เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    พระธรรมคำสั่งสอนใน พระไตรปิฏกทั้งหมดล้วนมาจาก ปฎิสัมภิทา ตั้งแต่ ปฐมสังคายนามาโดย วิธี
    “ปฎิสังยุตโดยสูญญตาธรรม “
    8F7CAA97-1CB2-4BEF-B41B-2DF0602BAD89.jpeg

    ท่านปฎิสัมภิทา กับ ท่านปฎิสังยุติ ท่านเมตตา ปราบสัทธรรมปฎิรูปแล้วล่ะครับ งานนี้ ! ถึงคราวิบัติ ฉิบหาย ตายแน่ๆ สงสารคนหลงทางไปอบาย

    ท่านพระครู ท่านมหาเปรียญ ท่านสหธรรมกัลยาณมิตร คงทราบดีนะขอรับ “
    06822E4F-7381-4ECF-BC04-E041F62DF0B4.jpeg 31A65BEA-CBF4-48DF-A69E-694E22F0C9C2.jpeg 86ABCD44-9499-4F86-B353-A49B7D11AD1D.jpeg

    { พระมหาปกรณ์ ในพระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บท }

    B94D5F2C-127E-42B2-ADE1-D96A1FC48FEC.jpeg




    ต้นฉบับของอาณิสูตรและพระสูตรที่ประกอบด้วย อรรถอันลึก ประกอบด้วยโลกุตรธรรม ทั้งหมดฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    [​IMG]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี
    ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ

    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึงอนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว
    ไม่สอบสวนไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถาม
    แนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน

    ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ
    ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ

    ที่ผ่านมา ก็เห็นแต่เพียงเรา กล่าวว่า นั่นไม่ใช่อรรถ ไม่ใช่พยัญชนะ นั่นตั้งไว้ผิด นั่นไม่ถูกต้อง! แม้ในพระบาลีปกรณ์ ก็ยังกล่าวบอกว่า ยังมี พระมหาปกรณ์อยู่
    บันลือสีหนาท เข้าใจผิดกันทั้งโลก ตรงกาลเวลา ไม่มีเพื่อนสอง

    ข้าแต่ฯพุทธเจ้า ไม่อยากคิดเข้าข้างตนเองเลย ว่าเป็นผู้เตือน อรรถ เตือน พยัญชนะ ดังนี้อยู่ ขอจงทรงอดโทษ พระราชทานอภัย ข้าแต่ฯพุทธเจ้า เพราะความประพฤติยังไม่ดีงาม อยู่ในฐานะพึง ยังความประมาทอยู่ในโลก


    “ เราท่านสามารถมีความคิดแบบเดียวกันกับกลุ่มชนนั้นได้ แต่เราไม่คิดไม่ทำเพราะไม่ถูกต้องไม่เหมาะไม่ควร แต่ชนเหล่านั้น ไม่สามารถนึกคิดตรึกตรอง อย่างเราท่านได้ นี่สิแปลก! บ่วงอะไร ห่วงอันใด เชือกรัด ศาตราใด จึงตีตรวน มัดตรึงเขาอยู่ ช่างน่าพิศดารนัก บทแห่งกรรมนี้ “



    73101EA1-62AD-4D7F-8694-9F0BBCAB2C2F.jpeg 192345B3-ADBB-4E7C-AAD9-9715432E58CE.jpeg 816AEB2A-3806-43DA-ADA0-0EBE77E41BE9.jpeg

    9BF26AE4-A8F7-4D01-BC01-204E72FEDFE5.jpeg 5CB9EF20-B9C6-46D9-B194-4541C647CE13.jpeg 2A8F6879-104A-41E5-8515-6EEAA1BB5587.jpeg
    CD5249A8-1DAE-4771-88D1-C7C78F7CA6BB.jpeg
    F7D217C4-F2DD-445F-8F9A-57D92D47EF3C.jpeg
    03ECCF87-4B04-4566-BCB2-C6DEDDDFE73E.jpeg
    C8605518-1D93-480D-8AC6-18780F2E6410.jpeg

    #“เพื่อ”
    52EFA5B3-D56B-4D33-82B5-5EB4104E7822.jpeg 3CEA44D1-F38B-4AE1-8A77-EDB7042FA0B0.jpeg C7855557-BFEA-4E31-B79A-5D20E28E9EFE.jpeg

    “ ไม่เคยเห็นหรอก แค่แค๊ปภาพไว้ทัน และสอยจนต้องปิดเว็บหนี ใช้การล๊อกอัพสเตตัส ! ค้างไว้เพื่อประกาศศักดา ว่าเป็นพระอรหันต์ที่ประเสริฐที่สุด ในสามโลกที่สามารถถลุงพระไตรปิฏกเอาออกมาแต่คำพระพุทธเจ้าได้ ในรอบ 2500 ปี จะบอกว่าไม่รู้ไม่เห็นเป็นไปไม่ได้ ปิดหนีทำไมถ้าแน่จริง! “


    ไม่รู้จักปฎิสัมภิทา อวดอ้างรู้ พุทธวจนะ !

    ถ้าขึ้นศาล ผู้ชนะ ก็คือ ฝ่ายผู้รักษาพระสัทธรรมจริงเท่านั้น

    เหล่าปฎิสัมภิทาหวงแหนและเคารพพระไตรปิฏกยิ่งกว่าชีวิต


    BE5D83B6-C0B7-4FD3-BB13-8D6311DD7856.jpeg
    3777E9D2-E67D-42C9-A4FA-E7CA540F11B5.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2023
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    8A69962D-2879-473B-90BC-5794060F09C4.jpeg

    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.


    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.

    {0}เหตุใดจึงชื่อว่า โลกธรรม ธรรมของโลกธาตุ{0}
    ต้องพิจารณาจาก มหาไตรลักษณะ อันมี ชาติ ชรา มรณะ ของเหล่าเวไนยสัตว์ของชมพูทวีปนี้ เพราะถ้าหากโลกธาตุใดๆก็ตามถ้าไม่มี มหาไตรลักษณะ นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ก็จะไม่ทรงเสด็จมาอุบัติขึ้นยังโลกธาตุนั้น ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยังประโยชน์แก่เหล่าเวไนยสัตว์ให้อีก ๓ มหาทวีปนั้นด้วย



    83778112-A013-4B75-B681-D17BCCFADA29.jpeg
    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล
    {10 กรกฎาคม2015 วิสัชนา เรื่องนามเดิมพระพุทธศาสนา}

    ที่นี้ ผู้ที่อยู่ใกล้ พระมหาสมเด็จฯท่าน ก็ลองกราบเรียนไตร่ถามท่านดู ว่าท่าน วิสัชนา ชื่อเดิม นามเดิมของพระพุทธศาสนา เมื่อวันเวลาใด รู้นานเท่าไหร่ ว่าศาสนาพุทธ ไม่ใช่ชื่อเดิม ?

    เราไม่ได้รู้มาจากใคร แต่ของเก่าเขาบอก!

    F526D5A7-767C-4FEB-BBC3-BC06A9CC6194.jpeg
    C958D70B-082B-41E6-AFBD-98C438161ED4.jpeg
    B59DCDC8-E301-44B1-A5FC-19C3C05FCFDF.jpeg

    วิสัชนาให้ชัดเจนขึ้นไปอีก! ถึงความเป็นจริง! สาวไปหาเหตุ!

    ที่เหลือก็เข้าญานอดีตังสญานไปตรวจดู /ปัญหามีอีก จะทรงแสดงพุทธเนรมิตพระองค์ไว้ไหม? ไม่อย่างนั้น คงมีพระอริยะเจ้าเข้าไปจดจำพระพักตร์พระองค์มาดวาดรูปแล้ว จะเป็นบาปเป็นกรรมอีกหากก้าวล่วงปรามาสกันไป ต้องถือเอาเฉพาะเรื่องพอจึงควร

    #ผู้ปกป้อง อภยปริตร
    #วงศ์ผ้าขาว

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2023
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30


    พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด ๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ ๗. ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
    ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดง มาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุด ๒ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้น ขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่ กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้ เพียง ๑๒๒ มาติกา) เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไปเป็น เรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณ ประเภทต่าง ๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ เช่นอธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์ เล่ม ๓๖ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคล ต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อ แก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่นความเห็น ว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรมเป็นต้น ประพันธ์ เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความ รู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือ ว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์(ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน แห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุปธรรม ซึ่ง กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลม ติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึง เจริญวิปัสสนา ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ, มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือเกิด ทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ) อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะความ อยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิด ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่ อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้ว เกิดความโทมนัส ฯลฯ) อย่างนี้เป็นต้น (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน) เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (พิจารณารูปเสียงเป็นต้น ที่ดับเป็น อดีตไปแล้วว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๒ (ทุกมา ติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย "กุศล ธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย" เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุด กัน เช่นอธิบายว่า "กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม" เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นชุดโลกียะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่น เอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น ปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่ กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ ไม่ใช่โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรม ที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร และในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้ เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)
    คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้นเล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะเป็นเล่มหนัง สืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า "มหาปกรณ์" แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดย ขนาดและโดยความสำคัญ
    พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรม ขันธ์

    57691FF6-A892-4513-A3A9-2DF958F193F6.jpeg

    วันนี้ได้ วิสัชนา การร่ำเรียน คุณประโยชน์ของพระอภิธรรมไว้ แล้วจะยกมาแสดงไว้เป็นกรณีศึกษา ก็อยากอุ่นใจ มั่นใจให้เชื่อตามที่ได้แสดง แต่ไม่ให้เชื่อโดยง่าย ค่อยๆพิจารณาตาม สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกัน ถักทอสายใยสื่อถึงกันมาโดยตลอด เนิ่นนานยิ่งนัก 8A7455DC-1A7F-439D-8BE4-04142AB162F6.jpeg

    ขอให้ท่านพิจารณาเนื้อความดูเถิด ถึงความวิบัติขาดสูญในมูลเหตุของการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    {O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ตรงและชัดเจนที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรม{O}



    "ขอจงเป็นธรรมทายาทของพระผู้ทรงทศพลญญาณ"

    ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่าในกาลบัดนี้ ไม่มีผู้ใดอีกที่จะทรงพระทศพลญาณ ๑๐ อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะสั่งสอนคอยชี้แนะแนวทางการปฎิบัติให้เราเข้าถึงได้อย่างถึงที่สุดธรรมอันเป็นเลิศ



    "เมื่อมีกำลังนี้พระทศพลณญาน๑๐นี้ ผู้ที่ควรบรรลุ หรือแม้แต่ผู้ที่หลงทาง และหมดสติปัญญาจะหาทาง ตลอดจนผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะก็ตาม หากพระองค์ทรงพระประสงค์ ณ ที่ของพระองค์ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น จึงได้ที่พึ่งที่ดี จึงย่อมบรรลุฐานะธรรมที่ควรบรรลุสมความปรารถนาของตน โดยไม่มีที่อื่นไปยิ่งกว่าที่จะมีผู้ใดสามารถ ชี้แจง แนะนำ ผลักดันเพิ่มเติม ในหลักการพิจารณาแก้ไขปัญหาถึงสภาวะที่ติดขัดเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายคือ การสำเร็จธรรมให้ได้ให้ถึงในที่สุด "

    เพราะท่านรู้ด้วยพระปรีชาญานดังนี้แล พระสาวกผู้เจริญในสมัยพุทธกาลท่านจะสงสัยขัดในธรรมอันใดและต่อมากสักเพียงไร ท่านก็ชี้ทางสว่างได้ั แต่มาจวนจนปัจจุบันนี้เมื่อไม่มีกำลังพระทศพลณญาน๑๐ นี้แล้ว"[ เราก็ต้องทำใจยอมรับชะตากรรม]"ที่ต้องพึ่งพาอาศัยตนเองเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมด้วยตนเองให้จงได้ เมื่อรู้ดังนี้ แสดงว่ามีความเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว สามารถรับรู้เรื่องราวสำคัญเช่นนี้ได้ ท่านทั้งหลายย่อมเจริญในธรรมขึ้นอย่างมากมายอย่างแน่นอน!

    #ความเกี่ยวข้องของพระอภิธรรม กับ พระทศพลญาน ๑๐

    ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)
    1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)
    2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)
    3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)
    4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)
    5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)
    6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)
    7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)
    8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)
    9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม -- knowledge of the decease and rebirth of beings)
    10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)
    39441752-4F93-403E-B5E5-EE4863843A87.jpeg

    #ประโยชน์ของอภิธรรม แบบ ปฎิเวธ
    ตัดภพภูมิ แก้ไขการจุติและอุบัติ ตามลักษณะจิต เจตสิก สรุปโดยรวม คือ สามารถควบคุมรู้ ทางกุศลและอกุศล ที่ชักนำให้เป็นไป ในสุญญตมหาภพ ชักนำปัจจัยให้เกิด

    เรียกว่า ควบคุมชะตากรรม ฝืนลิขิตฟ้า ถ้าเรียนแล้วรู้แล้ว ปฎิบัติไปด้วยทุกขณะ ตื่นรู้

    เรียกได้ว่า เป็นการทำลาย เรื่องโหราศาสตร์ การทำนายทายทัก ของลัทธิศาสนาอื่นๆ ไปได้เลย เพราะสามารถหยั่งรู้ ทุกขณะจิต แม้เหตุปัจจัยอันจะพึงมีพึงเกิดขึ้น ซึ่งกรรมจัดสรร จนถึงภพชาติในสัมปรายภพข้างหน้าที่จะเป็นไป เป็นวิชาคำนวนที่ส่งผลอันเป็นที่ประจักษ์โดยรวมในทันที แก่เราท่านทั้งหลายฯ

    “ฝืนลิขิตสวรรค์” ฝ่าทัณฑ์สวรรค์ รอดพ้นกรรมจัดจรร จนผลกรรมเบาบางน้อยลดน้อยลงที่สุด

    วิสัชนายิ่งขึ้นไปอีก เรียนพระอภิธรรม ก็เหมือนได้ร่ำเรียน ศึกษาเรื่องพระทศพลญาน ๑๐ มีใครเคยให้ความเห็นแบบนี้ไหม นี่หวังเป็นพุทธภูมิ กันทั้งนั้นเลยหรือเปล่า หรือเรียนเพื่อเป็นพระสาวกประกาศพระศาสนา มองเห็นอยู่ แบบเต็มๆ ไม่ดิ้นออกไปเป็นอื่นเลย มีใครรู้ตัวเองหรือเปล่า ตั้งความหวัง ปณิธาน ไว้หรือเปล่ากันหนอ? ซึ่งการปฎิบัติและศึกษา พระอภิธรรม นี้

    เหล่าอภิธรรมนี้ ซ่อนฐานะพิเศษ หวังเป็นสาวก พุทธเวไนย หรือพุทธภูมิกันนะ

    พระอภิธรรมแสดงไว้แต่ก่อนตอนทรงพิจารณาที่รัตนฆรเจดีย์หนหลัง พระพุทธปรินิพพานจึงมีพระอภิธรรม ปิฎกที่ ๓ นี้ไว้ นั่นก็เพราะ พระอภิธรรม คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า ว่าด้วย ความวิบัติขาดสูญ พระทศพลญาน 10

    ผู้คัดค้านพระอภิธรรมชื่อว่า ทำลายชินจักร

    บุคคลเมื่อคัดค้านพระอภิธรรม ชื่อว่า ย่อมให้การประหารในชินจักรนี้ย่อมคัดค้านพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมหมิ่นเวสารัชชญาณของพระศาสดา ย่อมขัดแย้งบริษัทผู้ต้องการฟัง ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค จักปรากฏในเภทกรวัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ควรแก่อุเขปนิยกรรม นิยสกรรมตัชชนียกรรม เพราะทำกรรมนั้น จึงควรส่งเธอไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคนกินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้.

    75E32160-D641-4F92-BA54-B24245B64DBD.jpeg

    หากยกขึ้นตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา นั่นก็เป็นเรื่องที่ดีตามกาลหรือจะยกขึ้นโดยเมื่อครั้ง ทุติยะสังคายนาจนถึงตติยะสังคายนา พระสังคีติกาจารย์ เหล่าปฎิสัมภิทา ๑๐๐๐ รูป จึงได้ ยกพระ อภิธรรมปิฎก ขึ้นสู่ เรือนยอด เพื่อเป็นบูชาธรรม เป็นตัวแทนพระบรมมหาศาสดา


    เห็นจะมีแต่ผู้มีปัญญาน้อยเพียงเท่านั้น ที่ไม่เอาพระอภิธรรม
    จึงได้ไปเกิดเป็นคนกินเดน !



    พระปฎิสัมภิทา ๑๐๐๐ รูป สังคายนา ซึ่งท่านย่อมเล็งเห็นภัยในอนาคตกาล
    534B10AE-249E-439C-9EA2-B38B3F06BF4E.jpeg

    ระดับสูงสุดแห่งปฎิเวธ ของพระอภิธรรมปิฎก คือ พระทศพลญาน ๑๐

    เรียนเพื่อเหตุ เพื่อปัจจัย แก่ตนเองและเรียนเพื่อผู้อื่นในการโปรดเวไนยสัตว์


    ผู้ที่ทำลายพระอภิธรรมจึงชื่อว่าทำลายพระทศพลญาน ๑๐ ทำลายพระชินจักร

    ขออนุโมทนาฯ
    4560ABAD-C3C3-4E7D-A97A-59FFF1AB99AC.jpeg

    ดูกรนายคามณี ขวดน้ำมีช่อง ใส่น้ำได้ ทั้งเจ้าของใช้ ฉันใดเราย่อมแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อัญเดียรถีย์สมณะ พราหมณ์ และปริพาชก ของเรา เหล่านั้น (ในที่สุด) ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม้ไฉนอัญเดียรถีย์ สมณะพราหมณ์ และปริพาชก จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมนั้นแม้บทเดียว ความรู้นั้นก็พึงเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขแก่เขาสิ้นกาลนาน ฯ


    B3B64764-DEC7-4D2D-8E91-1AE0A11DEF1A.jpeg

    D942CDAE-A76A-45EA-BEE0-EE13FF54F819.jpeg 35C54E98-826F-48C3-9402-A15DCD82A59B.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2023
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30


    15/11/2566

    ทุกๆวันนี้ ปฎิบัติธรรม พิจารณาธรรม อย่างเดียว!
    ไม่มีความขวนขวายในทางโลกธรรม

    ไม่เคยไปอินเดีย ! ไม่รู้ทิศทาง ! เห็นแต่ตะวันเหมือนจะตก
    และนอนสีหไสยาจนดวงตะวันขึ้น จึงกำหนดทิศทาง ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อหันหน้าเข้าหาแม่น้ำ สภาพเป็นเนินดิน สูงกว่าระดับน้ำ ไม่น่าเกิน 20-30 เมตร ลักษณะค่อยๆลาดเอียงลงไปริมน้ำ แม่น้ำมีสีใสบ้าง ขุนมัวเหมือนสีน้ำล้างขวดนมแก้วนมบ้าง ต้นไม้ใบหญ้าสีสดงดงาม ตามธรรมชาติ




    ฝันดียิ่งนัก หลังจากเดินจงกรม สวดมนต์ ขอพรท้าวสักกะ ขอโอสถทิพย์ ฯ กลับมานั่งสมาธิ และเกิดง่วง จึงนอนพัก จึงฝันย้อนไปถึง สถานที่ตรัสรู้ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ดูดวงตะวันคล้อยต่ำ และจึงกำหนดทิศทาง เมื่อสักการะพระศรีมหาโพธิ์เสร็จ จึงล้มตัวลงนอนสีหไสยา ผินหน้าไปทางขวาเยื้องๆ กับอีกทิศทางทางที่ตะวันคล้อยต่ำ นอนรอจนแสงอรุณแรกขึ้น อีกฝั่งขวาเหล่าเทพเทวาอารักษ์แนะนำให้ไปกราบสักการะ พระจุฬามณีเจดีย์ (ดาวดึงส์)

    #ท่านใดที่เคยไปอินเดีย ไปยืนอยู่ตรงจุดนี้ แล้วท่านพึงตรวจสอบหรือทบทวนดูว่า ทิศทางของพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก เป็นไปตามนี้หรือไม่


    อีกนัยยะหนึ่งหากไม่ตรงตามความเป็นจริง คือ ขึ้น คนละทิศทาง คือ จากตะวันออกไปตะวันตก เปลี่ยนทิศไป ทางเหนือใต้เลยก็จะเป็นสิ่งที่ต้องไขความ

    7BCD5886-9931-46AA-9692-A8250ADB824C.png 72478646-4E3D-4379-B68E-95B610CCFF9A.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2023
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30


    8226C95A-C928-4785-B189-CB195DB3456E.jpeg

    รู้จักพระมหาปกรณ์ ได้เมื่อไหร่ ก็นับว่า ได้เข้าใกล้ความเป็นจริง แห่งปฎิสัมภิทา

    พระมหาปกรณ์ ในพระสัทธรรมเจ้า พระไตรปิฏกที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็น ทั้งนี้รวมพระอริยะบุคคลผู้ได้ปฎิสัมภิทานั้นด้วย ก่อนจะถูกถ่ายทอดมาเป็นภาษาพรหม(สุทธิมาคธี) +[ภาษาดั้งเดิมในทุกภพภูมิ] บาลีมคธ หรืออื่นๆ จะเอาภาษาที่เกิดจากแม่แบบ ไปเปรียบเทียบกับต้นแบบ ว่าตรงกันหรือไม่ นั้นทำได้(วิสัชนาขึ้นไปอีก จากที่บอกว่าทำไมได้) แต่ว่า แม่แบบ เป็นแบบอินฟินิตี้ จะเอาปัญญาไหนไปเทียบ! เพราะแค่ชั้นรองลงมาก็เป็นได้ทุกๆภาษาใน ๔ มหาทวีป


    อุปมา

    มันยากแค่ไหน? มันก็ยากพอๆกัน หรือยากกว่า ในยุคสมัยนี้กับ การที่จะพิสูจน์ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระพักตร์อย่างไร หรือ พระวรกายอย่างไรนั่นแหละ พระมหาปกรณ์

    #ยกเว้นไว้เรื่องพยามารแปลงกายเป็นพระพุทธเจ้า


    A61CDD47-95E9-4E43-A9FA-4AAF74EF4B37.jpeg 6E157C86-D303-4219-8E46-AC9F7C0CB929.jpeg

    ทำไมจึงอยากได้โอสถทิพย์?

    {15 ธันวาคม 2565}


    แม้จะหวังเพียงลมๆแล้ง แต่ก็ยังมีความเพียร ตามเหตุและปัจจัย ถ้าได้ก็คือจบแล้ว ทุกๆปัญหาในชาตินี้

    ก็แล้วแต่บุญวาสนา ถ้าบุญยังไม่ถึงก็ยังไม่ได้! ขอดีกว่า ไม่ขอ คิดถึง ดีกว่า ไม่คิดถึง ท่านท้าวสักกะ ! ถ้าได้ คงมีวัด{สักกะเทวราช} ในประเทศไทย

    แม้มิได้มาก็ ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายฯ ได้โปรดปกป้องรักษา

    ถ้าได้การปฎิบัติธรรมเต็มที่ 100% ทันที ลาก่อนโลกธรรม๘

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2023
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30



    “พิจารณาเอาไปใช้ตัดสินความได้ทุกเรื่องราว”

    กระทู้นี้ กระทู้ไหนก็ตาม บ้างก็แสดงไว้ด้วยความโกรธ เกลียด ไม่ชอบใจ ระอาใจในความเห็นผิด รู้สึกสลด สังเวช เวทนา สงสาร ไม่มีราคะเจือปน

    ผู้มีปัญญาพึงพิจารณาเลือกเอาแต่ ของดีๆไป ของไม่ดีที่แสดงไว้ ด้วยโทสะ พยาบาท ไม่ต้องเอาไป ! ตั้งใจพิจารณาตามเอา คิดว่าเป็นตัวเองความคิดของตนเอง (ญานแห่งความรู้) ในเบื้องต้นจะเข้าถึงง่าย!

    เอาไปตั้งใส่ทั้งฝ่ายอกุศลสัทธรรมปฎิรูปหรือฝ่ายกุศลพระสัทธรรมคือ สมมุติว่าเป็นเรา(ตนเอง)แสดงไว้ และ เรา(ตนเอง)เป็นเขาคิดอย่างเขา ทำอย่างเขา

    ก็จะแยกจริตธรรม แยกเจตนา ดี หรือ ชั่วร้ายออก

    ถ้าอ่านตามคิดตามว่า เป็นเพียงความคิดหรือ การถ่ายทอดของผู้อื่น ก็จะรู้ไม่ชัดว่าจะเชื่อ จะเข้าข้าง จะเป็นฝ่ายไหนดี หรือจะอยู่ตรงกลาง หรือ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่อยากรู้อยากเห็นอยากได้ยินหรือได้ฟัง

    เพราะมีเหตุมีปัจจัย ถึงรู้เรื่องราว สมมุติบัญญัติ ปรมัตถบัญญัติ

    พิจารณาแบบนี้

    สัมมาทิฏฐิ และ มิจฉาทิฐิ ชั่วหรือเลว ดีหรือร้าย จึงแยกได้โดยง่าย โดยตั้งจิต ตั้งตนไว้ชอบตรงกลาง

    500B1A8A-5D22-4C74-B17E-787D6F28F10A.jpeg 751BBE2D-691D-45B6-8D04-1482EC46585D.jpeg D12523AA-A551-4623-9530-32AB4FB8610F.jpeg FF7B2172-2CF3-4F59-8773-93C61EAFB0CA.jpeg
    2B618E10-4841-495F-A138-4EBAD6E67A26.jpeg
    FDC72B63-BA1C-464D-B2BD-17C2EB6A649A.jpeg
    706E562A-5D45-462D-B5CB-B53A868537D1.jpeg
    A15D8E36-D5F8-4B00-8D09-4CE797F47E1B.jpeg

    ( พิจารณาจาก มิคสาลาสูตรไว้ หากไม่มีคุณสมบัติธรรม การประมาณในบุคคลจะทำให้คุณวิเศษที่จะพึงมีพึงได้ในภพชาติหายไป)


    985AC72C-AE89-457E-BCB3-73E5D11C0650.jpeg
    1BBC86EC-CB9C-4EBC-87F0-86AB5BFA7DCB.jpeg

    E476214F-19EB-46BD-8B5A-3CCF2BC50158.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2023
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30


    “ หมากที่วางบนกระดาน ใครแก้ได้ ก็จะได้สมบัติไป “

    #*#เหล่าปฎิสัมภิทา ๑๔/๑๖ ลงมา ท่านกวาดเรียบหมด เรื่องนิกายแตกแยก จะนิกายใดใดก็ตาม ภาษาใดใด ชาติใดใดหากท่านจะแสดงความสามารถตามเหตุปัจจัย เรื่องรวมธรณีสงฆ์ ไม่ใช่เรื่องยาก

    00A95268-84AC-41E7-B25A-872E2B7F8475.jpeg 9B2B0AEE-20F8-47E7-A311-B2BEE5715E71.jpeg 6A4A5B65-977D-4A5E-8A1D-6947A1E265C0.jpeg 411DE22A-EE6D-4043-9BF6-32DC336C17CD.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2023
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    พระสูตรใด ขึ้นต้นด้วย เอวัมเม สุตตัง ! ตัดทิ้งหมด!

    จะเอาแต่ ขึ้นต้นด้วย ดูก่อน ภิกษุ ทั้งหลายฯ

    พระสาวกบันทึกมานะ ไม่ใช่องค์พุทธะบันทึกเอง!

    พุดทะวะจะน้า! นรกขุมไหนกันบ้างน้อ! เคราะห์ซ้ำกรรมซัดจริงๆ

    ก็จบข่าว!

    {มี นิรุตติทัสสนะเป็นอรรถ}

    สงสารพวกไม่เอาปฎิสัมภิทาจัง!

    37C50358-9D52-4F0D-A276-87E61B341997.jpeg


    58B4B458-739B-468C-9BBA-D5ABB12C3C98.jpeg

    ก็ในพระบาลีนั้น ท่านพระอานนท์ย่อมแสดงความไม่ลุ่มหลงไว้ด้วยคำว่า เอวํ เพราะผู้หลงแล้วย่อมไม่สามารถแทงตลอดได้โดยประการต่างๆ และย่อมแสดงความไม่ฟั่นเฟือนแห่งถ้อยคำที่ท่านได้สดับมาไว้ด้วยคำว่า สุตํ เพราะว่า ถ้าบุคคลมีถ้อยคำที่ได้สดับฟังมาหลงลืมไปย่อมจะไม่ทราบชัดว่า คำนี้ ข้าพเจ้าได้สดับฟังมาแล้วโดยระหว่างกาลด้วยอาการอย่างนี้ พระอานนท์นี้จึงชื่อว่ามีความสำเร็จทางปัญญา เพราะความไม่ลุ่มหลงและมีความสำเร็จทางสติเพราะความไม่ฟั่นเฟือน.
    ในความสำเร็จ ๒ อย่างนั้น ถ้าสติมีปัญญาเป็นประธาน ก็สามารถทำการกำหนดได้แน่นอนในพยัญชนะ ถ้าปัญญามีสติเป็นประธาน ก็สามารถแทงตลอดในอรรถะ ก็เพราะประกอบด้วยความสามารถแห่งธรรมทั้งสองนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้นามว่า ธรรมภัณฑาคาริก (ขุนคลังแห่งพระธรรม) เพราะสามารถที่จะอนุรักษ์คลังพระธรรมให้สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ.





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2023
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30



    อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ อรรถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตนด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดได้โดยประการต่างๆ ว่า เอวํ นี้. ท่านย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือธรรมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่งธรรมอันบุคคลพึงสดับฟังว่า สุตํ นี้.
    อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อจะกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงโยนิโสมนสิการด้วย เอวํ นี้ จึงแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ ข้าพเจ้าแทงตลอดดีแล้วด้วยทิฐิ ดังนี้.
    เมื่อกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงการประกอบการฟังด้วย สุตํ นี้ จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว ทรงจำไว้แล้ว สั่งสมไว้แล้วด้วยปัญญา ดังนี้ เมื่อท่านจะแสดงอรรถและพยัญชนะให้บริบูรณ์ ด้วยคำแม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมให้การเอื้อเฟื้อในการที่จะให้การฟังเกิดขึ้น เพราะว่า เมื่อบุคคลไม่ฟังธรรมอันบริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อเคารพ ย่อมเป็นผู้เหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุนี้ บุคคลพึงให้ความเอื้อเฟื้อเคารพในการฟังธรรมให้เกิดขึ้นเถิด.
    อนึ่ง ด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ตั้งธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้วไว้สำหรับตน จึงชื่อว่าย่อมก้าวล่วงภูมิของอสัตบุรุษ เมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ชื่อว่าย่อมก้าวลงสู่ภูมิแห่งสัตบุรุษ. ท่านพระอานนท์ย่อมยังจิตของท่านให้หลีกออกจากอสัทธรรม และให้จิตของท่านดำรงไว้ในพระสัทธรรม โดยทำนองนั้นเหมือนกัน เมื่อท่านแสดงว่า ก็พระดำรัสนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนั่นแหละ ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเปลื้องตนออก ย่อมแสดงอ้างพระศาสดา ย่อมยังพระดำรัสของพระชินเจ้าให้แนบสนิท ย่อมยังธรรมเนติให้ดำรงอยู่.
    อีกอย่างหนึ่ง พระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญญา (ไม่รับรอง) ซึ่งความที่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าเป็นธรรมอันตนให้เกิดขึ้นได้เอง เปิดเผยการได้ฟังมาตั้งแต่เบื้องต้น ด้วยบทว่า เอวมฺเม สุตํดังนี้ ชื่อว่า ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาสมบัติในธรรมนี้ให้เกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ ข้าพเจ้าได้รับมาเฉพาะต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณ ๔ ผู้ทรงไว้ซึ่งทสพลญาณ ผู้ดำรงอยู่ในอาสภฐาน (ฐานะอันประเสริฐ) ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี ผู้มีธรรมดังประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐคือพระธรรมให้เป็นไปทั่ว ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น ในพระดำรัสนี้ใครๆ ไม่ควรทำความสงสัย หรือเคลือบแคลงในอรรถในธรรม ในบทหรือในพยัญชนะดังนี้ ด้วยเหตุนี้นั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์จึงประพันธ์คำอันเป็นคาถาไว้ว่า
    วินาสยติ อสฺสทฺธํ สทฺธํ วฑฺเฒติ สาสเน
    เอวมฺเม สุตมิจฺเจตํ วทํ โคตมสาวโก.
    ท่านพระอานนท์ผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดม
    กล่าวอย่างนี้ว่า

    ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ นี้ชื่อว่าย่อมยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาให้พินาศ

    ย่อมยังศรัทธาสมบัติให้เจริญในพระพุทธศาสนา ดังนี้.

    BF269F99-9843-4531-A72E-556A82AF665E.jpeg

    นอกจาก อสัทธรรม ๗ และอสัทธรรม ๑๐ ที่ปรากฎในพระสูตรแล้ว

    ใน ๔ มหาทวีปนี้ ยังมี อสัทธรรม อื่นอยู่ด้วย!

    เหล่าปฎิสัมภิทาทำให้แจ้งแล้ว มุ่งมั่น ต่อ พิชัยสงคราม



    “ตราบใดที่ยังไม่ได้ปฎิบัติบูชา มหาโลมหังสจริยาสูตรฯ มหาวัตรพรหมจรรย์ ๔ ก็ยังไม่ถึงขีดสูงสุดของฝั่งฝัน”

    เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว ชาตินี้จะสามารถฝ่าฟันไปถึงวันนั้นหรือไม่นะ หรือจะด่วนตายไปก่อน!

    ตอนเป็นผ้าขาวนี่ปฎิบัติได้ดี ปลอดภัยกว่า ฐานะอื่น!
    95DEE5FE-A016-4EAA-88F9-0C570A6A2125.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2023
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30




    หากยังไม่แน่ใจ! วิสัชนา เข้าไปอีก!

    ครั้งแรกที่อ่าน พระสูตรนี้ (วันนี้)

    ตาเนื้อ กับ ตาญาน แตกต่างกัน โดย นัยยะ นีตัถถะและเนยยัตถะ

    เหล่าปฎิสัมภิทา มีจิต ญานเชื่อมต่อกัน ! และจะกำหนดอรรถะพยัญชนะ ไว้ส่งผ่านกาลเวลาถึงกันและกัน แม้ไม่เคยอ่านพระสูตรใดๆนั้นมาก่อน ก็จะสามารถทะลุทะลวงไปถึงกัน ได้ตามกำลัง ความมุมานะเพียรพยายาม ตามกำลังของตน

    {สัพพัญญุตญานทรงเข้าถึงธรรมใด}{ ปกรณ์สังยุต }จำแนกญาน

    ไม่ได้ปฎิสัมภิทา ไม่มีทางได้เข้าใจ ยิ่งถ้าสามารถอ่านพระบาลีได้ ยิ่งทวีคูณ ! ไม่ตั้งใจเรียนพระบาลี กรรมทันตา!


    อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    อารัมภกถา ข้าพเจ้าพระพุทธโฆษาจารย์ขอน้อมนมัสการ ด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระสุคตเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วจากคติ ผู้มีพระทัยเยือกเย็นสนิทด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ผู้มีความมืดคือโมหะอันแสงสว่างแห่งปัญญาขจัดแล้ว ผู้เป็นครูของชาวโลกทั้งหลาย พร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา.
    พระพุทธเจ้าทรงทำให้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณทรงเข้าถึงพระธรรมใดอันมีมลทินไปปราศแล้ว ข้าพเจ้า ขอน้อมนมัสการพระธรรมอันเยี่ยมนั้นด้วยเศียรเกล้า. ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้าอยู่เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลแม้ทั้งแปดพวก ผู้เป็นบุตรอันเกิดแต่พระอุระของพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีเสียได้ซึ่งมารและเสนามาร.
    บุญใดสำเร็จแล้วด้วยการกราบไหว้พระรัตนตรัยของข้าพเจ้าผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วด้วยประการฉะนี้ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันขจัดดีแล้ว อรรถกถาใดอันพระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ผู้ชำนาญแตกฉานในปฏิสัมภิทาช่วยกันร้อยกรองแล้วตั้งแต่ปฐมสังคายนา ต่อมามีการร้อยกรองอีกสองครั้ง คือในทุติย-ตติยสังคายนา เพื่อประกาศเนื้อความของปกรณ์สังยุตตนิกายอันประเสริฐ ซึ่งประดับด้วยวรรคแห่งสังยุตอันจำแนกญาณต่างๆ ที่พระพุทธะและสาวกของพระพุทธะพรรณนาไว้ดีแล้ว
    ก็อรรถกถานั้นแหละ อันพระมหินทเถระผู้ชำนาญจากประเทศอินเดียนำมายังเกาะสิงหล (ประเทศศรีลังกา) ต่อมาได้ประดิษฐานไว้ด้วยภาษาสิงหล เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนชาวเกาะ ข้าพเจ้านำอรรถกถาภาษาสิงหลออกแปลเป็นภาษามคธซึ่งเป็นภาษาที่น่ารื่นรมย์ ถูกต้องตามระเบียบพระบาลีไม่มีภาษาอื่นปะปน ไม่ขัดแย้งทฤษฎีของพระเถระทั้งหลายผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้เป็นดังประทีปของเถระวงศ์ ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ละเอียดรอบคอบ จักตัดข้อความที่ซ้ำๆ ออกแล้วจักประกาศเนื้อความอรรถกถาสังยุตตนิกายนี้ เพื่อความชื่นชมยินดีของสาธุชนและเพื่อดำรงอยู่สิ้นกาลนานแห่งพระธรรม.
    AE8FF483-7E9B-47E3-B3D0-01D4078AE500.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2023
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    ล่าสุดก่อนเที่ยงคืน ! การก้าวกระโดด ของความเพียรพยายาม

    #กำลังระดมทีมผู้รู้ไขความกระจ่าง ในธรรมอันลี้ลับ!



    ความเข้าใจ จะแตกต่างกันไป ตามหลักฐาน พยัญชนะ และโดยปรมัตถธรรม ต่างความรู้ ต่างปัจจัยที่นำมาสงเคราะห์

    ส่วนเราเข้าใจ พื้นฐานข้อที่ท่านๆอื่น ทำความเห็นให้ตรงโดยชอบ ไตร่ตรองตามได้ และเรา เพียงมุ่งให้เห็นคุณค่า ความหมาย ของการดำรงอยู่ของพระสัทธรรม ว่า พระองค์ทรงมีอยู่ ทรงมีสายพระเนตรเห็นอยู่ ทรงรู้ทรงทราบตลอดเวลา ในพฤติกรรม การปฎิบัติของเหล่าเวไนยสัตว์ ผู้ใกล้ และผู้ห่างไกล จะต้องใช้ความเพียรพยายามของตนเอง เพื่อให้ได้เข้าถึง ไม่ใช่ของฟรีของแจก ที่ใช้แล้วทิ้งไร้ค่า จะพ้นทุกข์จากวัฎรสงสาร หรือไม่พ้นทุกข์ ก็ต้องเคารพพึ่งพิงพระองค์ท่าน สำหรับเราจะอ่านพระไตรปิฏก ก็ต้องยกทูนหัวกราบไหว้ก่อน พิจารณาเนื้อความใด ต้องจิตต้องใจ ก็พนมมือกราบนมัสการ ระลึกถึงคุณที่ปรากฎนั้นๆ ถ้าถึงขั้นซาบซึ้งใจ หรือเกิดปิติยินดี หรือเศร้าใจจาก เรื่องราว ที่มีเหตุและปัจจัย อันระทมทุกข์ จนรู้สึกเศร้าใจไปด้วยหรือทุกข์ไปด้วย จนเมื่อหยาดหยดน้ำตาร่วงรินลง เพราะความรัก ความเคารพนับถือ ศรัทธาในพระเมตตากรุณา เมื่อนั้นก็จะเข้าใจเรา ครั้นเมื่อได้ศึกษาพอประมาณกับความเพียร ก็กราบนมัสการลาวางด้วยความเคารพนอบน้อม นี่คือสิ่งที่ควรปฎิบัติทุกครั้งสำหรับ ผู้แสวงหาความเจริญในพระสัทธรรม

    #ต่อไปก็ขายยา คัดมาจากการขอโอกาสตอบกระทู้ ท่าน WebSnow ไปเทียบชื่อ หาคำเรียกขานสภาวะกันเอาเอง!

    ข้อ ๑/๒/๕ นี่ตึงสุดละ รู้ ชัด! จนเหวอ! และเด่นๆก็มีมหานิมิต ดอกบัว7สี /ยกหลังคาเพดานปกป้อง/นมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ /เป็นพระพุทธรูปถูกมารผนึกไม่ให้โผล่พ้นดิน

    ส่วนนี่เป็นเรื่องราวประสบการณ์ของผมครับ ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ ทำได้แค่นี้ล่ะ! ตอนนี้ หมดตัว

    จากประสบการณ์จากกายทิพย์ จิตหรือญาน ของข้าพเจ้าที่สงเคราะห์มาตามเหตุและปัจจัย

    ๑.ว่าด้วยดวงสุญญตธรรม มีดวงสุญญตโปร่งใส เป็นที่ห่อหุ้มร่างกายทิพย์ นำไป มีรู้สึกตัวโดยตลอด มีสัญญาสามารถควบคุมร่างได้ทั้ง ๒ ร่างมีความรู้สึกนึกคิด มีความตื่นตัว มีสัญญา ความจำได้หมายรู้ ร่างต้นหากปรารถนาจะได้ยินหรือไม่ปรารถนาจะได้ยิน ในขณะที่กายทิพย์แยกออกไป ร่างกายทิพย์ ก็มีความคิด พินิจพิจารณา ความปรารถนาพร้อม ที่จะทำกิจแห่งการความเจริญเบื้องหน้าในพระสัทธรรม (สมัยยังเป็นภิกษุ)

    ๒.ว่าด้วยการปรากฎการณ์ในมหาวิปัสสนาญาน เคลื่อนร่างหลักและจิตว่าด้วยญานหายไป เพียง๑ เดียว มีสัญญา สู่อนาคตกาล หายไปจากกาลเวลา จะไม่มีความรู้สึกสัมพันธ์กับร่างต้น ไม่อยู่ในสภาวะกายทิพย์ จิตหรือญานมีความรู้ มีปัญญาในพิจารณา รับรู้ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเบื้องหน้า อากาศธาตุ บรรยากาศ ลมหายใจเข้าออก ปรากฎ ณ เบื่องหน้า และปรากฎเวทนา เมื่อพิจารณาโดยรวมครุ่นคิดเสร็จกิจ จิตและร่างจะเคลื่อนตัดกลับที่เดิม และลืมตาขึ้นมา เพื่อจดจำและใคร่ครวญ(ลาสิกขามาแล้วใหม่ ปฎิบัติต่อเนื่อง)

    ๓.ว่าด้วยการทำสมาธิถอดกายทิพย์ โดยมิตั้งใจว่าจะไปที่ใด เพียง มีสัญญาจิตรู้ว่า ตนออกไปจากร่าง ไป ปรากฎในสถานที่ภพภูมิอื่น มีสติความนึกคิด พิจารณา มีความสงสัย มีความปรารถนาเพื่อที่จะให้แน่ใจ ในสิ่งที่พบเห็น และจะทำการสำรวจ พิจารณายังเหตุและปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ( กลับไปที่ปราสาทมุกสวรรค์ สมัยบวชเป็นภิกษุ)

    ๔.ว่าด้วยการทำสมาธิ โดยมิได้ตั้งใจและกำหนดว่าจะไปสถานที่ใด มีสัญญา สามารถเป็นไปด้วยตนเอง และโดยมากจะมีสารถีเป็นผู้พาเดินทางข้ามไป โดยใช้ญาน พาหนะชนิดต่างๆ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด ข้ามมิติ พาไปทัศนศึกษา บางครั้งคราว เมื่อพอไปถึงก็หายไป

    ๕.ว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาน มีลักษณะ เหมือนกับข้อ ที่ ๓ แต่ มีสัญญา มีการรับรู้ เวทนา สัญญา อันปรากฎ ที่รุนแรงทางความคิด ความรู้สึก เป็น กายเก่า ขันธ์เก่า มีเรื่องมีราว ที่ตัดออกจากภพปัจจุบัน โดยสิ้นเชิง มีผัสสะ อายตนะ รู้ชัดรับรู้ทุกข์ สุข แห่งธรรมารมณ์ สิ่งที่มากระทบ และหากเป็นเรื่องที่แย่ๆกระทบกับความรู้สึก ก็จะเห็นภัยของการระลึกชาติ ทันที จนไม่ปรารถนาจะระลึกสิ่งใดๆในอดีตชาติได้อีก เพราะมีสัญญาแห่งความสุขทุกข์ เจ็บปวดและทรมาน (ลาสิกขามาใหม่แล้วปฎิบัติต่อ ในเวลาใกล้เคียงกันกับข้อ ๒ “อดีตพระราชปาล”)

    ๖.ว่าด้วย นิมิต ที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากการทำสมาธิ รู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง แต่ว่ามี สัญญา ความจำได้ หมายรู้ แบ่งเป็น เรื่องราว ภาพความทรงจำในอดีต ประกอบเวทนาในอดีตชาติก็ดี ในปัจจุบันชาติก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี แต่เป็นไปด้วยกิจแห่ง ญาน คือเครื่องรู้ ในกรณีนี้ ไม่เกี่ยวพันกับร่างหลัก

    ๗.ว่าด้วยสัญญาและสัญญาวิปลาส เป็นการฝันทั่วๆไป เป็นเรื่องที่รู้สึกตัวว่าฝันบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง เป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ในความฝันบ้าง(ห้วงจิตแข็ง การปฎิบัติดี) เป็นเหยื่อในความฝันบ้าง บอกเหตุบ้าง เพ้อเจ้อบ้าง อยู่ในระดับปกติที่คนทั่วไป ที่สามารถเข้าถึง

    ๘.ว่าด้วยสัญชาตญาณ เครื่องกำหนดรู้ ไม่มีกายทิพย์ ไม่มีความฝัน อยู่ในสถานการณ์ การเผชิญหน้ากับความเป็นจริง เป็นไปด้วยกิจแห่งญานและคุณวิเศษ (อ้างอิงจาก การกำหนดจุด การจับ การติดตาม การดัก กำหนดทิศทาง ซุ่มโจมตี เพื่อวางแผนและทำการสังหารในจุดที่แม่นยำ )

    ๙. ว่าด้วยการตั้งใจว่าจะถอดจิต หรือกายทิพย์ จะไปสถานที่ใด ก็ถอดไปได้ ตามใจปรารถนา (อยากทำได้ แต่ยังไม่สามารถทำให้ปรากฎ)

    2CD3E3BB-9F43-4556-9B0F-73F9F3651585.jpeg
    7D263531-B40E-4AF0-BC11-6C8934DEEB81.jpeg
    F63E7A3A-0A00-4F85-8824-4B2E009CECC5.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2023
  12. ฟ้ามี

    ฟ้ามี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +13
    สุญญตาธรรม
    ที่มีการให้ความหมายที่ คือ
    -ความว่าง กับ
    -ความว่างเปล่า
    ทั้งสองลักษณะ ไม่เหมือนกันใช่ไหมคะ

    ศนย ที่แปลว่า..ว่างเปล่า
    กับ สุญญ ที่แปลว่า ว่าง คือสภาวะสุุญญกาศ (มี เหมือนไม่มี มองดูแล้วเหมือนว่างเปล่าไม่มีอะไร แต่มันก็มีตัวก่อให้เกิดอากาศอยู่ หรือ ฝุ่นละอองยิบยับยังมีอยู่ในอากาศที่ดูเหมือนไม่มี ไม่ใช่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลยเสียทีเดียว) นัยยะประมาณนี้ค่ะ

    น่าจะมีความแตกต่างกันค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2023
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    วันจันทร์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
    วิสัชนา ๓} {๐



    D6B5B0BE-1E7E-4709-87AB-6584D7A00DF6.jpeg

    น้องหญิงหากมองในหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ตามความเห็นของเราในขณะนี้ จะมี ปรากฎ ๓

    ๑ .{ศูนย์ }ไม่มี ในโลก เพียงว่างจากโลก ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
    ๒. {สุญญ} ปรากฎขึ้นในโลก จากไม่มีในโลกธรรม ปรากฎขึ้น ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
    ๓. { สูญ} ไม่ปรากฎขึ้นในโลกอีก ไม่มีในโลกธรรม ไม่มีการปรุงแต่งอยู่เหนือกาลเวลา ไม่อยู่ในอำนาจการบังคับบัญชาของใคร


    หากมองตามหลักธรรม ตามเหตุ ปัจจัย ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ตามความเห็นของเรา ที่สามารถมองเห็นไตร่ตรองได้ โดยอุปมามีดังนี้

    สรรพสิ่งทั้งหลายเริ่มต้นที่หนึ่ง หนึ่งนี้อยู่ที่ใด(โพธิธรรม ตั๊กม๊อ)

    จากศูนยตาธรรม คือ ไม่มี ช่วงเว้นว่างจาก พระพุทธเจ้าทรงเสด็จมาอุบัติ สรรพสัตว์ไม่สามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้

    จากสุญญตธรรม คือ เมื่อปรากฎ พระสัทธรรม อุบัติขึ้นซึ่งการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงโปรดสรรพสัตว์

    จากสูญญตธรรม คือ เมื่อพ้นแล้ว ซึ่งธรรมอันเหนือโลก ที่ชื่อว่า โลกธรรมนี้ บุคคลเมื่อทำให้สิ้นภพจบชาติแล้ว ก็สิ้นสูญไปจากโลกธรรม

    จากศูนยตาธรรม คือ เมื่อเว้นว่างพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลายอยู่ พระสัทธรรม ก็หายไปจากโลก ตามยุคสัญญีฯล

    จากศูนยตาธรรม คือ เมื่อพระสัทธรรม ห่างหายไปจากจิตใจของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

    จากสุญญตาธรรม คือ เมื่อ อสัทธรรม ไม่ปรากฎ พระสัทธรรม ก็มิอาจปรากฎอุบัติธรรม

    จากศูนยตาธรรม คือ เมื่อถึงยุค ไฟประลัยกัลป์ ปรากฎขึ้นแก่โลก ก็ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฎ ไม่มี อสัทธรรม ไม่มี พระสัทธรรม

    จากศูนยตาธรรม คือโลกธรรม อสัทธรรม เกิดขึ้นก่อน พระสัทธรรม เจริญก่อน พระสัทธรรม จึงปรากฎ พระสัทธรรม

    จากศูนยตาธรรม คือ อคัญญสูตร ที่สุดการกำเนิดของโลก ถึงมีอยู่ก็ชื่อ ว่าสัตว์ เพียงเท่านั้น!

    จากศูนยตาธรรม คือ ไม่ปรากฎโลก ย่อม ไม่มีโลกธรรม ไม่มี ชาติคือการเกิด ไม่มี ความชราคือความแก่เสื่อมสภาพ ไม่มี ความมรณะคือความตาย

    ทุกสรรพสิ่ง จึงเริ่มต้นที่หนึ่ง หนึ่งนั้นอยู่ที่ใด?

    #ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้กล่าวถึง ความเวิ้งว้างของจักรวาล หรือดาราจักร หรือ ภพภูมิอื่นๆ หรือสภาพศูนย์ฯ หรือ สูญฯหรือ สุญฯ ที่ตั้งอยู่ ที่เป็นไป แม้ไม่มีโลก

    ฉนั้นแล้ว อสัทธรรม จึงปรากฎที่ภพภูมิอื่น เป็นที่ตั้งของ มิจฉาทิฐิ อยู่ แม้พระสัทธรรม ก็ยังสถิตย์ ประดิษฐาน บนเทวะสมาคม
    F523A4C3-16C2-463E-AC0E-FA497E9A031E.jpeg
    สงเคราะห์ตามเหตุและปัจจัย ที่สามารถพิจารณาไตร่ตรองตาม เห็นจริงได้เพียงเท่านี้ก่อน อื่นๆ หากไม่รู้ไม่เห็นไม่วิสัชนา

    หลายๆครั้ง หากพิจารณาตามเหตุและปัจจัยจริงๆ

    B9F5243D-D3E8-42AA-B240-4D1B5A4C8B08.jpeg

    CD2ED530-45AC-49DC-AFF5-DA9488CB3261.jpeg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2023
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    6C14D88D-183C-417A-BC81-0BB5AC30173C.jpeg



    เป็นธรรมทานโดยไม่ตระหนี่ธรรม ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงโดยชอบ ในการวิสัชนา หาข้อมูลมาเพิ่มเติม แบบชี้ชัด เรื่อง สุญญตา ว่าด้วย ปฎิสัมภิทาญาน “ปฎิ” (ปฎิสัมภิทา) +สังยุต (ประมวล)+ สุญญตธรรม (อาศัยฌานสมาบัติ) = ปฎิสังยุตด้วยสุญญตธรรม

    อัญเชิญพระไตรปิฏกลงมาประดิษฐาน บนโลกมนุษย์

    #ลองทดสอบ ไปหาคำว่า สุญญตธรรม หรือ สุญญตา หรือ สูญญตา ที่มีการให้ความเห็นโดยทั่วโลกในขณะนี้

    ก็จะทราบ ว่า ตรงตามพระสูตรหลัก ๒ สูตรนี้ไหม? แสดงไว้ชัดหรือไม่ เข้าถึงไหม? รู้การมีอยู่ของพระสัทธรรม โดยปฎิสัมภิทาหรือเปล่า ! ถ้าเป็นเหล่าปฎิสัมภิทาแท้เจาะ ทะลุหมด เชื่อมถึงกันหมด อะไรที่ แสดงถึงการมีอยู่ของพระสัทธรรม แล้วเราควรเคารพพึ่งพิงพระองค์ท่าน ตั้งใจกว่าที่เป็นอยู่ก็จะดีมาก ปราณีตขึ้นไปอีก

    สุญญตวิโมกข์

    สุญญตสมาธิ

    สุญญตสมาบัติ


    ว่าด้วย เมื่อเข้าสู่สภาวะ จักได้พบเห็นสิ่งใด เราอาศัยพระธรรมวินัย นวังคสัตถุศาสตร์ ๙ เพื่อเข้าถึง สภาวะสุญญตธรรม จะคิดว่าไม่ต้องมีต้องเรียนรู้สิ่งใดๆเลยหรือสิ่งใดๆอีก ก็ไม่ควรแก่ฐานะ ที่จะคิดอย่างนั้น


    ปฎิสัมภิทา, สุญญตสมาบัติภายใน, ธรรมเอก, สุญญตวิหารธรรม

    คงไม่ต้องกล่าวไปเรื่องความว่างอื่นๆ ระดับ ฌานสมาบัติ ตรงๆ ต่างจากความเห็นโดยนีตัถถะ เป็นเนยยัตถะ ที่ต้องไขความ โดยผู้ได้ปฎิสัมภิทาเท่านั้นที่พึงเข้าใจ

    ไม่ได้ ไม่มีทางวิสัชนาได้ !


    ๒ พระสูตรนี้ จะเกี่ยวข้องกับ สัญญาสูตร อรรถพยัญชนะ ที่ตรงกันของพระศาสดา

    จุฬสุญญตสูตร การแสดง สุญญตวิหารธรรม ของพระพุทธเจ้า แก่พระอานนท์ เธอทรงจำไว้ดีหรือไม่อานนท์ เรื่องก็ประมาณนี้ และจะเชื่อมกับการกล่าวถึง อรรถและพยัญชนะที่ตรงกันของพระสาวกและพระศาสดานั้นตรงกัน ในสัญญาสูตร


    ทั้ง ๒ พระสูตรนี้มีนัยยะเดียวที่บ่งชี้ชัดคือ สถานะ ของการมีอยู่และ การเข้าถึง พระสัทธรรม

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า สุญญตธรรม ที่เรานอบน้อมยกลงมาแสดง ก็มีอยู่ในพระสูตรหลักของสุญญตธรรมนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากความเห็นของที่อื่น คือ การยืนยันสถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม การเคารพพึ่งพิงพระสัทธรรม


    1FBA92FB-AC97-4402-96B1-5BDF87530787.jpeg

    ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
    ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ

    ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้วยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
    ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร

    ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ

    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ

    2AA0C61B-9095-40F6-B42D-B21C91A20919.jpeg

    ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ
    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด

    ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
    เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้


    ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑

    75C01A34-0EB9-411F-B7DC-92C6C95AF870.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2023
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    AD0646B7-76FD-43D8-A75E-BAAFAE44C43D.jpeg

    72FC6F31-F3AE-4549-9EE7-ED8541CC4DEA.png

    353BAFBB-A0A7-4BD1-8CA4-B53F5F6B5834.jpeg CB5928D3-845E-4555-B2CB-582901809335.jpeg 7E5638BB-CABE-457C-9A2A-688671421AD7.jpeg



    น่าจะพอเพียงสำหรับ การแสดงเรื่อง ปฎิสัมภิทา

    กระทู้ พุทธทำนายกึ่งพุทธกาล ว่าโดย การทำลาย และการอุบัติของ อภยปริตร มหาสุบิน ๑๖ ประการ ความฝันของพระเจ้าปเสนธิโกศล ขอพระสาวกแก้วสวดสาธยายพระปริตรเพื่อขจัดสิ่งอวมงคลทั้งหลายนั้นเถิดฯ


    “บทเดียวสะเทือนไปถึงดวงดาว”

    แสดงเรื่องราว ของการอัญเชิญพระสัทธรรม ลงมาประดิษฐานบนโลกมนุษย์ พระองค์ทรงรู้ทรงทราบอยู่ทุกขณะ ทรงสถิตย์อยู่ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับ เหล่าเวไนยสัตว์ พุทธบริษัทของพระองค์ ท่านทั้งหลาย จงมีความเพียรพยายามในการปฎิบัติสั่งสม บุญกุศล หมั่นศึกษาพระสัทธรรม ๓ เพื่อความสุขสวัสดิ์สถาพร แก่ตนเองและสหธรรมกัลยาณมิตร โดยความไม่ประมาทเถิด แม้เราเองก็จะเร่งความเพียรพยายามขึ้นอีกเหมือนกัน ไว้พบกันใหม่ ^_^

    “ผู้ที่ได้ปฎิสัมภิทาเสมอเรา หรือยังไม่ได้ เราก็จักเป็นครู เพราะผู้นั้นจะประเสริฐกว่าเรา ผู้ที่ระดับสูงกว่าเรา ผู้นั้นก็เป็นครูเรา รีบสร้างความเพียร กางปีกออกไปบินได้แล้ว”

    ขออนุโมทนาในกุศลนี้ด้วยฯ

    C43B10F9-027F-4EAA-BC65-30430E9E8368.jpeg



    FEAA59EB-FE06-4235-8C0E-9186B4EF55EE.jpeg

    B79864CF-D74A-4969-8AC6-EC6EA664AB12.jpeg

    หากคณะเว็บพลังจิตกระแสบุญบารมี และเหตุปัจจัยไม่หนาแน่นจริงๆ กระทู้ธรรม ว่าโดย การทำลาย อภยปริตร และการอุบัติขึ้นของพระสัทธรรม จะไม่มีปรากฎในกาล

    ข้อนี้ ขออนุโมทนาฯยิ่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2023
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    C751E1AD-401C-4792-ADD2-D659BE6A8BAF.jpeg

    ถ้ากู้ธรรมะได้ ก็..กู้แผ่นดินไทยสำเร็จ
    .
    …. “ เวลานี้ภารกิจของคนไทยไม่ใช่แค่กู้แผ่นดินเท่านั้น แต่ต้อง “กู้ธรรมะ” ด้วย ไม่รู้ว่าธรรมะหายไปไหนเสียมากมายแล้ว ที่โผล่ออกมาเป็นลัทธิอะไรก็ไม่รู้ ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าประกาศอิสรภาพให้แก่มวลมนุษย์แล้ว ตอนนี้คนไทยกลับยอมสูญเสียอิสรภาพไปเป็นเมืองขึ้นของใคร ไปหลงทางอยู่ที่ไหน นี่คือ ออกนอกพระพุทธศาสนา หรือ ออกนอกธรรมะไป...
    …. เวลานี้เราออกนอกธรรมะไปแล้ว หรือธรรมะหล่นหายจากเราไป จึงต้องกู้ธรรมะกลับขึ้นมา คือ กู้ธรรมขึ้นมาในตัวคน ถ้ากู้ธรรมที่ว่านี้ขึ้นมาได้ ก็กู้แผ่นดินไทยสำเร็จ ขอย้ำว่า..กู้ธรรมะได้ กู้แผ่นดินไทยสำเร็จ
    …. ในแง่เศรษฐกิจก็เหมือนกัน พูดสั้นๆว่า เราจะกู้เศรษฐกิจได้ ต้องกู้คุณภาพในตัวคนขึ้นมา ถ้าพูดอย่างแคบๆก็ว่า ต้องกู้ทรัพยากรมนุษย์ขึ้นมา ถ้ากู้คนขึ้นมาให้มีคุณภาพได้ กู้เศรษฐกิจไทยไม่ยากเลย เชื่อไหม เพราะฉะนั้น ต้องทำอันนี้ให้ได้
    …. ถึงเวลาต้องปลุกใจคนไทย ที่จริงถึงเวลานานแล้ว แต่ถ้ายังไม่ทำก็ถึงเวลาอีกทีหนึ่ง ลุกขึ้น กู้ธรรมะขึ้นมาในใจคน พัฒนาตัวคนนี้ให้สำเร็จให้ได้ ให้มีคุณภาพทั้งด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ และด้านปัญญา นี่แหละ! จึงว่ามากู้แผ่นดินไทยด้วยการกู้ธรรมะ เพราะการกู้ธรรมะนั้นจะเป็นการกู้แผ่นดินไทยไปในตัว เมื่อเรากู้ธรรมะได้ ก็กู้แผ่นดินไทยไปในตัวเอง เสร็จสิ้นไปเลย ไม่ต้องไปทำ ๒ ครั้ง...”
    .
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
    ที่มา : บางตอนของธรรมนิพนธ์ เรื่อง “เราจะกู้แผ่นดินกันอย่างไร”


    61577BCD-E917-4F23-A15E-639F1AB8C115.jpeg


    เก็บรายละเอียดที่ผ่านตา ทุกแขนงศาสตร์!



    DB8EE2C6-85CE-487A-BC26-98A1A29E64B3.jpeg 64BEB16F-32C0-4B61-B47F-960E49BDC528.jpeg 17607DE7-1753-4ECA-B0EF-61B6C5DF9ACE.jpeg

    9AAD859B-8851-4A73-B787-E19A0066F56B.jpeg
    “การสั่นสะเทือน เขย่าอย่างผิดปกติ”
    B037E486-E959-471D-A7A5-61AAC11E84E8.jpeg
    723CFE23-AFCE-41CA-8578-AB1B825AE8AA.jpeg
    “น่าจะไปขัดผลประโยชน์มาร”



    ท่านทั้งหลายบัดนี้
    ได้กาลเวลาศึกษาพระอภิธรรมเพิ่มเติมอย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้นแล้ว

    จงเพียรเพ่ง เฝ้าฟังดูเอาตามกาลเถิด จักเกิดประโยชน์แก่ตนและครอบครัว

    6BA312FF-0CB3-4C58-B92C-915AD3633293.jpeg 3C7BB5C4-563D-4D02-B32A-4037B27A63C5.jpeg 439ED410-DDCC-47D6-9646-15FDE818F74D.jpeg CD92E589-9F8F-471E-9006-A7EDD5C34B28.jpeg

    “จิ๊กซอว์จะค่อยๆเติมเต็ม” เมื่อเติมเต็มย่อมรู้ชัดสลัดออก”
    834248B0-9253-4651-B71B-B84AFF23FA31.jpeg

    4EB34125-0FD5-48D4-A40F-1D5064451105.jpeg

    0B7A32D4-7F05-43AF-8F6D-86FF92CDB4A7.jpeg 4948826C-E7FE-4F31-8608-62BCC97E26D8.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2023
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    พระอรหันต์สาวกเจ้าพระมหากัสสปะแสดงนิรุตติญานทัสสนะเตือนภัยล่วงหน้า๒๕๐๐ ปี
    #ก็ยุคใดสมัยใดเล่าที่เที่ยวชูคอท่องบ่นพุทธวจนะ ด้วยความปรารถนาชั่วใน
    การกวาดล้างทำลายพระไตรปิฏกทั้งโลก

    1214AF91-94E0-4FF1-A432-D79253A62676.jpeg C2C831E7-7710-459F-B4DE-79C70A7785A3.jpeg
    9D7B15C6-51C6-496F-8CF2-61FEF70B8F97.jpeg


    เหตุปัจจัย! แห่งนิรุตติญานทัสสนะ

    91743DBA-3EF7-4C02-A3DD-79E4C9ACA4C9.jpeg
    ยิ่งศึกษาโดยความเคารพยิ่งเจอ!
    ความอัศจรรย์
    6141622D-563D-4A96-8562-D7B8FFDA4BF9.jpeg

    สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอกราบนมัสการพระอรหันต์สาวกเจ้าผู้เลิศทางธุดงค์คุณ

    #เมื่อปัญญาญานรู้ชัด ในการปรากฎสภาพของธรรม ก็มั่นใจชัดเจนว่า ธรรมทั้งหลายที่มาในพระสัทธรรม ๙ ประการ บังเกิดขึ้นแก่โลกด้วย เหตุ วาระธรรมดังนี้ตามความเป็นจริงฯ

    ความรู้นี้ชัดแจ้งขึ้น! กว่าที่แล้วมา ก็ผ่านด่านต่อไปได้ !



    เหตุการณ์ทางโลกและทางธรรมส่งผล
    ต่อกัน
    “ละไว้ฐานที่เข้าใจกัน”
    ด้วยคุณแห่งปฎิสัมภิทา


    เหล่าอสัทธรรมจงพินาศ
    จงอย่าเข้าถึง อย่าบรรลุ!

    0BDEC80C-59A6-4F7B-8EBC-0A42714DA8EC.jpeg

    สงสาร@minเต้นโหยงเลย^_^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2023
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    ฮือเต๊ก!“ผู้แก้หมากบนกระดาน”

    หมากบนกระดานหลายข้อถูกแก้โดยสภาวะธรรมไว้แล้วฯ

    เหลือแต่ เรื่อง สวรรค์ นรก และพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ตามพุทธประเพณี

    บทวิเคราะห์ พระอภิธรรม 7 ขั้น จากพระพุทธทาส
    AD7393E7-A6D5-4E7E-8DBD-3B7533D954EC.jpeg
    แม้แต่ท่านพุทธทาส ก็ยังมีคำกล่าวว่า” พระอภิธรรม คือ ปฎิสัมภิทามรรค “

    และการศึกษาแบบผิดที่ผิดทาง ในพระอภิธรรมเป็นเรื่องที่ไม่ควร

    ฟังแล้วให้เกิด สุตตะมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา

    #ไม่ศึกษา ไม่ได้พิจารณา ย่อมพลาดเหมือน นาย เสรีวะพาณิช!

    #ขนคนหนีน้ำขึ้นที่สูง หรือ พาคนดิ่งลงเหว ผู้มีปัญญาย่อมเข้าใจ


    BCC2DDA9-DB61-4FBA-9CFF-D0FEDFFE5ADD.jpeg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2023
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    C4F53EEE-C5F7-454E-9FE3-905EE166772A.png 2D38D99E-29CB-4308-89C7-F8FD7383EE16.jpeg F39FB7DD-CDF3-4C72-93F3-1BFE52354FC2.jpeg F99497E1-1C22-4FCE-B46E-4C8019A43EC9.jpeg
    B4A5F701-022E-4E03-9852-B2DDC0A8049C.jpeg 554078DA-BB46-4559-9042-729C9478EB40.jpeg

    สมมุติว่า 25-30 วันต่อเดือน! ถ้ายิ่งมีศักราชโบราณ ที่ 1 เดือน ไม่ครบ ไม่ถึง30วันก็จะยิ่งชัด 30000 เดือน ก็แค่ 30000 วัน ในสุญญตธรรม
    BD9A88B7-CA38-46FE-A191-C6AF54227BF6.jpeg 66944695-3C89-4D9C-89B2-61E68A772789.jpeg

    ยังไม่ตัดประเด็น “กุฏีแก้ว ว่าเวลาจะเท่ากับดวงสุญญตธรรมหรือไม่ จะมากกว่าหรือน้อยกว่า!

    สุญญตสมาบัติ สุญญตธรรม สุญญตวิหาร ฯ

    แต่ถ้าพระอุปคุตมหาเถระท่านยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน อายุขัยของท่านโดยสภาวะวิเศษนี้ ในเวลานี้ 120 ปี หรืออาจจะน้อยกว่า หรือเกินไปไม่มากเป็นประมาณ หรือ หยุดสังขารธรรม ไว้เลย คือไม่แก่ไม่ตาย ก็อาจเป็นไปได้

    บทวิเคราะห์ตามเหตุปัจจัยของสภาวะธรรม




    #ไม่แน่!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2023
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30

    ไฟล์ที่แนบมา:

  21. ฟ้ามี

    ฟ้ามี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +13
    ขอนำความจริงที่ได้พบ ได้มีโอกาสประสบพบเจอ เผื่อจะเป็นประโยชน์เพื่อการพิจารณา...

    คำว่า "สะดือทะเล" นัยยะหนึ่งหมายถึง การเข้าถึง ต้นกำเนิดอันเป็นความรู้จริงของสรรพสิ่งทั้งมวล จะอยู่ภายในห้วงที่ลึกที่สุดของทุกจิตวิญญาณล้วนมีคำตอบแห่งองค์สัจจะธรรม หรือ การเข้าถึง อาสวักขยญาณ

    อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย,
    ความตรัสรู้ (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี)


    หรือนัยยะ การอธิษฐานลอยถาดทองคำทวนกระแสน้ำ และถาดตกลงสู่ห้วงทะเลลึก คือ สะดือทะเล ที่ตกลงสู่ห้วงสะดือทะเลได้ ต้องฝ่าคลื่นกระแสน้ำลงไปสู่สะดือทะเล (โดยสามารถต้านกระแสน้ำลงสู่แนวดิ่งได้ )

    ทุกครั้งที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา ถาดที่ลอยลงสู่สะดือทะเล ลงไปกระทบกับเศียรพญานาคสะดุ้งขึ้นมา จึงรู้ว่าพระพุทธเจ้าได้ถืออุบัติขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และก็หลับไหลต่อ

    ก็สื่อถึงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา ก็คือ การเข้าถึงอาสวขญาณ ที่นำพาหลุดพ้น ซึ่งยุคไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีใครที่จะนำพาการหลุดพ้น คือ การบรรลุอาสวขยญาณ ที่เป็นองค์สัจจะธรรม องค์ธรรมที่อยู่ห้วงที่ลึกที่สุดของจิตวิญญาณได้

    นัยยะก็คือ สะดือทะเล โดยเป็นสมาธิแนวดิ่งผ่านคลื่นการสั่นสะเทือนลงไป ค่ะ

    เพื่อพิจารณาค่ะ
     
  22. ฟ้ามี

    ฟ้ามี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +13
    หลายท่านคงอาจสงสัย,!?

    พบชั่วขณะ

    ความปลงสลดสังเวชใจ เป็นเหตุ

    ความยึดติดพันธนาการ เป็นอุปสรรคการหลุดพ้น
     
  23. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +30
    ในนิมิต ท่านชื่อว่า สมเด็จลุณ สหชาติท่าน สิ/สี/ริ/รี

    เป็นสหชาติท่านเล่าเรื่องให้ฟัง


    เมื่อค้นหาก่อนโพสต์ลงกระทู้ ทราบว่ามีตัวตนอยู่จริง!

    น่าอัศจรรย์!

    #ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินเรื่องท่าน ไม่เคยได้ยินแม้ชื่อ

    นิมิตปรากฎเมื่อราตรี 05:00 ที่ผ่านมา ว่าลงมาเกิดกับสหชาติอีก2ท่าน
    # เป็นการเล่าเรื่อง ! ที่เคยเกิดขึ้น!
    # บ้างก็ว่าท่านเข้านิพพานไปแล้ว ถือมติ
    B2042FFC-DF0A-47C2-8BEE-B991EAB7DFBA.png


    ประวัติหลวงปู่สำเร็จลุน

    สำนักวิทยบริการ ม.อุบลราชธานี

    โพสท์ใน ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน โดย ยิ้มเย้ยยุทธจักร เมื่อ: 24 ตุลาคม 2555

    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่สาเร็จลุน (ลุน)

    (ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ – ๒๔๖๓)

    ชาติภูมิ

    สาเร็จลุน นามเดิม ลุน เกิดวัน เดือน ปีใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ถ้าเทียบเคียงกับประวัติหลวงปู่โทน กนฺตสีโล พอเชื่อได้ว่าคงอยู่ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ ที่บ้านจิก ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านร้าง ภายหลังได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านทรายมูล ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาบิดา มารดาได้อพยพครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี นามบิดา มารดาและมีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏหลักฐานในประวัติเช่นกัน (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘ : ๒๙๑ – ๒๙๒)

    การศึกษา บรรพชาและอุปสมบท

    luangpoo_ton.jpg
    สำเร็จลุน หรือบรรดาศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามว่า “หลวงปู่สำเร็จลุน” หรือ หลวงปู่ลุน ไม่มีหลักฐานว่าได้รับการศึกษาเบื้องต้นระดับใดมาก่อน ส่วนการบรรพชาอุปสมบท จากการบอกเล่าของพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) หรือ “หลวงปู่โทน” แห่งวัดบูรพา บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในคราวจัดงานอายุครบ ๙๑ ปี หลวงปู่โทน (๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑) โดยสรุปว่า “หลวงปู่ลุน” อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “พระอาจารย์อุตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ลุน ได้นำหลานชายชื่อลุนมาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย

    พระอาจารย์อุตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง พระอาจารย์อุตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนหลวงปู่ลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว พระอาจารย์อุตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ หลวงปู่ลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง

    หลวงปู่ลุนกลับมาพร้อมชื่อเสียงหลายด้าน ทั้งการปฏิบัติธรรม คาถาอาคม เวทมนต์ ตำรายาและอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ มีคนเคารพนับถือจำนวนมากขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือกันมากในขณะนั้น ปฏิปทาบางอย่างที่หลวงปู่โทนกล่าวถึงหลวงปู่ลุน ส่วนหนึ่งว่า

    “มีฝรั่งมาทดสอบท่านโดยมาทำบุญแล้วเอาสุราใส่กาน้ำถวายให้พระเณรฉัน พระเณรก็ฉันกันหมด ฝรั่งเห็นก็ว่า พระทำไมดื่มสุรา ศาสนาพุทธพระทำไมจึงดื่มสุรา ฝรั่งพูดหาเรื่อง หลวงปู่ลุนจึงกล่าวว่า นี่แหละความอยากของคน เขาเอาอะไรมาให้ ก็กิน ให้กินอะไรก็กิน ให้ฉันอะไรก็ฉัน ทำให้เขามาดูถูกได้ แล้วหันไปพููดกับฝรั่งว่าู เจ้าดูถูกศาสนาพุทธ เจ้าเป็นคนไม่ดีู ฝรั่งก็เลยหนีไปลงเรือกำปั่น ติดเครื่องยนต์ู เครื่องติดปุด...ปุด...ปุด แต่เรือไม่เดินไปไหนเป็นเวลาู ๓ วัน ฝรั่งเลยกลับมาหาหลวงปู่ลุนพร้อมกับเอาน้ำมันก๊าดมาถวายให้ ๒๐ ปี๊ปและเทียนไขใส่ปี๊บมาให้อีก ๒๐ ปี๊ปและขอขมาโทษ หลวงปู่ลุนจึงพูดว่า 'มึงไม่รู้จักกู' แล้วเอาเท้าเตะน้ำ ๒ ครั้ง เรือกำปั่นจึงออกเดินไปได้...”

    เรื่องอาหารการกิน หลวงปู่ลุนก็ไม่ฉันอะไรมาก แต่ชอบฉันมะพร้าวขูดคลุกน้ำตาล เขาถวายมาเท่าไรก็ฉันหมดและชอบทำอะไรแปลก ๆ เป็นคนดื้อแต่ถือดี ชอบลองของ (ขลัง) บางครั้งไม่ฉันข้าวเป็นเดือนก็อยู่ได้ นั่งอาบน้ำถังเดียวตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืน ๒ ทุ่มก็ยังไม่เสร็จ ขณะอาบน้ำเอามือจุ่มน้ำพร้อมสาธยายมนต์ไปด้วย ผู้ไม่เข้าใจคิดว่าเป็น “พระบ้า” ก็มี

    sd-loon-010.jpg
    หลวงปู่โทนบอกว่า ไม่เคยไปร่วมปฏิบัติกับหลวงปู่ลุนเพราะเป็นพระผู้น้อยต้องยำเกรงพระผู้ใหญ่ ถ้าหลวงปู่ลุนสอนอะไรก็ตั้งใจฟังและปฏิบัติตามเสมอ จนเป็นที่รักใคร่ชอบพอของหลวงปู่ลุนมาก อาจเป็นสาเหตุสำคัญถึงกับมอบไม้เท้า (ศักดิ์สิทธิ์) ให้ก่อนที่หลวงปู่ลุนจะมรณภาพ ซึ่งได้เก็บรักษาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สักการบูชาไว้ที่วัดบูรพา บ้านสะพือ ตลอดมา (หลวงปู่โทน กนฺตสีโล, ๒๕๓๑ : ๗๗ – ๘๑)

    หน้าที่การงาน

    ดร. ปรีชา พิณทอง ได้กล่าวถึงพระวิปัสสนาจารย์ที่สอนทางวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพระเถระเมืองอุบลราชธานีในยุคแรกที่สำคัญมีหลายองค์ แต่ที่โดดเด่นมากองค์หนึ่งคือ “สำเร็จลุน” หรือหลวงปู่ลุน ซึ่งมีลูกศิษย์ที่สำคัญมากองค์หนึ่งคือพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) และเป็นศิษย์รุ่นสุดท้าย ได้กล่าวถึงหลวงปู่ลุนว่า มีความสนใจในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานมาก ออกธุดงค์ไปตามป่าเขา เมื่ออายุพรรษาสมควรที่จะรับภารธุระการคณะสงฆ์ เช่น เป็นเจ้าอาวาสก็ไม่รับ สนใจปฏิบัติธรรมอย่างเดียว เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีศิษยานุศิษย์ ญาติโยมเคารพนับถือมากจนมีคำเล่าลือว่า หลวงปู่ลุน มีฤทธาศักดาเดชจนเหาะเหินเดินอากาศได้ ไปบิณฑบาตที่กรุงเทพฯ กลับมาฉันที่อุบลฯ ก็เคยมี บางครั้งมีคนเห็นท่านเดินข้ามแม่น้ำโขง ฯลฯ

    ลูกศิษย์หลวงปู่ลุนอีกคนหนึ่งที่ ดร.ปรีชา พิณทอง ได้กล่าวถึงคือ นายบุญศรี แก้วเนตร ชาวบ้านดอนไร่ ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเมืองอุบลราชธานี (ปัจจุบันอำเภอเหล่าเสือโก้ก) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร ได้ติดตามรับใช้หลวงปู่ลุนไปหลายแห่งนาน ๒ – ๓ ปี ภายหลังหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค และสอบวิชาชุดครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ได้แล้วลาสิกขาบทเข้ารับราชการหลายตำแหน่ง จนเกษียณอายุและได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนิต นามสกุลตาแก้ว อายุ ๘๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๑) อยู่บ้านเลขที่ ๔ / ๒๑๔ ถนนรักศักดิ์ชะมูล อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ได้บอกกับดร. ปรีชา พิณทอง ว่า หลวงปู่ลุนเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ตามคำเล่าลือจริงทุกอย่าง แต่ที่ยึดถือมากที่สุดคือ “มนต์” หรือ “คาถา” สำหรับสวดภาวนาเป็นประจำจนทำให้ประสบผลสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียนมนต์ที่หลวงปู่ลุนให้ไว้ ความว่า

    “พระพุทธังยอดแก้ว พระธัมมังยอดแก้ว

    พระสังฆังยอดแก้ว พระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว

    ปฏิเสวามิ ปุริโส โลละ

    อัคโคหมัสสมิ โลกัสสะ

    เสฏโฐหมัสสมิ โลกัสสะ

    เชฏโฐหมัสสมิ โลกัสสะ

    ชโยหมัสสมิ โลกัสสะ

    อนุตตะโรหมัสสมิ โลกัสสะ

    อะยันติมา ชาติ

    นัตถิทานิ ปุพภะโลติ

    อมนุษย์ทั้งหลายอย่าสู้พ่อ...”

    ดร.ปรีชา พิณทอง กล่าวว่า “มนต์” นี้บทที่เป็นภาษาบาลีคือ คำเปล่งวาจาของเจ้าชายสิทธัตถะขณะประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ประเทศอินเดียโบราณ (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘ : ๑๘๒ – ๑๘๔)

    ผู้วิเศษสองฝั่งโขง

    หลวงปู่ลุนได้จาริกธุดงค์ ปฏิบัติสมณธรรมแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ดังกล่าว ตามป่าเขา แนวฝั่งแม่น้ำโขงทั้งสองด้านจากจังหวัดอุบลราชธานีตลอดถึงนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองของไทย จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนสองฝั่งโขงแถบนี้เป็นอย่างมากจนบางครั้งลือว่า หลวงปู่ลุนเป็น “ผู้วิเศษ” มีฤทธาศักดาเดชเหาะเหินเดินอากาศได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านเป็น “ผู้รู้” หลายด้าน โดยเฉพาะเป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ฉันมื้อเดียวตลอดไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ และปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ ที่สำคัญคือเป็นผู้มี “มนต์” หรือ “คาถา” ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์หลายด้าน รวมทั้งตำรายาและเวทมนต์คาถาอื่น ๆ อีกมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น “ความเชื่อ” ของคนในยุคสมัยนั้นว่า สามารถช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บ ตลอดจนเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้หายจากความทุกข์ต่าง ๆ ได้

    กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “การรวมคณะสงฆ์อีสานเข้ากับคณะสงฆ์ไทย พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๕๐” เกี่ยวกับสำเร็จลุนหรือหลวงปู่ลุน ตอนหนึ่งว่า “...ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ มีพระสงฆ์ท่านสำคัญคือ สำเร็จลุนเป็นชาวบ้านเวินไซ ตาแสงเวินไซ เมืองโพนทอง จังหวัดนครจำปาศักดิ์ ด้วยปฏิปทาของสำเร็จลุน ที่เป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ฉันอาหารมื้อเดียว และปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ จึงเป็นที่เคารพนับถือของเจ้าเมือง กรมการ ตลอดจนชาวบ้านราษฎรทั่วเขตแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ หรืออีกนัยหนึ่งที่มีผู้คนเคารพนับถือมากเพราะเชื่อกันว่าสำเร็จลุนเป็นผู้วิเศษ...” (กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘ : ๑๓๓)

    sd-loon-011.jpg
    ในคราวที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๓๗ ได้กล่าวถึงปัญหาอุปสรรคในการปกครองคณะสงฆ์ ในเขตนครจำปาศักดิ์ และได้กล่าวพาดพิงถึงสำเร็จลุนในลักษณะการเข้าใจผิดในวัตรปฏิบัติส่วนตนและคณะสงฆ์ความว่า

    “...การพระศาสนาในท้องที่แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ทุกวันนี้ดูหยาบคายมาก ควรจะนับว่าสิ้นได้แล้ว ด้วยให้แขวงหนึ่งบ้าน ด้วยจะหาพระทรงปาติโมกข์แต่รูปก็ไม่ได้ บวชแล้วก็ไปอยู่ตามไร่นา การศึกษาเล่าเรียนไม่ธุระ เป็นอย่างนี้โดยมาก ที่ปฏิบัติมีแต่น้อย มีหมายประกาศไป อ่านหนังสือไม่ออก...”

    จากข้อความดังกล่าว กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะของพระสงฆ์แถบเมืองนครจำปาศักดิ์ ขณะนั้นอาจจะนิยมออกไปอยู่ตามป่าเขา ไร่นา คล้ายคลึงกับพระธุดงค์ที่เน้นการศึกษา ฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่สนใจศึกษาด้านคันถธุระ อันเป็นอุปสรรคในการปกครองสงฆ์ของพระครูวิจิตรธรรมภาณี ที่เน้นการพัฒนาการศึกษาสงฆ์ด้านคันถธุระเป็นสำคัญ ถ้าเป็นจริงตามข้อสังเกตจะเห็นว่า “สำเร็จลุน” เป็นพระเถระผู้นำด้านวิปัสสนาธุระที่มีลูกศิษย์ผู้เคารพเลื่อมใสจำนวนมาก (กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘ : ๑๓๔)

    ปฏิปทาแห่งผู้รู้

    วันหนึ่งมีผู้รู้จากสำนักต่าง ๆ มาทดสอบความเป็นผู้รู้หรือปราชญ์ของคนนครจำปาศักดิ์ วิธีการคือแก้ผูกหนังสือใบลานหลายคัมภีร์ แล้วคละรวมกันในห้องขนาดใหญ่ มีความหนาของใบลานที่กองรวมกันประมาณหนึ่งคืบ แล้วให้ผู้เข้าทดสอบจัดใบลานเหล่านั้นรวมเป็นคัมภีร์ (เป็นผูก) เหมือนเดิมโดยให้เวลาครึ่งวัน ปรากฏว่าไม่มีใครทำได้นอกจากสำเร็จลุนองค์เดียว เป็นที่เลื่องลือในความเป็นปราชญ์ ไหวพริบมาก จึงมีผู้มาศึกษาเรียนรู้กับท่านมากขึ้น

    พระมหาคำพา ชาวเมืองนครจำปาศักดิ์ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกาแล้วกลับมาบ้านเกิด เห็นว่าเมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองอื่น ๆ มีพระพุทธรูปมากเกินไป จึงมีหนังสือถึงเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ให้หลอมรวมเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว แต่เจ้าเมือง คณะสงฆ์และชาวบ้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีใครกล้าคัดค้าน อาจจะเพราะเห็นว่าพระมหาคำพาเป็นผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนามาจากเมืองลังกา ที่ได้ชื่อว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในยุคนั้น จึงคิดว่า มีพระสงฆ์เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและทางการมากองค์เดียว คือ สำเร็จลุน ที่จะทัดทานพระมหาคำพาได้ จึงไปนิมนต์ให้ช่วยเหลือ ครั้งแรกได้รับการปฏิเสธภายหลังทนการอ้อนวอนไม่ได้ท่านจึงรับปากช่วย แล้วจัดให้มีการถามปัญหาลักษณะ ปุจฉา – วิสัชนา ๒ ธรรมาสน์ โดยให้นิมนต์ พระมหาคำพามาเป็นคู่ถกปัญหาซึ่งสำเร็จลุนจะเป็นผู้ถาม (ปุจฉา) พระมหาคำพาเป็นผู้ตอบ (วิสัชนา) ซึ่งมีการซักถามกัน ดังนี้

    ถาม : ในภัทรกัปป์นี้มีพระพุทธเจ้าทั้งหมดกี่พระองค์

    ตอบ : มีทั้งหมด ๕ พระองค์

    ถาม : มีทั้งหมด ๖ พระองค์ไม่ใช่หรือ

    ตอบ : มี ๕ พระองค์แน่นอน กล่าวคือ กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป โคตโม และศรีอริยเมตไตยโย

    ถาม : ขาดอีกองค์หนึ่งใช่หรือไม่

    ตอบ : หมดแค่นั้นไม่มีอีกแล้ว

    ถาม : อีกองค์หนึ่งคือ พระมหาคำพาใช่ไหม

    ตอบ : เอ้า ทำไมพูดเช่นนั้น ไม่ใช่ข้าน้อย (ผม) แน่

    ถาม : เจ้าเรียนมาจากไหน

    ตอบ : ประเทศลังกา

    ถาม : ที่ประเทศลังกา เขาสอนให้ทำลายแล้วหลอมรวมพระพุทธรูปอย่างนั้นหรือ ที่นี้ประเทศเราใครๆ ก็เคารพบูชาต่างก็กราบไหว้ ไม่กล้าแม้เข้าใกล้และแตะต้องถ้าไม่จำเป็นจะไม่ขนย้ายถึงจะปรักหักพังก็ไม่มีใครทุบทำลายทิ้ง มีแต่จะบูรณะซ่อมแซมไว้หรือไม่ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติให้เสื่อมสลายไปเอง ถ้าจะทำจริง ๆ ขอให้ไปทำที่ประเทศลังกาเถิด

    พระมหาคำพาไม่มีคำตอบได้แต่นิ่งเงียบ สำเร็จลุนหันไปถามพระสงฆ์และชาวบ้านที่มาชุมนุมฟังการถกปัญหากันอยู่ว่า จะเอาอย่างพระมหาคำพาหรือจะเอาแบบของท่าน ทุกคนต่างก็ยกมือคัดค้านพระมหาคำพา พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่อยากเป็นเช่นพระเทวทัตเพราะกลัวบาปกรณีนี้ จึงยกเลิกไป (สวิง บุญเจิม, ๒๕๔๕)

    คำคมคำสอน

    “หกสองหก ยกออกสองตัว แก้วอยู่หัว

    ตัวเดียวอย่าละ นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น”

    หมายความว่า ใครอยากมีอิทธิฤทธิ์มีความสำเร็จอย่างไร ต้องให้ความสำคัญกับอายตนะภายใน ๖ อายตนะ ภายนอก ๖ ถอดออกมาโดยสรุปคือ ๒ ได้แก่ นามและรูป (จิตกับกาย) แก้วอยู่หัว หมายถึง ความมีสติอย่าประมาท นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น คือของที่ควรเคารพบูชาอยู่ไหนให้ยำเกรงกราบไหว้บูชา นี่คือคำคมคำสอนของท่านส่วนหนึ่งควรนำไปศึกษาและปฏิบัติอย่างยิ่ง

    สมณศักดิ์

    หลวงปู่ลุนไม่ปรากฏว่ามีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ตำแหน่งใด นอกจากเรียกว่า “สำเร็จ” ตำแหน่ง “สำเร็จ” หรือ “ญาสำเร็จ” เป็นสมณศักดิ์ที่ชาวบ้านหรือชาวเมืองมอบถวายพระสงฆ์ หลังจากผ่านการบวชเรียนมานานพอสมควรได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามฮีตคองสงฆ์ รวมทั้งที่เล่าเรียนจบหลักสูตรมนต์น้อย มนต์กลางแล้ว ชาวบ้านพร้อมใจกันประกอบพิธี “ฮดสรง” ให้พระสงฆ์องค์นั้นแล้ว จึงเรียก “สำเร็จ” ส่วนสำเร็จลุนก็คงจะผ่านพิธี “ฮดสรง” จากญาติโยมมาแล้วเช่นกัน

    หลวงปู่โทนได้กล่าวถึง “สำเร็จลุน” ตามที่ชาวบ้านเรียก “สำเร็จ” นั้น เพราะมีความเชื่อว่าท่าน ได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เช่นเดียวกับหลวงปู่สีดาซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่โทนก็เรียกว่า “สำเร็จสีดา” เช่นกัน แต่ไม่เป็นที่รู้จักมากเท่าสำเร็จลุน ซึ่งถือกันว่าเป็น ผู้เรืองสรรพเวทย์จนเลื่องลือกันว่า เหาะเหินเดินอากาศได้ หรือที่เรียกว่า “วิชาย่อแผ่นดิน”

    มรณภาพ

    หลวงปู่ลุนขณะจำพรรษาที่วัดเวินไซ บ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ขณะอาพาธก่อนมรณภาพ หลวงปู่โทนกล่าวว่าหลวงปู่ลุนได้ส่งคนให้มาตามไปพบที่นครจำปาศักดิ์ แต่ไม่ได้ไปเพราะติดภาระสอนพระภิกษุสามเณร จึงมอบให้คนอื่นไปแทนและจะตามไปทีหลัง แต่ยังไม่ได้เดินทางก็ทราบจากญาติโยมที่ไปเยี่ยมหลวงปู่ลุนว่าท่านได้นิพพาน (มรณภาพ) แล้ว พร้อมทั้งสั่งว่าให้เอา “ไม้เท้า” ที่ฝากไว้กับหลวงปู่สีดามอบให้พระโทน (หลวงปู่โทน) เก็บรักษาไว้ อย่าให้คนอื่น ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้เก็บรักษาไว้ตลอดมาจนถึงมรณภาพ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ไม้เท้าสำเร็จลุนจึงเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการศึกษาประวัติหลวงปู่ลุน

    หลวงปู่ลุนมรณภาพ หลังจากหลวงปู่โทนอุปสมบทได้ ๓ พรรษา ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) รวมอายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๔

    สำเร็จลุน หรือหลวงปู่ลุน นับเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระรุ่นแรก ๆ ที่ชาวอุบลราชธานีให้ความเคารพนับถือเลื่อมใสเป็นอย่างมาก แม้ว่าวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาส่วนหนึ่งของท่านเป็นไปในแนวทาง พระเกจิอาจารย์คือ มีความรู้ความสามารถในเรื่องคาถาอาคม เวทมนต์ต่าง ๆ จนเชื่อกันว่ามีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศได้ นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนยุคสมัยนั้น ซึ่งมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อดั้งเดิมในเรื่อง “เทวนิยม” เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา ภูตผีต่าง ๆ เป็นต้น ผสมผสานกับความเชื่อในหลักศาสนา คือพราหมณ์และพุทธที่เคารพนับถืออีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นพระสงฆ์เถระซึ่งชื่อว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ก็ย่อมจะใช้หลักความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนอบรมเล่าเรียนมาในแต่ละด้าน หรือผสมผสานกันหลาย ๆ ด้าน เพื่อเป็นกลวิธีหรืออุบายในการอบรม สั่งสอน ฝึกฝนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติ ตามจริตความสามารถแต่ละคน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือให้ทุกคนมีสุขกาย สบายใจ ถือเป็นความสุขของชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ลุนจึงเป็นทั้ง พระวิปัสสนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ ที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่สมควรได้รับยกย่องเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลโดยแท้จริงอีกองค์หนึ่ง

    หนังสืออ้างอิง

    กิ่งธรรม. โดยเสด็จพระราชกุศลในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผลเถร) ณ เมรุวัดมณีวนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๘.

    คณะศิษยานุศิษย์. หลวงปู่โทน กนฺตสีโล (พระครูพิศาลสังฆกิจ) ประวัติธรรมะและคติธรรม. ตำรายาสมุนไพร พระคาถาต่าง ๆ เนื่องในโอกาสครบอายุ ๙๑ ปี ๑๔ ธ.ค. ๓๑. อุบลราชธานี, ๒๕๓๑.

    สวิง บุญเจิม. ประวัติและของดีสำเร็จลุน. อุบลราชธานี, สำนักพิมพ์มรดกอีสาน, ๒๕๔๕.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2023

แชร์หน้านี้

Loading...