรมชาติ สนิมทองคำเป็นสีน้ำตาลแดง สนิมเงินเป็นสีดำ สนิมสังกะสีเป็นสีขาว ปรากฏทั้งใต้ผิวและบนผิวขององค์พระ
    4.น้ำหนักของพระ ต้องชั่งได้หนัก 1บาท, 1.5บาท หรือ 2 บาท

    การได้พระดีมาบูชา ถือเป็นวาสนาและเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง รูปหล่อของหลวงพ่อทุกองค์มีพุทธคุณที่ดี มีการจัดทำพิธีพุทธาภิเษกที่มีการนั่งปรกอธิฐานจิตและสวดพระคาถาที่เข้มขลังทั้งสิ้น เพราะท่านปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ อยู่ในศิลในธรรมนั่นเอง ดังที่มีข่าวเกี่ยวกับประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ที่แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
    สิ่งที่สำคัญ คล้องหลวงพ่อแล้วต้องปฎิบัติตัวให้อยู่ในศีล ในธรรม หลวงพ่อท่านก็จะคุ้มครองตัวเราให้แคล้วคลาด ปลอดภัย เงินทองไหลมาเทมา มั่งมีโภคทรัพย์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2018
  10. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    พอดีไปเจอคลิป Youtube วิธีดูหลวงพ่อเงินทั้งพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา ของอาจารย์โกมล สงวนพวกหรือBuddha image จึงขอเอามาแชร์ให้เพื่อนๆได้ศึกษาเป็นแนวทางครับ

    วิธีดูรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม


    วิธีดูรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา5ชาย


    วิธีดูรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา4ชาย


    วิธีดูรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา3ชาย


    วิธีดูรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ทุกพิมพ์


    หวังว่าจะได้รับความรู้จากคลิปของอาจารย์ที่เผยแพร่ เพื่อนำมาศึกษาและสะสมพระของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2018
  11. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    คลิปของอาจารย์สมาน คลองสาม สอนดูตำหนิต่างๆของรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม หน้านิยม(A)
    ตอน1


    ตอน2


    ตอน3


    ตอน4


    เปิดตลับถ่ายรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม ด้วยเลนส์Macro ความละเอียด50ล้านพิกเซล สามารถขยายภาพดูรายละเอียดเนื้อโลหะทองเหลืองผสมโลหะต่างๆ ธรรมชาติสนิมของโลหะต่างๆ ธรรมชาติการหล่อพระแบบโบราณที่ทาด้วยดินขี้วัว หลุมและรูที่เกิดจากเม็ดทรายที่เป็นหลุมลึกและปากหลุมดูคมๆ คราบขี้เบ้าผิวไฟตามองค์พระ รอยหนอนและลายสังคโลคกันคร่าวๆกันก่อน หากมีเวลาจะมาขยายเนื้อโลหะให้ดูกันคราวหน้าครับ

    ภาพถ่ายด้านหน้า ดูเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ของรูปหล่อ ซึ่งองค์นี้มีจุดเด่นพิเศษคือมีเนื้อโลหะเกินที่ใต้เปลือกตาทั้งซ้ายและขวาทำให้ดูรูปหล่อหลวงพ่อมีลูกนัยตาทั้งสองข้าง
    temp_hash-fe007f2265b0ae14d9d6bd5b0f465cb8-jpg.jpg

    ด้านหลังจะเห็นธรรมชาติของสนิมของโลหะผสมต่างๆ และหลุมที่เกิดจากเม็ดทรายที่ถูกความร้อนจากโลหะหลอมจนเผาผลาญออกไปจนเป็นหลุมลึก
    temp_hash-fe007f2265b0ae14d9d6bd5b0f465cb8-jpg.jpg

    ด้านข้างด้านขวาขององค์พระ จะดูเหมือนหลวงพ่อลืมตามีลูกนัยตาด้านขวา
    temp_hash-fe007f2265b0ae14d9d6bd5b0f465cb8-jpg.jpg

    ด้านข้างด้านซ้ายขององค์พระ เห็นนัยตาซ้ายเช่นกันแต่มีขนาดเล็กกว่านัยตาด้านขวา
    temp_hash-fe007f2265b0ae14d9d6bd5b0f465cb8-jpg.jpg

    ด้านล่างใต้ฐาน รอยตัดก้านช่อค่อนข้างมีขนาดใหญ่ มีคราบเบ้าดินขี้วัว สนิมของโลหะและรอยแปรงหยาบที่ทาดินขี้วัวและรอยตะไบเก่า และธรรมชาติของรูเล็กๆที่เกิดจากเม็ดทรายที่ถูกเผาหลอมหลุดออกไป
    temp_hash-fe007f2265b0ae14d9d6bd5b0f465cb8-jpg.jpg

    ด้านบนเศียรด้านหลัง ไล่ระยะโฟกัสจากเศียร หลังและฐานตามลำดับ
    lrm_export_47013992502719_20180923_102720814-01-jpg-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2018
  12. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ภาพถ่ายบริเวณพระเศียรในมุมต่างๆ
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg

    ภาพถ่ายบริเวณลำตัวมุมต่างๆ
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
    ?temp_hash=b5ca0095be96ef7a50c863efc4fe3dc6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    หลักการดูธรรมชาติพระหล่อโบราณ

    1. รอยแปรงทาดินขี้วัว รอยแต่งหุ่นเทียน
    อย่างที่เราทราบๆกันการหล่อพระโบราณจะนำหุ่นเทียนขี้ผึ้งของหลวงพ่อเงินที่ถูกตกแต่งแล้วนำมาทาด้วยดินขี้วัวหลายๆชั้น ทำการสำรอกเทียนขี้ผึ้งออก ซึ่งในเบ้าดินขี้วัวก็จะปรากฏรอยแปรงตอนทาและรอยตกแต่งหุ่นเทียนอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อเทโลหะทองเหลืองผสมลงในเบ้า รูปหล่อก็จะมีรอยแปรงและรอยตกแต่งหุ่นเทียนตามองค์พระ ดังนั้นหากรูปหล่อองค์ใดสภาพผิวยังไม่ถูกล้างหรือใช้จนสึก เมื่อใช้กล้องส่องพระที่มีกำลังขยาย50x ขึ้นไป ก็จะสังเกตเห็นรอยดังกล่าว จะรอยบางบ้าง รอยหนาบ้างขึ้นอยู่กับน้ำหนักของการตกแต่งหุ่นเทียนและการทาดินขี้วัวลงบนหุ่นเทียน

    บริเวณพระเศียรด้านบน ตามกรอบสี่เหลี่ยมที่ขยายรูปจะเห็นรอยแปรงบางๆ
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg

    รูปด้านหน้า ตามกรอบสี่เหลี่ยมที่ขยายรูปจะเห็นรอยแปรงบางๆที่ศีรษะ และรอยหนาที่เส้นสังฆาฏิ,ไหล่ซ้ายและฐาน
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg

    รูปด้านหลัง ตามกรอบสี่เหลี่ยมที่ขยายรูปจะเห็นรอยหนาที่บริเวณด้านหลังไหล่ขวา และรอยแปรงบางๆที่ด้านหลังแขนขวา
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg

    รูปด้านขวา ตามกรอบสี่เหลี่ยมที่ขยายรูปจะเห็นรอยหนาที่บริเวณขอบตา และรอยแปรงบางๆที่แขนขวา
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg

    รูปด้านซ้าย ตามกรอบสี่เหลี่ยมที่ขยายรูปจะเห็นรอยหนาที่บริเวณท้ายทอย และรอยแปรงบางๆที่ฐาน
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
    ?temp_hash=f4b21df845be39c08e3e4be0ddefd0f9.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2018
  14. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    หลักการดูธรรมชาติพระหล่อโบราณ (ตอน2)

    2. คราบเบ้าดินขี้วัวและคราบเบ้าผิวไฟ
    ผิวขององค์พระจะเป็นเนื้อทองเหลืองหล่อผสม โดยมีผิวพรรณของกรวดทรายที่ผสมในดินขี้วัว ความพรุนของผิวโลหะจึงเป็นการดูพระแท้ได้ ... ประการที่สอง จะต้องมีดินขี้วัวจับอยู่ในส่วนลึกขององค์พระ โดยมีผิวไฟสีเทาดำผสมจับแน่น พระมีอายุร่วม 100 ปี ผิวไฟและดินขี้วัวจะจับแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น สำหรับ รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน นอกเหนือจากธรรมชาติของเนื้อองค์พระตามกาลเวลาแล้ว บรรดาเซียนพระให้ท่องไว้ให้ขึ้นใจว่า "ไม่มีดินขี้วัวและผิวไฟ ไม่ควรเล่น " พระถูกล้างดินขี้วัวและผิวไฟตามซอกลึกจนหมดจะเป็นพระดููููููููููููููููููููููููยากพยายามหลีกเลี่ยง

    รูปขยายด้านหน้า ส่วนต่างๆเพื่อให้เห็นธรรมชาติของเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟ
    ?temp_hash=cba48bcc9ba3a0e967bf455d0e7a897b.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟตามซอกลึกเบ้าตาขวาและช่องลึกในปากและริมฝีปากบนและล่าง สังเกตพอเห็นเส้นตำหนิจากใต้เปลือกตาขวาวิ่งลงมาด้านข้างขวาของจมูก บางองค์จะเห็นเส้นตำหนิ บางองค์ต้องสังเกตดีๆ เนื่องจากการทาดินขี้วัวลงหุ่นเทียนอาจทำให้เส้นนี้บางจนไม่เห็น
    ?temp_hash=cba48bcc9ba3a0e967bf455d0e7a897b.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกคอ
    ?temp_hash=cba48bcc9ba3a0e967bf455d0e7a897b.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกแขน หน้าอกขวาและร่องจีวร
    ?temp_hash=cba48bcc9ba3a0e967bf455d0e7a897b.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกแขนซ้ายและจีวร สังเกตมีรอยแปรงหนาตามซอกลึกด้วยเพื่อพอกดินในส่วนที่ลึกได้
    ?temp_hash=cba48bcc9ba3a0e967bf455d0e7a897b.jpg

    รูปขยายด้านหลัง ส่วนต่างๆเพื่อให้เห็นธรรมชาติของเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟ
    img_20180927_114017-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกหูซ้าย สังเกตมีรอยแปรงหลังใบหู
    screenshot_20180926_171341-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกจีวรด้านหลังซ้ายองค์พระ
    screenshot_20180926_171316-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกแขนด้านหลังขวาและจีวรองค์พระ จะเห็นรอยรูพรุนหลุมลึกซึ่งเกิดจากเม็ดทรายที่ผสมในดินขี้วัวแทงลงไปในหุ่นเทียน และธรรมชาติของสนิมสีน้ำหมากและสนิมสังกะสี ซึ่งจะกล่าวในตอนถัดไป
    screenshot_20180926_171250-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกจีวรด้านหลังซ้ายบริเวณท่อนขา จะเห็นรอยหลุมลึกซึ่งเกิดจากเม็ดทรายที่ผสมในดินขี้วัวแทงลงไปในหุ่นเทียน
    screenshot_20180926_171209-jpg.jpg

    รูปขยายใต้ฐาน ตามซอกของช่อ ส่วนต่างๆเพื่อให้เห็นธรรมชาติของเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟ
    img_20180927_120125-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกฐานและก้านช่อ จะเห็นรอยรูพรุนหลุมลึกซึ่งเกิดจากเม็ดทรายที่ผสมในดินขี้วัวแทงและสนิมต่างๆของโลหะผสม
    screenshot_20180926_170731-jpg.jpg

    screenshot_20180926_170637-jpg.jpg

    รูปขยายด้านข้างซ้าย ส่วนต่างๆเพื่อให้เห็นธรรมชาติของเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟ
    img_20180927_114506-jpg.jpg

    คราบผิวไฟบริเวณใบหน้า จะเห็นร่องรอยรูพรุนเม็ดทรายที่ผสมในดินขี้วัว
    screenshot_20180926_171004-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกแขน สังฆาฏิ
    screenshot_20180926-170137-01-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟเป็นแผ่นเทาดำ จะเห็นรอยรูพรุนหลุมลึกซึ่งเกิดจากเม็ดทราย
    screenshot_20180926_170829-jpg.jpg

    รูปขยายด้านข้างขวา ส่วนต่างๆเพื่อให้เห็นธรรมชาติของเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟ
    img_20180927_115732-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณซอกใบหูขวา
    screenshot_20180926_171110-jpg.jpg

    คราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟบริเวณใต้ซอกแขนขวาและริ้วจีวร จะเห็นรอยรูพรุนหลุมลึกซึ่งเกิดจากเม็ดทราย
    screenshot_20180926_171137-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2018
  15. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    หลักการดูธรรมชาติพระหล่อโบราณ (ตอน3)

    3. ร่องหลุม รอยยุบตัว รอยผด รอยหูด รอยเนื้อเกิน
    หากดูลพ.เงินด้วยตาเปล่าจะดูว่าผิวพระส่วนใหญ่มีความเรียบตึง และเมื่อสัมผัสด้วยมือจะไม่มีความคมของโลหะแต่จะรู้สึกว่านุ่มนวล หรือเรียกว่านุ่มลึก เนื่องจากน้ำดินขี้วัวทำให้ผิวพระดูเรียบและโลหะผสมที่มีอายุมากกว่า100ปี โลหะจะเซ็ตตัวเรียบร้อยแล้ว
    แต่เมื่อส่องด้วยกล้องขนาด50xขึ้นไป จะเห็นธรรมชาติของรูปหล่อโบราณไม่ได้เรียบตึง อาจจะเห็นร่องรอยต่างๆมากมาย เช่น ร่องหลุม รอยยุบตัว รอยผด รอยหูด รอยเนื้อเกิน ซึ่งเป็นจุดในการพิจารณาว่าเป็นพระแท้ได้ด้วย

    ร่องหลุม
    เกิดจากเม็ดทรายและเม็ดกรวดที่ผสมอยู่ในดินขี้วัว เมื่อทาลงไปในหุ่นเทียนเม็ดกรวดทรายก็จะแทงลงไปในตามผิวหุ่นเทียน ทำให้เกิดเป็นร่องหลุมลึกเล็กบ้าง กลางบ้าง ใหญ่บ้าง โดยปากหลุมมีลักษณะคมๆ แต่สัมผัสไม่บาดมือ

    ร่องรอยหลุมทรายและคราบดินขี้วัวบนใบหน้าลพ.เงิน

    เปิดดูไฟล์ 4698442

    ร่องรอยหลุมเล็กลึกของเม็ดทรายบริเวณแขนขวาด้านหลัง ตอนทาดินขี้วัวด้วยแปรง
    เปิดดูไฟล์ 4698443

    รอยหลุมเม็ดกรวดขนาดเขื่องด้านหลัง จะเห็นกระแสทองคำในโลหะผสมเป็นรอยมุ้ง ซึ่งจะกว่าในตอนถัดไป
    เปิดดูไฟล์ 4698444

    รอยหลุมที่จากการสูญเพลิงเกิดตามธรรมชาติของพระหล่อเนื้อโลหะหลายชนิดมาผสมกัน เช่น ทองแดง ทองเหลือง สังกะสี เงิน ทอง ใส่เข้าไปในเบ้าหล่อเพื่อหลอมรวมกันโดยอาศัยความร้อน โลหะบางชนิดต้องใช้ความร้อนสูงจึงจะละลายในขณะที่โลหะบางชนิดใช้ความร้อนไม่สูงมากก็ละลายได้โดยง่าย ทั้งนี้เพราะโลหะหลายชนิดมีจุดหลอมเหลวแตกต่างกัน และช่างใช้ความร้อนสูงในการหลอมโลหะให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้ละลายเป็นโลหะเหลวจะเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า สูญเพลิง โลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำซึ่งละลายไปก่อนหน้านั้นแล้วก็จะมอดไหม้ กลายเป็นขี้เถ้า ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า สูญเพลิง และเป็นที่มาของรอยหลุมตามองค์พระ
    เปิดดูไฟล์ 4698783

    ร่องหลุมระหว่างแนวขานั่งขัดสมาธิ
    เปิดดูไฟล์ 4698463

    รอยหลุมบริเวณเข่าขวา
    เปิดดูไฟล์ 4698464

    รอยยุบตัว
    เมื่อโลหะผสมอายุมากกว่า100ปี โลหะเกิดการกัดกร่อนของสนิม เช่นสนิมเงินสีดำ และยุบตัวได้ เช่นรอยยุบตัวบริเวณศีรษะและคอด้านหลัง
    เปิดดูไฟล์ 4698784

    รอยผด
    รอยผดเป็นการงอกสนิมหลากหลาย แดง ดำ เขียว ขาว สนิมตรงชนิดในโลหะ จุดตายคือสนิมทองคำในเนื้อทองคำที่ได้อายุถึง การหดตัวของผิวการกร่อนของผิว เพราะความร้อนต่ำในการหล่อโบราณจึงทำให้โลหะผสมกันไม่เข้ากันดี ทองคำแท้บริสุทธิ์มักไม่เข้ากับโลหะอื่น จึงเกิดผิวพรายทองคำหรือเป็นเม็ด แผ่น กระจายตัวตามผิว เช่นใต้ฐานใกล้ช่่อ
    เปิดดูไฟล์ 4698785

    รอยเนื้อเกินหรือหูด
    เกิดจากบางบริเวณมีการทาน้ำดินขี้วัวบางเกินไป เมื่อมีการเทโลหะผสมหลอมร้อนลงในเบ้าแม่พิมพ์ บริเวณนั้นจึงเกิดการปลิ้นของน้ำโลหะออกมา

    รอยเนื้อเกินหรือหูดบริเวณแข้งขวา
    เปิดดูไฟล์ 4698996

    รอยเนื้อเกินหรือหูดบริเวณหน้าอกซ้ายรอยต่อระหว่างจีวรและสังฆาฏิ บริเวณโคนของเม็ดหูดจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าบริเวณกลางเม็ดหูดคล้ายสัณฐานของหยดน้ำ
    เปิดดูไฟล์ 4698997

    สัณฐานของเนื้อเกินหรือหูดจะคล้ายหยดน้ำ บริเวณโคนของหูดจะมีเส้นรอบวงเล็กกว่าบริเวณกลางของหูด
    เปิดดูไฟล์ 4699071
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2021
  16. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    หลักการดูธรรมชาติพระหล่อโบราณ (ตอน4)

    4. กระแสโลหะทองคำ ได้แก่ลายมุ้ง, เกล็ดกระดี่และลายสังคโลก
    รูปหล่อพิมพ์นิยม หล่อจากโลหะทองเหลืองที่มีส่วนผสมของทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ซึ่งโลหะทองคำจะแยกตัวจากโลหะประเภทอื่นทำให้เมื่อส่องดูจะเห็นกระแสทองคำอยู่ในองค์พระสัณฐานรูปร่างแตกต่างกันไปตามกระแสทองคำที่แทรกไปในเนื้อโลหะทองเหลือง อาจจะเป็นลายมุ้งหรือเกล็ดกระดี่หรือลายสังคโลก

    ลายมุ้ง ลายสังคโลก
    ลายมุ้งจะมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมๆและลายสังคโลกรูปร่างไม่แน่นอน มีลายสีน้ำตาลแดงรอบสัณฐาน เช่น ภาพขยายบริเวณเส้นสังฆาฏิด้านหลัง
    ?temp_hash=ba386ea7cbb5378e7776ea7cda9a206b.jpg

    เกล็ดกระดี่
    กระแสทองคำในองค์พระเมื่อถูกแสงกระทบจะเห็นกระแสดังกล่าวอยู่ใต้ผิวพระ บางบริเวณจะเห็นเป็นสัณฐานคล้ายเกล็ดกระดี่ เช่นบริเวณไหล่ด้านซ้ายขององค์พระ
    ?temp_hash=ba386ea7cbb5378e7776ea7cda9a206b.jpg

    สำหรับโลหะเงิน ทองแดงและสังกะสีที่นำมาหล่อผสมจะรวมเป็นเนื้อเดียวกับทองเหลืองจะสังเกตได้ยากกว่าทองคำ จึงต้องสังเกตจากสนิมที่เกิดจากเงิน ทองแดงและสังกะสีที่อยู่ใต้ผิวพระหรืออยู่บนผิวพระแทน ซึ่งจะกล่าวในตอนถัดไป เรื่องธรรมชาติของสนิม

    เนื่องจากรูปหล่อลพ.เงินองค์นี้ไม่ได้ผ่านการล้างคราบไคล,ดินขี้วัวและสนิมออกทำให้กระแสโลหะต่างๆอยู่ใต้ผิวพระ และจะสังเกตเห็นกระแสโลหะได้ในบางจุดที่ไม่ได้โดนบดบังเท่านั้น กรณีที่พระมีการทำความสะอาดหรือผิวเปิดจะทำให้เห็นกระแสโลหะต่างๆได้ง่ายกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2018
  17. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    :):):):)
     
  18. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมไม่มีมือซ้อน พิมพ์ A ในมุมมองต่างๆ
    ?temp_hash=e15a1f322e4675fcccb3dd56f3823672.jpg

    รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ไม่มีมือซ้อน มีพิมพ์ A และ B แตกต่างกับตรงที่พิมพ์ A จะใหญ่ชะลูดกับพิมพ์ B นิดหน่อย เศียรของพิมพ์ A มีลักษณะเศียรบาตรกลม ส่วนพิมพ์ B มีลักษณะเศียรบาตรแบน ฐานของพิมพ์ A มักจะหนากว่าพิมพ์ B


    ?temp_hash=e15a1f322e4675fcccb3dd56f3823672.jpg

    ส่วนพิมพ์นิยม มีมือซ้อนมีพิมพ์แบบ C และ D
    ?temp_hash=e15a1f322e4675fcccb3dd56f3823672.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2020
  19. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ขออนุญาตเอาคลิปของอ.ฉ่อย ท่าพระจันทร์สอนและให้ความรู้วิธีดูหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม ไม่มีมือรองนั่งหรือไม่มีมือซ้อนหรือชายจีวรข้อมือไม่ชิด ซึ่งเป็นพิมพ์ B จะขนาดต้อสั้นกว่าพิมพ์A แต่เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์เหมือนกัน



    เอกลักษณ์แม่พิมพ์รูปหล่อหลวงพ่อเงิน มาจากแม่พิมพ์ Masterตัวเดียวกัน เนื่องจากจำนวนในการสร้างหลายพันองค์ ดังนั้นการถอดบล๊อคแม่พิมพ์จะทำหลายตัวแต่ละตัวอาจจะความแตกต่างกัน การถอดบล็อคแม่พิมพ์จากตัวแบบจะได้พระที่มีขนาดเล็กลง และเมื่อนำบล็อคมาทำหุ่นเทียนด้วยมืออาจมีความคมชัดสมบูรณ์แตกต่างกันช่างก็จะตกแต่งที่หุ่นเทียนอีกที

    มาดูเอกลักษณ์พิมพ์ Aและพิมพ์ B เทียบกันทีละจุด

    1.ลักษณะของเศียรแบ่งเป็นเศียรบาตรกลมและแบนและการหน้าผากโหนกของศีรษะพิมพ์ AและBต่างกัน
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    ?temp_hash=108e30117ea11e3e4d33fc61d708fd96.jpg
    2.เปลือกตาขวาของพระสูงกว่าเปลือกตาซ้ายเล็กน้อย หากมุมแสงดีๆจะเห็นคิ้ว และถ้าพระสวยๆถอดบล็อคและหุ่นเทียนได้ดีอาจจะมีลูกตาใต้เปลือกตาทั้งสองข้างให้เห็นด้วย
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    หากดูคลิปของอ.สมาน คลองสาม



    จะมีจุดดูบริเวณใบหน้าอีก2จุด คือมีเส้นน้ำตกจากเปลือกตาด้านขวามาปลายจมูกด้านขวาของพระ และริมฝีปากด้านบนจะคล้ายริมฝีปากคน โค้งเป็นรูปปีกกา และปากจะมีลักษณะคล้ายคนแก่ไม่มีฟันด้านหน้า
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    3.ใบหูพระด้านขวาจะแนบชิดศีรษะมากกว่าด้านซ้าย ใบหูด้านซ้ายจะกางมากกว่าและยาวจดโค้งบนเส้นสังฆาฏิ
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    4.หน้าอกด้านขวาจะนูนเด่นเป็นมิติคล้ายหน้าอกผู้หญิง
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    5.เส้นสังฆาฏิจะเป็นมิตินูนขึ้นมา บริเวณด้านบนส่วนที่นูนลอยขึ้นมา จะมีร่องรอยยุบเป็นร่องเกิดจากแกะเส้นจีวรไปชนเส้นสังฆาฏิ พระเก๊จะไม่มีมิตินูนร่องนี้เนื่องจากถอดแม่พิมพ์ไม่ติด
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    6.บริเวณข้อมือด้านขวาจะเป็นลักษณะปุ่มนูน
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    7.เส้นจีวรด้านซ้ายจะคมและวิ่งเข้าหาเส้นสังฆาฏิแต่ไม่ชนเส้นสังฆาฏิ เนื่องจากมีก้อนเนื้อตรงใต้เส้นสังฆาฏิขั้นไว้ นอกจากนี้จะมีเส้นบางๆแซมขั้นระหว่างเส้นจีวรแต่ละเส้นด้วย ซึ่งพระเก๊จะถอดพิมพ์ไม่ติดเช่นกัน
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    8.แข้งขาด้านขวาของพระจะเอียงลง และมีก้อนเนื้อเกินกลมตรงแข้งด้านขวา
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    9.แข้งขาด้านซ้ายจะมีตาพระอินทร์หรือหางกระรอกเป็นเส้นตวัดเป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์AและB เส้นแข้งด้านซ้ายจะมีความคมเป็นสันให้เห็น พระเก๊จะไม่มีความคมให้เห็น
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    10.เส้นจีวรด้านหลังจะมีความลึกและคม และพริ้วตามธรรมชาติ เนื่องจากการถอดหุ่นเทียนจะทำให้เส้นจีวรอาจจะติดไม่ชัด ช่างจะแต่งแซะร่องจีวรให้ชัด บางองค์จะมีเนื้อเกินคล้ายรูปสามเหลี่ยมจากการแต่งแซะร่องจีวรไปชนเส้นสังฆาฏิให้เห็น บางองค์ไม่มีเนื้อเกินเนื่องจากช่างจะเก็บงานเนื้อเกินออกไปโดยเซาะร่องตามแนวเส้นสังฆาฏิขึ้นไป
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    11.เส้นสังฆาฏิด้านหลังจะเป็นเส้นนูนสูงจากเส้นจีวรซ้ายและขวา สิ่งที่บ่งบอกว่าพระแท้หรือไม่คือคราบเบ้าดินขี้วัวและผิวไฟ นอกจากนี้ให้ดูร่องหลุมคมลึกที่เกิดทั่วองค์เนื่องจากตอนทาดินขี้วัวจะมีเม็ดทรายและกรวดที่ทาลงบนหุ่นเทียนจะแทงเข้าไปที่ผิวหุ่นเทียน เมื่อสำรอกหุ่นเทียนออกเม็ดกรวดทรายจะติดที่เบ้าดินและเมื่อเทโลหะเข้าไปก็จะปรากฏร่องรอยหลุมลึกขึ้นทั่วองค์พระ
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg

    สรุปเอกลักษณ์รูปหล่อหลวงพ่อเงิน นิยมพิมพ์AและBจะเหมือนกัน เพียงแตกต่างตรงที่พิมพ์A ศีรษะจะเป็นเศียรบาตรกลมโค้งส่วนพิมพ์Bจะเป็นเศียรบาตรตรง, พิมพ์Aองค์พระจะชะลูดกว่าและฐานจะหนามากกว่าพิมพ์B
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg
    ?temp_hash=3542f0ad0a5f50a7e2ed439ff6df677d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2020
  20. jane-n

    jane-n วัตถุมงคล สร้อยหินมงคล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2020
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +9
    รายละเอียดของจริงของปลอมต่างกันเยอะเลยค่ะแต่ถ้าไม่รู้ ก็ดูเผินยาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...