เรื่องเด่น วิธีดูรูปหล่อโบราณหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม A และธรรมชาติเนื้อโลหะเก่า

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Chailai65, 9 กรกฎาคม 2017.

  1. พระพันตา

    พระพันตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    323
    ค่าพลัง:
    +331
    แนะนำกล้องขยาย1,000เท่าในLazadaตัวละไม่เกินพันบาทลองหาเหรียญสลึงหรือห้าสิบสตางค์ก่อนปี2500หรือปี2500มาส่องดูที่ผิวจะเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือพระหล่อยุคต้นๆที่ราคาไม่สูงมาส่องศึกษาผิวพระดู R3278474.jpg
     
  2. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ไม่แนะนำกล้องพวกนี้ผมเคยใช้แล้วและไม่ได้ขยายเท่าx1000ครับ Sensorแค่2MP ไม่ได้ความคมชัดและสีสันคอนทราสเพี้ยน หากจะซื้อกล้องควรเลือกsensor ขนาด47-80MP และเลือกเลนส์ที่ให้กำลังขยายสูง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2020
  3. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    รูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม A มีการสร้างหลายวาระ โดยวาระแรกถอดบล็อคแม่พิมพ์จากตัวต้นแบบที่คุณยายวันแกะด้วยฝีมือโดยพุทธลักษณะเป็นพระสังกัจจายน์และหลวงพ่อเงิน ใบหน้ามีรายละเอียดทั้งคิ้ว เปลือกตา ลูกนัยน์ตา ปาก ริมฝีปาก ฟันหลอในปากแบบคนแก่
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    รูปถ่ายรูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม A บล็อคสร้างวาระแรก สามารถดูได้จากศาลาไม้หลังใหญ่ กุฏิที่เจ้าอาวาสวัดบางคลาน ใช้รับญาติโยมที่มาทำบุญและเก็บทรัพย์สินโบราณของวัด ตามรูปด้านซ้ายที่ตีกรอบสีแดง ผมถ่ายเมื่อปีพ.ศ.2558 และรูปด้านขวาเป็นรูปถ่ายซูมรูปถ่ายที่แขวนที่ผนัง
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    รูปถ่าย รูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม A บล็อคสร้างวาระแรก ด้านหน้า ด้านหลัง และใต้ฐาน ผมเอาจากเว็บ www.pimniyom.com เป็นพระองค์เดียวกันกับที่แขวนที่ศาลาไม้กุฏิเจ้าอาวาส วัดบางคลาน
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    รูปถ่ายเปรียบเทียบ รูปหล่อพิมพ์นิยม A บล็อคสร้างวาระแรก ด้านล่าง โดยรูปด้านซ้ายเป็นรูปถ่ายพระที่แขวนไว้บนกุฏิของเจ้าอาวาส และรูปด้านขวาเป็นรูปถ่ายพระของผมในกระทู้นี้ ซึ่งเป็นพระทั้งสององค์ที่ถอดหุ่นเทียนขี้ผึ้งจากบล็อคตัวเดียวกันที่สร้างโดยฝีมือคุณยายวัน บ้านช่างหล่อแกะหุ่นต้นแบบวาระแรกได้ชัดทั้งลูกนัยน์ตา เปลือกตา ริมฝีปาก ฟันในปาก เส้นจีวรพริ้วไหวมีมิติ เมื่อถอดบล็อคแม่พิมพ์จากตัวต้นแบบวาระแรก เมื่อบล็อคแข็งตัวหดตัวทำให้เส้นสายบนบล็อคแม่พิมพ์ต่างๆติดจากตัวต้นแบบมาด้วย เมื่อทำการถอดหุ่นเทียนขี้ผึ้งจากบล็อควาระแรกทำให้หุ่นเทียนชัดเหมือนกันทั้งสององค์ โดยแทบไม่ต้องแต่งหุ่นเทียนขี้ผึ้งอีก เพียงแค่เก็บรอยตะเข็บด้านข้างที่เป็นรอยต่อระหว่างบล็อคด้านหน้าและหลังและรอยเหนอะของเทียนขี้ผึ้งเท่านั้น

    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    โดยบล็อคแม่พิมพ์ สร้างวาระแรก มีตำหนิบล็อค
    ตำหนิด้านหน้า ดังนี้
    1. ซอกคอและคางมีความลึกชัดเหมือนคอคนทั่วไป ถ้าเป็นพระที่สร้างวาระหลังและถอดพิมพ์มาซอกคอจะตื้นขึ้นเรื่อยๆ
    2. เปลือกตาเป็นรูปหมวกแก๊ป และเปลือกตาด้านขวาพระแตกเป็นหางแซงแซว มีร่องคิ้วให้เห็นรำไรอยู่เหนือเปลือกตา
    3. ใต้เปลือกตามีลูกนัยน์ตาทั้งสองข้างและสังเกตได้อย่างชัดเจน เปลือกตาและตาขวาของพระจะดูใหญ่กว่าด้านซ้ายของพระเล็กน้อย
    4. ระหว่างเปลือกตาทั้งสองข้างมีรอยเส้นเชื่อมบางๆ
    5. มีริมฝีปากด้านบนและล่าง ปากมีลักษณะยิ้มและมีฟันหลอเหมือนหลวงพ่อเงิน
    6. มือรองนั่งในบล็อควาระแรกยังเห็นชัดเจน กว่าพระที่สร้างบล็อควาระถัดมา และปลายมือรองนั่งชี้จรดไปชนเส้นจีวรแข้งขวา
    7. แข้งด้านซ้ายขององค์พระเป็นเส้นสันคมตลอดแนวแข้งและปลายจีวรแข้งด้านซ้ายขององค์พระจะมีเส้นนูนตวัดคมที่เรียกว่าหางกระรอกเพราะถอดติดจากบล็อควาระแรก
    8. ปลายจีวรแข้งด้านขวาขององค์พระมีปุ่มนูนลงมาเหนือแข้งด้านซ้ายขององค์พระ
    9. หน้าแข้งด้านซ้ายขององค์พระเป็นสันคม
    10. ที่ปลายเท้าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นนูนลากมาที่ฐานเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายเครื่องหมายจ่าโท

    ตำหนิด้านหลังและใต้ฐาน ดังนี้
    1. เส้นจีวรด้านหลังอวบนูนอ่อนพลิ้วติดชัดทุกเส้น เพราะถอดจากบล็อคแม่พิมพ์ที่สร้างวาระแรก และไม่มีเนื้อเกินรูปสามเหลี่ยมที่เส้นสังฆาฏิจีวรด้านหลังเพราะไม่ต้องแซะร่องจีวรในหุ่นเทียนขี้ผึ้งให้ลึกขึ้น
    2. เส้นสังฆาฏิด้านหลังลงมาจรดฐานเขียงแยกเป็น 2 เส้น และฐานเขียงด้านหลังก็นูนเป็น 2 แนวรับกับเส้นสังฆาฏิที่มาจรด
    3. ใต้ฐานมีลักษณะต่อช่อชนวนมีขนาดใหญ่และเส้นขอบรอบฐานมีลักษณะเดียวกัน
    หมายเหตุ* ความแตกต่างระหว่างรูปหล่อทั้งสององค์คือตำแหน่งรอยลวดนูนโดยเริ่มยึดจากเส้นจีวรบริเวณอกขวาด้านหน้าพระพาดไหล่ขวาหรือแขนขวาไปด้านหลังกลายเป็นเส้นนูน ตามรูปด้านล่างที่ทำเส้นวงสีแดง
    ขั้นตอนนี้เป็นการต่อหุ่นเทียนกับช่อเทียนเข้าด้วยกันและใช้ลวดยึดหุ่นเทียนและช่อทีละองค์เพื่อป้องกันหลุดจากกัน เพราะเทียนขี้ผึ้งธรรมชาติสมัยก่อนแข็งตัวช้ากว่าเทียนพาราฟินที่ใช้ในปัจจุบัน จึงเกิดเส้นนูนเริ่มจากเส้นจีวรเส้นที่1เฉียงขึ้นมาบริเวณอกขวาด้านหน้าพระแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน เมื่อทำการยึดลวดบนหุ่นเทียนเสร็จช่างก็เริ่มทาน้ำดินขี้วัวบนหุ่นเทียนและรอยลวด ทำให้ติดรอยเส้นลวดนูนนี้ด้วย
    ?temp_hash=594891ee62ba1abf6f8a7ae37a7bb7c6.jpg

    รูปด้านล่างที่ทำเส้นสีแดง แสดงให้เห็นรอยลวดนูนที่พาดไปด้านหลัง ในพระบางองค์อาจเห็นรอยลวดนูนด้านหลังไม่ชัด
    ?temp_hash=594891ee62ba1abf6f8a7ae37a7bb7c6.jpg

    รูปถ่ายด้านข้างพระแสดงให้เห็นพระที่สร้างจากบล็อคสร้างวาระแรกมีลูกตาใต้เปลือกตาคมชัด และธรรมชาติความเก่าของโลหะหล่อโบราณอายุกว่า100ปี แลเห็นคราบเบ้าดินผิวไฟดินขี้วัว และสนิมขุมของโลหะผสม เงิน ทองแดง สังกะสี และหลุมเม็ดกรวดทรายที่ถูกความร้อนเผาออกไป
    20231022_152433-jpg.jpg
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    รูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม A มีการสร้างวาระหลังถัดมาจากสร้างวาระแรกจะถอดบล็อคจากรูปหล่อวาระแรกหรือวาระก่อนหน้า ทำให้พระที่สร้างวาระถัดมา ได้บล็อคที่มีขนาดพระเล็กลงเล็กน้อย ซอกคอและซอกต่างๆของพระตื้นขึ้น เส้นสายจีวรในบล็อคติดชัดเจนน้อยลง

    จากรูปด้านล่างเปรียบเทียบรูปหล่อที่สร้างจากบล็อคสร้างวาระแรก(รูปด้านซ้าย)กับบล็อควาระถัดมา(รูปด้านขวา) จะสังเกตบล็อคที่สร้างวาระถัดมามีเปลือกตาและลูกตาติดกันรวมเป็นก้อนเดียวกัน ซอกคอตื้นขึ้น เพราะเกิดจากการนำรูปหล่อสร้างวาระแรกมาถอดพิมพ์
    ?temp_hash=7929bfeb901bcf6407394127db934e33.jpg

    หากจำแนกพิมพ์นิยม A บล็อคแม่พิมพ์วาระถัดมาจะมีหลายบล็อค โดยสังเกตจากเส้นนูนที่แข้งด้านซ้ายองค์พระที่มีการแกะให้คมชัดขึ้นเนื่องจากถอดเส้นนูนจากบล็อคสร้างวาระแรกจะถอดไม่ติดชัด เนื่องจากบล็อคสร้างวาระแรกจะมีเส้นนูนหางกระรอกบางๆ

    จากรูปด้านล่างจะเห็นเส้นนูนของบล็อควาระถัดมามีการแกะเส้นนูนในบล็อคให้ชัดเพิ่มขึ้น มีลักษณะต่างกัน 3 บล็อค ได้แก่ เส้นนูนแบบหางกระรอก, เส้นนูนแบบตะขอ และ เส้นนูนแบบตาพระอินทร์ เรียงจากซ้ายไปขวา
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    การเซาะแต่งบล็อคแม่พิมพ์ด้านหน้าเพิ่มเติม ตามวงกลมสีน้ำเงิน และแถบสีเขียวเป็นซอกลึกในบล็อค แต่เมื่อถอดหุ่นเทียนขี้ผึ้งจากบล็อค จะเกิดเส้นนูนบริเวณมือซ้ายและขวาจะมีความนูนชัดเจนเพิ่มขึ้นแตกต่างกันแต่ละบล็อค

    สำหรับบล็อคตาพระอินทร์ไม่ได้ถูกเซาะแต่งมือรองนั่งให้ลึกแต่เซาะแต่งเฉพาะมือด้านบน เมื่อถอดหุ่นเทียนขี้ผึ้งมือรองนั่งในบล็อคตาพระอินทร์กลายเป็นไม่มีมือรองนั่งหรือมือรองนั่งติดจางๆ
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    หุ่นเทียนขี้ผึ้งที่ถอดแต่ละบล็อคเส้นจีวรถ้าติดไม่ชัด ช่างจะใช้ไม้เสนียดแต่งเส้นจีวรของหุ่นเทียนทีละองค์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้ลึกขึ้นตามแนวเส้นลูกศรสีน้ำเงิน ทำให้สามารถเห็นร่องรอยเส้นการแต่งหุ่นเทียนได้จากรูปหล่อแต่ละองค์ได้ จะดูเป็นเส้นลึกดูไม่อ่อนช้อย ในองค์เดียวกันมีเส้นจีวรบางเส้นลึกเพราะใช้ไม้เสนียดแต่ง เส้นจีวรบางเส้นบางเพราะไม่ได้แต่ง บางเส้นดูเป็นเหลี่ยมๆตามฝีมือการแต่งของช่างแต่ละองค์
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    แม้เป็นรูปหล่อโบราณที่ถอดจากบล็อคเดียวกัน เช่นบล็อคตาพระอินทร์เดียวกัน แต่ผ่านการแซะร่องจีวรด้วยไม้เสนียดแต่งหุ่นเทียนขี้ผึ้งด้านหน้าและด้านหลังทีละองค์ตามเส้นสีน้ำเงิน ก็ทำให้รูปหล่อที่มาจากบล็อคตาพระอินทร์เดียวกัน ทั้งสององค์มีเส้นจีวรด้านหน้าและด้านหลังมีความแตกต่างกัน
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg
    ?temp_hash=8a8da482a044214f2ceb2d848f704cab.jpg

    หมายเหตุ
    ตำหนิเนื้อเกินนูนที่ชิดเส้นสังฆาฏิด้านหลังในรูปหล่อโบราณหลวงพ่อเงินสร้างวาระถัดมาไม่ได้เกิดจากตำหนิในบล็อคแม่พิมพ์อย่างที่เซียนพระปัจจุบันบอก แต่เกิดจากเส้นจีวรต่างๆของหุ่นเทียนที่ถอดจากบล็อควาระหลังติดไม่ชัด ช่างจึงแซะร่องจีวรหุ่นเทียนทั้งด้านหน้าและหลังให้ชัดลึกมากขึ้น เนื้อเทียนที่ถูกแซะร่องไปชิดเส้นสังฆาฏิด้านหลัง ทำให้เกิดเป็นเนื้อเทียนเกินนูนขึ้นมาในแต่ละหุ่นเทียน เมื่อทำการทาน้ำดินขี้วัวและเททองหล่อก็ติดเนื้อเกินมาด้วย เนื้อเกินที่ชิดเส้นสังฆาฏิในบางองค์อาจไม่มีหรือมีก็ได้ ในองค์ที่มีเนื้อเกินปรากฏก็จะมีลักษณะเนื้อเกินอาจแตกต่างกันเพราะไม่ได้เกิดจากตำหนิเนื้อเกินในบล็อคแม่พิมพ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2025

แชร์หน้านี้

Loading...