เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 28 มิถุนายน 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,612
    ค่าพลัง:
    +26,464
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,612
    ค่าพลัง:
    +26,464
    วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ ญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมที่วัดท่าขนุน โปรดทำความเข้าใจด้วยว่าหลวงพ่อเล็กไม่ใช่ผู้วิเศษ ไม่สามารถที่จะเสกให้ใครบรรลุมรรคบรรลุผลได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า อักขาตาโร ตถาคตา แม้แต่ตถาคตก็เป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น

    เมื่อท่านบอกแล้ว เราศึกษาเรียนรู้ไป ต้องใช้ความเพียรพยายามเฉพาะตัวอย่างมาก ที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงตามนั้น ไม่ใช่ว่าครูบาอาจารย์ที่นั่นดี ครูบาอาจารย์ที่นี่ดี แล้วเราก็วิ่งตะลอน ๆ ไปเสาะหาอยู่เรื่อย นอกจากเหนื่อยยาก สิ้นเปลืองเงินทองแล้ว บางทีได้แนวกรรมฐานที่ไม่ตรงกับของเก่ามา เราก็ไปสับสนกับชีวิตอีก

    ก็แปลว่า
    ถ้าหากว่าเราได้หลักในการปฏิบัติแล้ว ให้ตั้งตาตั้งตาทุ่มเททำไป โดยยึดการพยายามรักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ทำให้ศีลขาดด้วยตัวเอง ไม่ยุให้คนอื่นทำศีลขาด และไม่ยินดีเมื่อเห็นคนอื่นทำศีลขาด มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างจริงจังทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ และท้ายที่สุด ต้องมีสติรู้อยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ถ้าหากว่าตายลงไปครั้งนี้ เป้าหมายเดียวของเราคือพระนิพพาน

    ข้อสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด สำคัญตรงไหน ? สำคัญตรงที่ว่า ถ้าเรารู้ตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราก็จะรีบปฏิบัติอย่างเต็มที่ ชนิดที่เอาชีวิตเข้าแลก ไม่ใช่ทำ ๆ ทิ้ง ๆ วิ่งไปสำนักโน้นบ้าง สำนักนี้บ้าง ถ้าลักษณะอย่างนั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็จะเป็นไปโดยยาก

    เนื่องเพราะว่าจิตของเรามีสภาพจำ เมื่อถึงเวลาศึกษาเรียนรู้กองกรรมฐานใด หรือว่าคำภาวนาใดไปแล้ว สภาพจิตก็จะจดจำในลักษณะอย่างนั้น พอเราไปเปลี่ยนใหม่ สภาพจิตที่จดจำของเดิมก็จะวิ่งกลับไปหาของเก่า เราก็ต้องดึงกลับมาหาของใหม่ ยื้อยุดฉุดกระชากกันอยู่แบบนั้น ทำให้เอาดีได้ยาก

    เรื่องของกรรมฐานต้องยึดกองใดกองหนึ่งให้มั่นคง เพียรพยายามทำไปจนถึงที่สุด คำว่าถึงที่สุดในที่นี้ ถ้าหมดกิเลสเข้าสู่พระนิพพานได้ก็ยิ่งดี แต่ถ้าไม่ได้ขนาดนั้น อย่างน้อยก็ต้องทรงฌานในกองกรรมฐานนั้นให้คล่องตัว ระลึกถึงเมื่อไรก็สามารถตั้งกองกรรมฐานนั้นให้มั่นคงในจิตในใจของเราได้ทันที ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะเอาดีได้ยาก แล้วถ้าเปลี่ยนกองกรรมฐานใหม่ก็ต้องทบทวนของเก่าให้มั่นคงก่อน แล้วค่อยขยับไปของใหม่ ไม่ใช่ทิ้งของเก่าไปทั้งหมดทีเดียวเลย

    ก็แปลว่า
    เราต้องยึดในศีลและสมาธิเป็นหลัก เมื่อถึงเวลาถ้าหากว่าสมาธิทรงตัว เราก็จะมีปัญญามองเห็นว่าสภาพร่างกายของเรานี้ หรือว่าโลกเรานี้ไม่เที่ยงอย่างไร มีแต่ความทุกข์อย่างไร และไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่นอย่างไร แล้วเราก็ค่อย ๆ ลด ค่อย ๆ ละไปตามกำลังใจของเราในตอนนั้น
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,612
    ค่าพลัง:
    +26,464
    ถ้าทำในลักษณะอย่างนี้ถึงจะมีความก้าวหน้าอย่างที่ต้องการ ไม่ใช่อยากแสวงหาความก้าวหน้า ก็วิ่งไปหาครูบาอาจารย์ท่านโน้นท่านนี้ไปเรื่อย อยู่ในลักษณะเหมือนอย่างกับไปตลาด ซื้อผัก ซื้อหมู ซื้อเนื้อ ซื้อปลาเอาไว้เต็มไปหมด แต่ไม่ได้ทำกินเสียที หรือว่าทำก็สุก ๆ ดิบ ๆ กินไม่ได้อย่างใจ

    ต้องเรียนรู้วิธีการทำอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งให้รู้จริง ทำแล้วให้ได้รสอย่างที่ต้องการ แล้วเราค่อยไปทำอาหารแบบใหม่ เรื่องของกรรมฐานก็ลักษณะเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วคนในปัจจุบันนี้ เรียนรู้มามาก ฟังมามาก ศึกษามามาก แต่เอาดีไม่ได้เลย เพราะว่ามากจนจับจุดไม่ถูก..!

    เรื่องของกรรมฐานนั้นลมหายใจเข้าออกสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออก กรรมฐานทุกกองจะไม่ทรงตัว ต่อให้ตั้งอยู่ได้ก็ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น เมื่อมีลมหายใจเข้าออกแล้ว เราจะควบคู่กับกรรมฐานกองไหน ?

    ถ้าเป็นสมัยโบราณ ส่วนใหญ่ก็ควบกับพุทธานุสติ ก็คือระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะภาวนาว่าพุทโธก็ได้ สัมมาอะระหังก็ได้ อิติสุคะโตก็ได้ แล้วแต่ว่าเราถนัดแบบไหนมาก่อน แต่ให้นึกถึงพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธรูปที่เรารักเราชอบเป็นปกติ ไม่ต้องไปฟังไม่พวกไม่รู้ภาษา ที่บอกว่า"พุท..โธ ไม่มีในพระไตรปิฎก สัมมา..อะระหังไม่มีในพระไตรปิฎก"

    คำภาวนาไม่ใช่สาระ คำภาวนาเป็นเพียงเครื่องโยงใจของเราให้เป็นสมาธิเท่านั้น จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ขอให้นึกถึงซ้ำ ๆ กันก็สร้างสมาธิได้ทั้งสิ้น หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม โดนพ่อพาไปวัดตั้งแต่เด็ก ตัวพ่อขึ้นไปสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์บนกุฏิ ท่านเองโดนทิ้งอยู่ที่ศาลาจนกระทั่งมืด เด็กเล็กนั่งอยู่บนศาลากลางป่ามืด ๆ คนเดียวก็กลัวมาก หลับหูหลับตาคิดว่า "กลัวแล้ว..ไม่เอาแล้ว กลัวแล้ว..ไม่เอาแล้ว" กลายเป็นคำภาวนาไปได้ อยู่ ๆ ก็รู้สึกว่าศาลาทั้งศาลาสว่างเหมือนกับกลางวัน เพราะว่าสภาพจิตทรงตัวเป็นสมาธิแล้ว

    ดังนั้น..ในเรื่องของคำภาวนา โบราณาจารย์กำหนดเอาไว้เพื่อให้พวกเราจะได้มีเครื่องยึดเพิ่มขึ้น เพราะว่าบางคนนึกตามลมหายใจอย่างเดียวรู้สึกว่าไม่ถนัด แต่ถ้ามีคำภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มขึ้นมา เราก็สามารถที่จะยึดจับได้ง่ายขึ้น เป็นกุศโลบายที่ครูบาอาจารย์สมัยก่อน สอนเด็กหัดเดินให้เกาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อพยุงตัวให้เดินได้ก่อน เมื่อเดินคล่องแล้ว เราอาจจะไม่ต้องเกาะอะไรเลยก็ได้ บุคคลที่ทรงฌานจนคล่องตัว ไม่ทันภาวนาแค่คิดก็เป็นแล้ว

    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อให้เขาบอกว่าสิ่งนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก สิ่งนั้นไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ถ้าเราภาวนาแล้วอารมณ์ใจทรงตัวก็ใช้ได้ทั้งนั้น

    เมื่อกำลังทรงตัวเพียงพอ หนักแน่นมั่นคง เราก็เอามากดทับกิเลส ก็คือ รัก โลภ โกรธ หลง ให้ดับลงชั่วคราวก่อน เพื่อให้จิตของเรามีความผ่องใสมาก หลังจากนั้นก็เอากำลังสมาธินั้น มาตัดมาหั่นกิเลสในใจของเรา แต่คราวนี้ถ้าเราจะไปตัดไปหั่นโดยตรงแบบคนไม่มีปัญญา ก็ไม่รู้จะไปตัดไปหั่นอย่างไร เพราะว่า รัก โลภ โกรธ หลง เป็นสมบัติของร่างกายนี้ เราไม่สามารถที่จะละร่างกายนี้ไปได้ เพราะว่าเรายังไม่ตาย ก็แปลว่า รัก โลภ โกรธ หลง ยังมีอยู่เต็มตัวทุกคน
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,612
    ค่าพลัง:
    +26,464
    แต่บุคคลที่ตัดได้ก็คือ อันดับแรก ทรงสมาธิให้ถึงระดับฌาน อย่างน้อยต้องเป็นปฐมฌานละเอียดด้วย ไม่ใช่ขณิกสมาธิหรือแค่อุปจารสมาธิแบบบางสายที่สอนมา กำลังแค่นั้นไม่พอในการกดกิเลส มีแต่โดนกิเลสกระหน่ำตีให้ลำบากอยู่ทุกวัน..!

    เมื่อกำลังทรงเป็นฌานได้ เราจะมีกำลังเหนือกิเลสชั่วคราว เราก็มาพินิจพิจารณาดูว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สร้างความทุกข์ยากให้กับเราแบบไหน ?

    ราคะทำให้เราทุกข์แบบไหน ? ต้องมีคู่ ต้องมีครอบครัว ต้องเลี้ยงตัวเอง ต้องเลี้ยงลูก ต้องเลี้ยงคู่ครองของตน เจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา เราไม่เจ็บก็เหมือนกับเจ็บ เราไม่ป่วยก็เหมือนกับป่วย ต้องเดือดร้อนไปด้วยทุกครั้ง

    โทสะเป็นทุกข์เป็นโทษอย่างไร ? ต้องไปตบตีด่าทอฆ่าฟันกับผู้อื่น สร้างความทุกข์ความกลัดกลุ้มเจ็บปวด ตลอดจนกระทั่งอาจจะถึงตาย
    โลภะเป็นทุกข์อย่างไร ? ความโลภ ทำให้เรากอบโกยสิ่งของต่าง ๆ เข้ามาเต็มไปหมด จนกระทั่งมีมากเกินต้องการก็ยังไม่รู้ตัว มีหมื่นก็หามาแสน มีแสนก็หามาล้าน มีล้านก็หาให้ได้สิบล้าน แต่ละวันตะเกียกตะกายเหนื่อยยากไม่รู้จบ เป็นความทุกข์ขนาดไหน ?

    และท้ายที่สุด โมหะเป็นทุกอย่างไร ? ความหลง พาเราวนเวียนหาทางออกไม่ได้มานับชาติไม่ถ้วน

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถ้าเราเห็นทุกข์เห็นโทษ สภาพจิตก็จะค่อย ๆ ผ่อน ค่อย ๆ คลาย ถ้ากำลังน้อยก็ขยับตัวถอยห่างออกมา เพราะว่ารังเกียจมันแล้ว เบื่อหน่ายมันแล้ว แต่ถ้ากำลังมากพอก็ตัดหั่นฟันทิ้งไปเลย ตัดได้มากก็เป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปเลย

    ตัดได้ปานกลางก็เป็นพระอนาคามี ไม่ต้องลงมาเกิดให้ทุกข์อีก ปฏิบัติอยู่ข้างบนแล้วสามารถหลุดพ้นไปได้

    ถ้าตัดได้น้อยก็เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี ต่อให้ต้องเกิดเต็มที่ก็ไม่เกิน ๗ ครั้ง ก็แปลว่าเส้นทางแห่งความทุกข์ การเวียนว่ายตายเกิดลดน้อยถอยลงไปอย่างมหาศาล

    ดังนั้น..
    เมื่อรักษาศีลและเลือกกองกรรมฐานที่ต้องการหรือว่าถูกใจได้แล้ว ก็เร่งรัดปฏิบัติให้ทรงฌานให้ได้ แล้วอาศัยปัญญาพินิจพิจารณาร่างกายนี้เป็นหลัก ถ้าเราไม่ต้องการร่างกายตัวเองก็ไม่ต้องการร่างกายคนอื่น ไม่ต้องการร่างกายสัตว์อื่น ท้ายสุดก็ไม่ต้องการแม้แต่โลกนี้ เราก็สามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...